21/01/2025

สื่อจังหวัดชายแดนภาคใต้โวย ศอ.บต. ออกระเบียบคัดเลือกตัวแทนสื่อของสภาที่ปรึกษา” สุดห่วย “ ไม่เข้าใจ บริบท ของ สื่อมวลชน ร้อง เลขาธิการ ให้ ดำเนินการใหม่ ตาม กฎระเบียบเดิม

S__438812697_0

สื่อจังหวัดชายแดนภาคใต้โวย ศอ.บต. ออกระเบียบคัดเลือกตัวแทนสื่อของสภาที่ปรึกษา” สุดห่วย “ ไม่เข้าใจ บริบท ของ สื่อมวลชน ร้อง เลขาธิการ ให้ ดำเนินการใหม่ ตาม กฎระเบียบเดิม

 

 

จากการที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ได้ดำเนินการให้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาใหม่ และมีการออกกฎระเบียนเพื่อคัดเลือกตัวแทนของภาคประชาชนจาก กลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นตัวแทนของสภาที่ปรึกษา
ปรากฏว่าในกลุ่มตัวแทนของ สื่อมวลชน มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย เพราะ ศอ.บต. ไปออกกฎระเบียบในการคัดเลือกใหม่ ที่ไม่เหมือนกฎระเบียบเดิม โดย ให้ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นตัวแทน สื่อมวลชน และ ผู้ที่มีสิทธิ์ในการ ลงคะแนน การ เลือกตั้ง ไป ลงชื่อ ที่ ศอ.บต. เพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง และในวันที่มีการ ลงคะแนนเลือกตั้ง สื่อมลชนทั้ง 5 จังหวัด ต้องเดินทางไป ลงคะแนนในการเลือกตั้ง ที่ ศอ.บต. เท่ากับว่าในการ เลือกตั้งตัวแทนสื่อครั้งนี้ สื่อมวลชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งตัวแทนสื่อมวลชน ต้องเดินทางไปยัง ศอ.บต. ที่ตั้งอยู่ใน อ.เมืองยะลา ถึง 2 ครั้ง ทำให้ สื่อมวลชน ที่ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนแบบ “วิชาชีพ” ไม่สะดวกในการเดินทางทั้งการไปลงชื่อเพื่อการ ตรวจสอบ และการเดินทางไปเพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง

ซึ่งใน กฎระเบิยบเก่า ที่เคยใช้ในการเลือกตั้ง ตัวแทนสื่อมวลชน ของสภาที่ปรึกษาฯ ที่ผ่านมานั้น ผู้ที่ต้องการสมัครเป็น ตัวแทน กลุ่มสื่อมวลชน เดินทางไปยื่นหลักฐานการสมัครเพื่อการตรวจสอบสิทธิ์และคุณสมบัติว่าถูกต้องหรือไม่ ที่ ศอ.บต. แต่ สื่อมวลชน ที่มีสิทธิ์ในการ ลงคะแนนเพื่อเลือกตัวแทนของตน ไม่ต้องไปลงชื่อเพื่อการตรวจสอบคุณสมบัติที่ ศอ.บต. แต่ ให้ เดินทางไป ลงชื่อ เพื่อให้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็น”สื่อมวลชนวิชาชีพ” หรือไม่ ที่ ศาลากลางจังหวัด ซึ่ง ศอ.บต. จะร่วมกับจังหวัดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้ดำเนินการ และในวันลงคะแนนเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์ในการลงคะแนน ก็เดินทางไปใช้สิทธิ์ในการลงคะแนน ที่ หน่วยเลือกตั้ง ที่ ศาลากลางจังหวัด ตามภูมิลำเนา เช่น สื่อมวลชน สงขลา ลงคะแนน ที่ สงขลา สื่อมวลชน สตูล ลงคะแนนที่ สตูล สื่อมวลชน อยู่ใน จังหวัดไหน ก็ไปลงคะแนนคัดเลือกที่ จังหวัดนั้น โดยมีการประกาศรายชื่อของผู้ สมัครเป็นตัวแทน กลุ่มสื่อมวลชน ให้ผู้มีสิทธิ์ตรวจสนอบ และลงคะแนน

การเปลี่ยนกฎระเบียบการเลือกตั้งตัวแทนกลุ่มสื่อมวลชน ครั้งนี้ของ ศอ.บต. ได้มีการ แจ้งให้ หน่วยงานของ สื่อมวลชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับทราบ ไม่มี สมาคม ชมรม หรือ กลุ่มสื่อ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีส่วนรับรู้ และแสดงความคิดเห็น ไม่เหมือนในอดีตที่ องค์กรสื่อมีส่วนร่วมในการ แสดงความคิดเห็น ดังนั้นสื่อมวลชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับรู้การเลือกตั้งตัวแทนสื่อของ สภาที่ปรึกษาฯ ในครั้งนี้ และ หลังจากที่มีการ ประกาศ ให้ สื่อไปลงชื่อ เพื่อดำเนินการเลือกตัวแทนของกลุ่มสื่อมวลชนไปทำหน้าที่ใน สภาที่ปรึกษาฯ จึงมีผู้ที่เป็น สื่อมวลชน ที่ ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.ยะลา ไปลงชื่อเพียง 26 คน ซึ่งโดยความเป็นจริง ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็น”สื่อวิชาชีพ” มีอยู่จังหวัดละไม่ต่ำกว่า 50 คน รวม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 250 คน -300 คน การที่มีทั้งผู้ลงชื่อเพื่อรับการเลือกตั้งเป็นตัวแทนกลุ่มสื่อมวลชนและผู้ไปลงชื่อเพื่อเลือกตั้งรวมกันเพียง 26 คน จะถือว่าเป็น กลุ่มตัวแทนของ สื่อมวลชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ เพราะไม่มีความชอบธรรม

 

ผู้สื่อข่าวจำนวนมาก ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงออกมา วิพากษ์วิจารณ์ ถึงความ ผิดพลาด ของ ศอ.บต. ในการออก กฎระเบียบการเลือกตั้ง ที่ไม่ สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ไม่คำนึงถึงความ ยุ่งยาก ของ สื่อมวลชน ในการที่ต้อง เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย เพื่อเดินทางไป ลงทะเบียน และ เลือกตั้ง ถึง 2 ครั้ง รวมทั้ง ศอ.บต. มีไม่การ ประชาสัมพันธุ์ ให้สื่อมวลชน ใน 5 จังหวัดชายแดนให้รับทราบ ไม่มี องค์กรสื่อมวลชน มีส่วนร่วม ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งหาก ใคร ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ตัวแทนของกลุ่มสื่อมวลชน ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของ กลุ่มสื่อมวลชน และ สังคม เพราะมีผู้ไปลงทะเบียน เพื่อการรับสมัครเป็นตัวแทน และการลงคะแนนเพียง 26 คน จากจำนวน 300 คน ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ดังนั้น สื่อมวลชน วิชาชีพ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงขอให้ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการในการคัดเลือกตัวแทนของ กลุ่มสื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ ในการเข้าไปเป็น สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนา ให้ถูกต้อง โปร่งใส สอดคล้องกับความจริงในพื้นที่ เพื่อให้ ตัวแทนของ กลุ่มสื่อมวลชน เป็นตัวแทนที่ถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับของ สื่อมวลชน และ สังคม ในพื้นที่ของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มสื่อสารมวลชน และ วรรณกรรม อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มสื่อมวลชน ได้แสดงความคิดเห็นว่า การออกกฎระเบียบ ในการคัดเลือกตัวแทนของ สื่อมวลชน เพื่อไปทำหน้าที่ในสภาที่ปรึกษาฯ ครั้งนี้ของ ศอ.บต. มีความไม่ถูกต้อง หลายประการ และที่สำคัญไม่มีการ ยึดโยง กับ องค์กรสื่อในพื้นที่ เป็นการ คิดเอง ทำเอง โดยไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ใน บริบท ของ สื่อมวลชน จึงใคร่ขอให้ ผู้เกี่ยวข้อง มีการทบทวนและให้พิจารณาถึง กฎระเบียบในการเลือกตั้ง โดยยึดเอากฎระเบียบเก่าที่เคยใช้ในการ เลือกตั้ง เพื่อให้ สื่อมวลชนทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนของ พวกเขา ที่เขาต้องการ เพื่อไปทำหน้าที่ในสภาที่ปรึกษา อย่างมีคุณภาพ

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา