24/11/2024

ม.มหิดล คว้ารางวัลผลงานวิจัย High Impact ปี 2567ในมหกรรม TRIUP FAIR 2024 ชูพลังสร้างนวัตกรรมแห่งปี

ม.มหิดล คว้ารางวัลผลงานวิจัย High Impact ปี 2567ในมหกรรม TRIUP FAIR 2024 ชูพลังสร้างนวัตกรรมแห่งปี

ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2567 Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with High Impact 2024 ในงาน TRIUP FAIR 2024 มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เป็นต้นแบบของผลงานที่สามารถถูกนำไปใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ สร้างผลกระทบสูงต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่ รางวัลระดับ “ยอดเยี่ยม” จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่

ผลงาน การพัฒนาและผลิตสารชีวเวชภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิว โดยใช้ GROWTH FACTORS เป็นองค์ประกอบหลัก โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ปัจจุบัน การนำ Growth Factor มาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของเครื่องสำอางได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งแบ่งตามคุณสมบัติใหญ่ ได้แก่ ชะลอวัย (Anti-aging), ลดริ้วรอย (Anti-wrinkle) และดูแลสุขภาพผม (Hair-care) ภายใต้เครื่องสำอางกลุ่มนี้ที่ถูกเรียกว่าว่า ‘เวชสำอาง (Cosmeceutical Product)’ ดังนั้นคุณสมบัติของ Growth Factor บางชนิดจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
เวชสำอาง และงานวิจัยในสาขาต่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คน

 ผลงาน ปลดล็อค การใช้พลาสติกรีไซเคิลสัมผัสอาหาร ใส่ใจความปลอดภัย ขับเคลื่อเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันโภชนาการมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาวิธีทดสอบความปลอดภัยของกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกและความปลอดภัยของเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับการใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร
ส่วนรางวัลระดับ “ดีเด่น” จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน เทคโนโลยี IoT เซนเซอร์สำหรับตรวจวัดกลิ่นในโรงงานสีเขียวและสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท จมูกอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด ซึ่งมีที่มาจากการบริหารจัดการการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องไม่ส่งกลิ่นที่เป็นอันตราย หรือรบกวนคนในชุมชน ด้วยเซนเซอร์ที่คิดคนขึ้นนี้ การผลักดันสู่ระดับนโยบายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไป และอีกหนึ่งผลงานคือ นวัตกรรมชุดทดสอบและชุดตรวจโรคจากโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีสู่การพึ่งพาตนเองด้านอุตสาหกรรมการผลิตและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ชุดทดสอบการติดเชื้อฉี่หนูชนิดรวดเร็ว LEP-M PLUS ผลงานโดย คณะเทคนิคการแพย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งปลายทางของการพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่า  ล้วนมีจุดมุ่งหมาย คือ
การนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และได้ผลจริง ที่สำคัญจะต้องสามารถนำไปแก้ไขปัญหาโดยทำให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ประกอบรางวัลที่ได้มา ก็เป็นเครื่องการันตี นำความภาคภูมิใจมาให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงบุคลากรในองค์กร ที่ทำงานกันเป็นที จนขับเคลื่อนมาสู่ความสำเร็จในวันนี้

โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นหน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันให้ทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม พร้อมสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับหน่วยงานในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม สร้างกลไกที่ใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัยให้สามารถช่วยเหลือสังคมและชุมชน ผ่านการต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
บริหารจัดการเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล  

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป