19/01/2025

ตาก – อบต.แม่ปะ จัดโครงการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ 12 หมู่บ้าน รวมพลังคนแม่ปะ “พญาหน่อกวิ้นเกมส์ 16 ” ประจำปีงบประมาณ 2568

IMG_7365

ตาก – อบต.แม่ปะ จัดโครงการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ 12 หมู่บ้าน รวมพลังคนแม่ปะ “พญาหน่อกวิ้นเกมส์ 16 ” ประจำปีงบประมาณ 2568
ที่โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม หมู่ 2 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก น.ส.ธนชพร ต๊ะทองคำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ การันตี ด้วยดีกรีรางวัลสตรีดีเด่น ด้านการบริหารงานปกครองท้องถิ่น/ท้องที่ สาขาองค์การบริหารส่วนตำบล ระดับประเทศ ภายใต้แนวคิด”เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจน สู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศบนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น” ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.2567 ที่ผ่านมา
มาในวันนี้ได้จัดโครงการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ 12 หมู่บ้าน รวมพลังชุมชนตำบลแม่ปะ “พญาหน่อกวิ้นเกมส์ 16 ” ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายปกครอง ภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชนคนตำบลแม่ปะเข้าร่วมกว่า 1,200 คนในพื้นที่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ซึ่งมีนางเบญริสา ระมาศจาย รองปลัดรักษาการปลัด อบต.แม่ปะ เป็นผู้กล่าวรายงานร่วมกับคณะผู้จัดงาน ในการแข่งขันกีฬา “พญาหน่อกวิ้นเกมส์ ประจำปี 2568 นี้” ชาวตำบลแม่ปะ ทั้ง 12 หมู่บ้าน ได้แสดงให้เห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ ในความรัก ความสามัคคีของชุมชน อันประจักษ์ต่อสายตาของผู้ที่มาร่วมงานในวันนี้แล้ว ทางตำบลแม่ปะของเรามีประวัติมาอย่างยาวนาน ดังนี้ใน สมัยรัชกาลที่ 5 ความเจริญในประเทศไทยยังมีความล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่นประเทศเมียนมา ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษทำให้ศูนย์กลางความเจริญอยู่ประเทศเมียนมาตามพรหมแดนธรรมชาติ มีการไปมาหาสู่ค้าขายกันอยู่ตลอด และเป็นเมืองหน้าด่านแม่สอดแต่เดิมนั้นมีชื่อว่า แม่ซอด หรือ “เมืองฉอด” เป็นที่อยู่เดิมของชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวหลวงพระบางเนื่องจากแม่สอดเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้ชาวบ้านอพยพยพนีภัยแล้ง เพื่อมาหาแหล่งทำกินเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพ รับจ้าง ค้าขาย การขนส่งสินค้า (วัวต่าง) โดยชาวบ้านที่อพยพมาแต่เดิมเป็นชาวเมืองเถิน จังหวัดลำปาง เริ่มตั้งรกรากครั้งแรกที่บริเวณแม่ปะเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่หมู่ 1 เมื่อมีการตราพระราชบัญญัตินามสกุลในสมัยรัชกาลที่ 6 ชาวบ้านที่อพยพมาอยู่ตำบลแม่ปะ จึงนำเอาชื่อบ้านของตนเองจากจังหวัดลำปางมาเป็นนามสกุล เช่น นามสกุล ต๊ะทองคำ มาจาก อำเภอแม่ทะ ส่วนนามสกุลกาสมสัน มาจากอำเภอบ้านกาด บ้านสัน อำเภอห้างฉัตร เป็นต้น ดังนั้น คนไทยทั้งหมดในแม่ปะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่สอด ล้วนแล้วแต่อพยพมาจากลำปางเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ได้อัญเชิญ “พระเชียงแสน”มาจากนครลำปาง พร้อมกับขบขบวนอพยพมีแม่หลวงยวง เครือวงษ์ (แม่ของพ่อมี เครือวงษ์ ผู้มีภูมิปัญญาด้านจักสาน) เป็นผู้หาบพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้นำหน้า บ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกของการพลัดย้ายจากบ้านเดิม เอาฤกษ์เอาชัย ความเป็นสิริมงคล ขวัญกำลังใจในการเดินทางไกลครั้งนั้นกับการเตรียมตัวเตรียมใจเผชิญกับสถานการณ์ข้างหน้า ตั้งแต่ก้าวออกจากบ้านเกิดที่ต้องพากันรอนแรมผ่านหุบเหว ภูเขา แม่น้ำ ป่าลึก ที่เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ และอันตรายนานัปการ กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจอันไกลโพ้น เรื่องราวของพระพุทธรูปองค์นี้ที่กล่าวถึงมากที่สุด คือความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องการมีพระธาตุ ออกมาจากองค์ในวันพระ หรือวันสำคัญ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่มีคำหวงแหนและกลัวว่าจะมีการขโมย หรือถูกทวงคืนกลับไป บ้านเดิมที่ลำปางพ่อหลวงมี เล่าว่า เมื่อแม่หลวงยวงหาบพระพุทธรูปมาถึงบ้านแม่ปะสันป้าซาง ยังไม่อาจหยุดพักและสิ้นสุดการเดินทางเหมือนคนคนกลุ่มใหญ่ที่มาด้วยกับต้องหาบ พระพุทธรูปหลบไปอยู่ที่บ้านปางมะนาว ห้วยส้านฝั่งพม่ากว่า 2 ปี จึงนำมายังบ้านแม่ปะสันป่าซาง เมื่อจะอัญเชิญเข้าไว้ในวัดก็เกรงจะรักษาไว้ไม่รัดกุม จึงมีข้อตกลงพระพุทธาบูชาองค์นี้ไว้กับบ้านมัคนายก บ้านผู้อาวุโสของหมู่บ้านที่ชาวบ้านเชื่อถือ ไว้ใจ จนถึงปี พ.ศ. 2555คณะกรรมการวัดพร้อมด้วยเจ้าอาวาสกรรมการหมู่บ้านและผู้นำหมู่บ้านทุกฝ่ายได้มีการประชุมและลงความเห็นว่า ควรนำพระพุทธรูปบูชาองค์นี้ กลับเข้ามาเก็บรักษาไว้ ณ วัดเวฬุวันเป็นการถาวร พร้อมกับการสร้างมณฑปแน่นหน้าครอบไว้อีกด้วย
สำหรับไฮไลน์ของงานกีฬาพญาหน่อกวิ้นเกมส์ ชาวบ้านต่งฮือฮาไปด้วยการนำโดรนขนาดใหญ่ยักษ์ 2 ลำมาบินเหนือสนามกีฬาเพื่อตัดริบบิ้นทำพิธีเปิดป้าย มีข้อความปรากฏบนโดรนในพิธีเปิดว่า “ พญาหน่อกวิ้นเกมส์ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือน้ำใจนักกีฬา “ The Spirit Of Sports. /////////////////////
ภาพและข่าว วรภา พันลุตัน จ.ตาก