27/11/2024

ชุมพร – ทวงคืนแผ่นดินทรัพย์สินชาติ ไม่ให้ ทุน ผูกขาด 23,366 ไร่ อีกต่อไป

ชุมพร – ทวงคืนแผ่นดินทรัพย์สินชาติ ไม่ให้ ทุน ผูกขาด 23,366 ไร่ อีกต่อไป

ชุมพร – ชาวบ้านรวมตัวคัดค้าน ไม่ให้หน่วยงานภาครัฐต่อสัญญานายทุน สัมปทานปาล์มน้ำมันรายใหญ่ที่หมดสัญญาสัมปทานไปแล้ว

เมื่อเวลา 10.00 น วันที่ 26 พ.ย 67 นายกฤษฏ์ แก้วรักษ์ เครือข่ายเกษตรกรจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายบรรเลง ศรีสวัสดิ์ สมาชิกสภาเกษตรกร อำเภอท่าแซะ และชาวบ้านกลุ่มไม่มีที่ดินทำกิน ได้รวมตัวกันที่ว่าการอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เพื่อเรียกร้องให้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ต่ออายุสัมปทานให้กับบริษัท ยักษ์ใหญ่ ที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่อำเภอท่าแซะกว่า 22,000 ไร่ โดยเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเดินทางมารับ หนังสือความต้องการของ ชาวบ้าน

ต่อมานายสุพล จุลใส ส.ส.เขต3 นายวิชัย สุดสวัสดิ์ ส.ส.เขต 1 และนายสันต์ แซ่ตั้ง ส.ส.เขต 3 จังหวัดชุมพร ได้เดินทางมารับหนังสือ โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกิน เรื่อง การไขปัญหาเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินและคัดค้านการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ารับร่อ-ป่า สลุย ให้กับบริษัทวิจิตรภัณฑ์สวนปาล์มและบริษัทวิจิตรภัณฑ์ ซึ่งได้แนบสำเนาหนังสือเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งรายชื่อ ประชาชนที่คัดค้านการให้ใช้ประโยชน์ป่าสงวนแห่งชาติมาด้วย

ในหนังสือระบุว่า ตามที่เกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินจังหวัดชุมพร จำนวน 4,749 ราย ได้มีหนังสือกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อให้โปรดพิจารณาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ตามนโยบายของรัฐ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีอาชีพ มีที่ทำกิน มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

โดยมีข้อเสนอให้พิจารณานำที่ดินของรัฐในเขตป้าสงวนแห่งชาติ ป้ารับร่อและป่าสลุย ในเขตตำบลรับร่อและตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแชะ ซึ่งบริษัทวิจิตรภัณฑ์ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งหนังสืออนุญาตดังกล่าวได้หมดอายุตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 และวันที่ 17 ตุลาคม 25558 เป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว มาจัดสรรให้เกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกิน จังหวัดชุมพร

 

เครือข่ายเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินจังหวัดชุมพร จึงขอความกรุณาได้โปรดพิจารณา แก้ไข

ปัญหาความเดือดร้อนจัดสรรให้กับเกษตรผู้ไร้ที่ทำกินจังหวัดชุมพร ได้มีที่ทำกินตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ได้ขอให้ตรวจสอบบริษัทวิจิตรภัณฑ์สวนปาล์มและบริษัทวิจิตรภัณฑ์จำกัด กรณีเพิกเฉยการปฏิบัติตามเงื่อนไขระเบียบและกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตเก็บหาของป่า เป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย โดยบริษัทจะต้องจ่ายค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่1221 (พ.ศ.ศ.2531) ออก

ตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ปีละประมาณ 66,000,000 บาท สำหรับแปลงที่ตำบลรับร่อและ 28,000,000 บาทสำหรับแปลงที่อยู่ในตำบล  หงษ์เจริญ

โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดชุมพรทั้ง 3 คน ได้รับปากจะนำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร และกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนตามคำร้องต่อไป

นายสุพล จุลใส ส.ส.เขต3  กล่าวว่า  ติดตามเรื่องทางฝั่งพี่น้องชาวบ้านอำเภอท่าแซะ ให้ได้รู้ได้ทราบว่า บริษัทน้ำมันปาล์มแห่งหนึ่ง(วิจิตภัณฑ์ปาล์ม จำกัด) ที่เคยถือครองสวนปาล์มน้ำมันทีหมดสัญญากับทางรัฐไปนานแล้ว มันหมดจริงหรือไม่ จะต่อสัญญาได้หรือไม่ หรือว่าจะตกเป็นของรัฐบาล พวกเราก็พยายามติดต่อไปหลายหน่วยงานและเรื่องที่เข้าไปนี้ก็มีท่าน ส.ส.สันต์ แซ่ตั้ง เป็นคณะกรรมการที่ดิน เป็นคนเข้าไปดำเนินการเรื่อง เพื่อขอความจัดเจน และในส่วนของ ส.ส.วิชัย ได้ติดต่อไปทางกระทรวงต่างๆที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับเนื้อที่ ที่ดินที่อยู่อำเภอท่าแซะ ต.สลุย ต.รับร่อ ต.หงษ์เจริญ  ในพื้นที่นี้เป็นที่ดินของหลวง ก่อนน่านั้นได้ให้มีการเช่าทำการเกษตร ปลูกปาล์มน้ำมัน เมื่อเสร็จสิ้นสัญญาแล้ว ผู้เช่าก็ยังไม่ออกไปจากพื้นที่ทำกินแต่เราก็ยังไม่ทรายข้อเท็จจริงว่า เค้าใช้ศาลปกครอง  คุ้มครองเค้าอยู่หรือไม่ ต้อนนี้เราอยากทราบผมว่าผลที่เราทำกันแบบนี้ไม่กี่วันน่าจะเป็นช่วงเย็นนี้ก็จะทราบข่าวดีหรือไม่ดีก็ต้องรอต้อนเย็นนี้  เมื่อผ่านพนไปจากตรงนี้เมือสภาผู้แทนฯเปิด ก็จะดำเนินการนำเรืองเข้าสภาฯให้ทราบให้ได้ว่า ต่อไปนี้รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร ให้ดำเนินการต่อสัญญาใหม่หรือไม่หรือว่า จะตกเป็นของรัฐบาล เราต้องรู้ให้ได้ เพราะว่าเราต้องอาศัยรัฐบาลดำเนินการให้ได้ทราบ ส.ส.วิชัย สุดสวาสดิ์ กล่วาเพิ่มเติม  ในส่วนของเรื่องการจ่ายเงินจ่ายทองนั้น ที่ให้กับภาครัฐนะครับเวลาผ่านมา 9 ปีแล้ว ส่วนทียังไม่มีความชัดเจนโดนเฉพาะหน่วยงานของรัฐเป็นหน้าที่สำคัญในการจัดเก็บ ปี หนึ่ง 90 กว่าล้านบาท  เพราะฉะนั้นแล้วเราถามในชั้นกรรมาธิการ โดนท่าน ส.ส. สัน แซ่ตั้ง  ท่านได้เป็นกรรมาธิการที่ดิน ท่านมีหน้าที่จะต้องถาม หน้าที่ตามได้โดยอำนาจหน้าที่ของท่าน แต่ก็ยังไม่ได้ความจัดเชนได้ในวันนั้น โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐผมเชื่อว่า เค้าไม่ปิดปังเราได้ เพราะทางเราต้องการรู้ข้อมูล ส่วนนี้ยังไม่มีความชัดเจนอย่างไรเราต้องทำให้เกิดความจัดเจนให้ได้เพราะพี่น้องประชาชนที่เดินทางมาในวันนี้ ก็ จำนวน 300 คน ก็เป็นส่วนหนึ่งของพี่น้องประชาชนทั้งหมด ก็ต้องการทราบถึงการดำเนินการ ไปแบบไหนแล้ว ถึงขันต้อนแบบไหน โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงิน ให้ภาครัฐ ใบเสร็จต้องมี ยอดต้องรู้แล้ว ถ้าท่านเอาใบเสร็จมาให้เราไม่ได้แต่ท่านต้องรู้แล้วว่ายอดมันเท่าไหร่ นั้นคือผลประโยชน์ของรัฐบาลครับ หากยังไม่มีความชัดเจนในเมื่อที่ยังไม่หลัดฐานในการชำระเงินนั้น เราจะต้องดำเนินการในเรื่องละเว้น ในคดี 157 ต่อไป เพราะว่า ละเว้นการเก็บผลประโยชน์ของรัฐบาลครับ

นายอวยพร มีเพียร อดีตนายก อบต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เปิดเผยว่า ในพื้นที่ทำมาหากินของพี่น้องประชาชน เดิมที่ทางบริษัทนี้ได้สัมปทาน ในพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีพี่น้องชาวบ้านทำกินอยู่แล้ว   และหลังจากได้สัมปทานไป พี่น้องชาวบ้านก็โดนขับไล่ออกจากพื้นที่ทำกินให้ออกไปหมดเลย แต่ต่อมาได้หมดสัญญาการเช่าสัมปทานลง ทางพี่น้องที่ไม่มีที่ทำกินเค้าก็อยากได้ที่ตรงนี้มาจัดให้กับพี่น้องผู้ทำกิน ผู้ยากไร้ ในอำเภอท่าแซะและอำเภอใกล้เคียงทั้งหมดของจังหวัดชุมพร  ผมได้รับการแต่งตั่งไปเป็นกรรมาธิการ ได้ทราบเรื่องทั้งหมด ว่าบริษัทนี้ได้สัมปทานทั่งแต่ ปี พ.ศ.2530 แล้วก็หมดสัญญาเมื่อ พ.ศ.2558 ก่อนที่จะหมดสัญญานั้น บริษัทก็ไม่ได้จ่ายค่าบำรุงท้องที่ และภาคหลวงเลย เห็นตามหนังสือ บริษัทได้ไปขอจ่ายค่าภาคหลวงเมื่อปี พ.ศ.2553 ทั้งแต่ 2530 – 2553 แต่ก็ยังไม่ได้จ่ายค่าภาคหลวงจนกระทั้งหมดสัญญา และคาดว่าไม่มีการจ่ายภาษีของภาคหลวงเลย  ต้อนที่ไปขอศาลคุ้มครอง เมือ ปี พ.ศ. 2559 ทำการจ่ายไร่ ละ 500 บาท แต่หลังจากนั้นศาลปกครองสูงสุดได้ให้ทำตามหน้าที่ของกรมป่าไม้ จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่ทราบข่าวใดๆ เราไปประชุมกรรมาธิการ แล้วก็ขอให้ส่งเอกสารทั้งหมดใบเสร็จในการดำเนินการจ่ายเงินของบริษัท ถ้าได้จ่ายจริง เราก็จะได้รู้ แต่ก็ไม่รู้และไม่มีเอกสารใดๆให้กับเรามา ทราบข่าวว่าในวันนี้มีการประชุมกระทรวงทรัพยากรโดยที่ท่านปลัดเป็นประธานทางป่าไม้ได้แจ้งมาอย่างนี้  ส่วนพื้นที่ถ้าได้กลับมาให้กับประชาชนก็จะนำเนินการแก้ไขต่อไป ทั้ง 3 อย่าง   รัฐต้องจัดให้เป็นป่าชุมชน 2 นำมาเป็นป่าฟื้นฟู บางส่วน อันดับ 3 ก็ให้กับพี่น้องประชาชน ได้ทำกิน ในการแก้ไขแหล่งน้ำก็ดีชาวบ้านได้อาศัยทำกิน ก็จำได้ลดโลดร้อนได้อีกทาง   คิดว่าหลังจากที่ได้ดำเนินการมาแล้วช่วงหนึ่ง ไม่ว่าทีมงานทั้งหมด ท่าน ส.ส. ก็อยากจะฝากให้ผลักดัน เรืองนี้ ให้เร็วที่สุด เราไม่อยากให้พื้นที่ป่าเหล่านี้เป็นปัญหาเหมือนกับที่จังหวัดอื่นๆ หลายครั้งแล้วที่มีคนต่างจังหวัดเข้ามายึดพื้นที่ทำกินของชาวบ้านผมเองก็พยามผลักดันออกไปข้างนอกให้คนชุมพรแก้ไขปัญหาเอง

 

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป