11/10/2024

ชุมพร – ผบช.ภ.8 สั่ง เตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการแจ้งเตือน กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา

ชุมพร –  ผบช.ภ.8  สั่ง เตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการแจ้งเตือน กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา

ชุมพร – พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผบช.ภ.8  สั่ง เตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยและวิเคราะห์ภารกิจตามสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชุมพร

วันที่ 11 ตุลาคม 2567 พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผบช.ภ.8  มอบหมายให้ พล.ต.ต.วิมล พิทักษ์บูรพา รอง ผบช.ภ.8 ตรวจความพร้อมหน่วยในสังกัด ภ.8 เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและวิเคราะห์ภารกิจตามสถานการณ์ในพื้นที่  พร้อมด้วย  พ.ต.อ.จิตเกษม สนขำ รอง ผบก.ฯ รรท.รอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร  พ.ต.อ.นิรันดร์ กันจูรอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร พ.ต.อ.ฉลาด พลนาการ ผกก.สภ.หลังสวน  พ.ต.อ.มนต์ศักดิ์ ศรีสุวรรณ์ ผกก.สภ.พะโต๊ะ พ.ต.อ.วิษณุ สุระวดี ผกก.สภ.สวี พร้อมข้าราชการตำรวจ จำนวน 95 นาย ณ สถานีตำรวจภูธรหลังสวน จว.ชุมพร

 

จากสถานการณ์ การแจ้งเตือน กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างวันที่ 9-15 ตุลาคม 2567 สภาวะอากาศฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร    ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (พื้นที่รับผิดชอบ ภ.8 จำนวน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่) ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพนันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วงเวลา อุณหภูมิ เมฆ ฝน ลม และคลื่น ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและตะวันออก  และ การแจ้งเตือนจาก ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 10 ต.ค.2567 ในพื้นที่ ภ.8  ชุมพร เมืองชุมพร สวี พะโต๊ะ ท่าแซะ หลังสวน ปะทิว   สุราษฎร์ธานี  ท่าชนะ ไชยา เมืองสุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ บ้านนาสาร คีรีรัฐนิคม วิภาวดี ดอนสัก  นครศรีธรรมราช สิชล นบพิตำ พิปูน ฉวาง ขนอม  พังงา กะปง ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง   กระบี่ เขาพนม เมืองกระบี่ อ่าวลึก ปลายพระยา

พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผบช.ภ.8  สั่งการเตรียมความพร้อมของ ภ.จว.ฯ และ สภ.ฯ ในสังกัด ภ.8 ติดตามพยากรณ์อากาศ และการแจ้งเตือนสภาวะอากาศฝนฟ้าคะนองจาก กรมอุตุนิยมวิทยา และ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย  แจ้งเตือนและตรวจสอบข้าราชการตำรวจในสังกัด ให้ขนย้ายทรัพย์สิน อุปกรณ์ สิ่งของจำเป็นของใช้ส่วนตัวและครอบครัว ให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย พร้อมปฏิบัติภารกิจ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

พล.ต.ต.วิมล พิทักษ์บูรพา รอง ผบช.ภ.8  ลงพื้นที่ ตรวจสอบ และสั่งการต่อ ต้องมีชุดปฎิบัติการช่วยเหลือ พร้อมยานพาหนะ อุปกรณ์ ที่กำหนดไว้ โดยบให้    ผบก.ภ.จว.ฯ และ ผกก.สภ.ฯ กำหนด รอง ผบก.ภ.จว.ฯ และ รอง ผกก.สภ.ฯ แต่ละพื้นที่ ร่วมปฏิบัติและเข้าประชุมกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ วิเคราะห์ภารกิจตามสถานการณ์ ให้เป็นไปตามขีดความสามารถของกำลังพล ให้สอดคล้องกับยานพาหนะ อุปกรณ์ประจำกาย ที่สามารถให้การช่วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยใช้พละกำลังมาก ควรสับเปลี่ยนกำลังพลบ่อยๆ ผู้บังคับบัญชา ร่วมการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด สร้างขวัญและกำลังใจ

กำหนดการแต่งกายของชุดปฏิบัติการฯ ขณะปฏิบัติภารกิจ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กำชับให้ซักซ้อม ตรวจสอบ การแต่งกายและความพร้อมของยานพาหนะและอุปกรณ์ ที่ต้องใช้ในภารกิจดังกล่าว ชุดปฏิบัติการฯ แต่ละ ภ.จว.ฯ ขอให้เป็นแบบอย่างให้กับชุดปฏิบัติการระดับ สภ.ฯ

การแสดงสัญลักษณ์ ปรากฎกาย (เสื้อ – เสื้อกั๊กสะท้อนแสง – กางเกง – รองเท้า) เพื่อให้ประชาชนรับทราบการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ในห้วงที่ประชาชนประสบอุทกภัย   ป้ายหน่วยงานควรจัดทำด้วย future board หากจัดทำด้วยแผ่นไวนิลการติดตั้งต้องขึงตึง สามารถอ่านข้อความได้ ให้ร่างกรอบภารกิจพร้อมระยะเวลาการปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฯ แจ้งให้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ และสื่อมวลชนในพื้นที่ได้รับทราบ

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป