20/09/2024

ลำพูน – ผู้ว่าฯลำพูน ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ร่วมประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในหลายพื้นที่ของประเทศ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(Webex)

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 09:00 นาฬิกา ที่ห้องประชุม POC ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดลำพูน

 

วันนี้(15 ก.ย. 67) เวลา 09:00 นาฬิกา นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นายสมาน กองแก้ว ปลัดจังหวัด(ปจ.)ลำพูน, นายธนา นวลปลอด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน, หัวหน้าส่วนราชการ, นายอำเภอทุกอำเภอ, เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(บกปภ.ช.) ณ ห้องศูนย์ปฏิบัติการ POC ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดลำพูน ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัย(น้ำท่วม) และการให้ความช่วยเหลือ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Webex(เป็นโปรแกรมแบบ Web Conference) ณ ห้องประชุม 1 ปภ. อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร โดยมีอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมฯ

กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ได้กำหนดจัดการประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัย(ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจาก มีน้้าเป็นสาเหตุอาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติอุทกภัยเกิด จากฝน ตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน) และการให้ความช่วยเหลือ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(รมว.มท.) ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมฯ และเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด ทุกจังหวัดเข้าร่วมประชุมทางไกลผ่าน ระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์(Webex)

สำหรับวาระการประชุมที่สำคัญ ประกอบด้วย การรายงานสถานการณ์อุทกภัย การให้ความช่วยเหลือ และแนวโน้มสถานการณ์อุทกภัย, ภาพรวมสถานการณ์อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ จากการพยากรณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน), การรายงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและกรมชลประทาน รวมถึงการติดตามสถานการณ์อุทกภัยในระดับพื้นพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย, ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังได้เน้นย้ำใน 4 ประเด็น สำหรับการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุกทกภัยในห้วงต่อไป ได้แก่
1. จังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามแผนเผชิญเหตุ ให้ครอบคลุมในทุกมิติ รวดเร็ว และทั่วถึง ดูแลด้านการดำรงชีพ ความปลอดภัยทั้งร่างกาย และสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่
2. จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้กำชับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ประสานหน่วยงานต่างๆ เร่งสำรวจความเสียหายและจัดทำบัญชีความเสีย หายให้ครอบคลุมทุกด้าน ดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว


3. เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ในห้วงต่อไป ประกอบด้วย การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ให้ใช้กลไกทั้งท้องถิ่นและท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชุม อาสาสมัครภาคประชาชน แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ทุกช่องทาง, ให้ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ แบ่งมอบพื้นที่ ภารกิจ และหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจน เตรียมความพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล สาธารณภัย เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในพื้นที่เสี่ยง เร่งเข้าคลี่คลายสถานการณ์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ, บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้มีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด และให้แจ้งเตือนประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า ก่อนทําการระบายนํ้า, ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง พนังกั้นน้ำ ทํานบ/คันกั้นน้ำชั่วคราว ฝาย ประตูระบาย อ่างเก็บน้ำ หากพบความผิดปกติให้ทำการปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงโดยเร่งด่วน,

ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัย แจ้งเตือน ปิดกั้น และห้ามเข้าพื้นที่ที่กำหนด ในช่วงที่มีฝนตกหนัก และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง, ดูแลความปลอดภัยประชาชนจากกรณีไฟฟ้ารั่ว เร่งตรวจสอบจุดเสี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว จัดเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจตรา เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่น้ำท่วมขังในเขตชุมชนและสถานศึกษา และจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเล ให้แจ้งเตือนการเดินเรือ รวมถึงดำเนินการตามมาตรการ เพื่อความปลอดภัยในการนำเรือเข้าที่กำบังและห้ามการเดินเรือในช่วงที่มีคลื่นลมแรง พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง งดกิจกรรมทางทะเลหรือออกห่างจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล
4. รายงานสถานการณ์ หากเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่ รวมถึงรายงานสถานการณ์ ผลกระทบ และการให้ความช่วยเหลือ จะเป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์ และการสั่งการต่อไป

นายสันติธร ผู้ว่าฯลำพูน ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด มีประเด็นกำชับการปฏิบัติงานของหน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินการบูรณาการร่วมกันรับมือสถานการณ์สาธารณภัยต่างๆ รวมถึงดำเนินการบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อรับมือสถานการณ์สาธารณภัยต่างๆ รวมถึงตอบโต้ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ ข้อเท็จจริง ทันต่อเหตุการณ์ ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2567 ให้เกิดความเป็นเอกภาพและเป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีและกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ดังนี้
1. การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ติดตาม เฝ้าระวัง สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และน้ำในอ่างเก็บน้ำ เพื่อวิเคราะห์และประเมินแนวโน้มการเกิดสาธารณภัย และ หากประเมินสถานการณ์แล้วว่า มีแนวโน้มเกิดสาธารณภัยขึ้น ให้ส่งข้อมูลการแจ้งเตือนประชาชนโดยเร็ว ต่อเนื่อง และทั่วถึงในทุกช่องทาง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อาทิ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน วิทยุชุมชน(วช.) วิทยุภาคเอกชน สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายอาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(อปพร.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ

2. การบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วย
1.ให้โครงการชลประทานลำพูน ดำเนินการบริหารจัดการน้ำให้ส่งผลกระทบต่อ ประชาชนน้อยที่สุด หากจำเป็นต้องทำการระบายน้ำหรือพร่องน้ำ ให้แจ้งเตือนประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนมีการเตรียมความพร้อมยกของขึ้นที่สูง หรือมีการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุได้ทันต่อสถานการณ์ และลดผลกระทบต่อประชาชนให้มีน้อยที่สุด
2. ให้หน่วยงานรับผิดชอบสถานที่ใช้กักเก็บ/กั้นน้ำ อาทิ อ่างเก็บน้ำ ฝาย พนังกั้นน้ำ ประตูระบาย ทำนบ/คันกั้นน้ำชั่วคราว ฯลฯ(โครงการชลประทานลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองลำพูน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) หมั่นตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงในเชิง โครงสร้างอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติให้ทำการปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงโดยเร่งด่วน
3. ให้เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ เตรียมความพร้อมเครื่องมือ อุปรกรณ์ เครื่องจักรกลในการปฏิบัติงาน การขอรับการสนับสนุนทรัพยากร ขอให้ประสานการปฏิบัติการกับโครงการ ชลประทานลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอก คูคลอง สาธารณะ ท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงที่เกิดอุทกภัยเป็นประจำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ให้เต็มศักยภาพ ให้ทำก่อนน้ำมาไม่ใช่ท่วมแล้วค่อยทำ

3. ด้านการคมนาคม ประกอบด้วย
1. บริเวณจุดเสี่ยง(ตลิ่งทรุด/ถนนพัง/จุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ/จุดน้ำท่วมผิวจราจร) ให้แขวงทางหลวงลำพูน แขวงทางหลวงชนบทลำพูน สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลำพูน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำสัญลักษณ์ติดตั้งป้ายเตือน สัญญาณไฟ พร้อมบอกเส้นทางเลี่ยง
2. ให้แขวงทางหลวงลำพูน แขวงทางหลวงชนบทลำพูน สำนักงานโยธาธิการและ ผังเมืองจังหวัดลำพูน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ด้านการจราจรและการคมนาคม จัดระเบียบจราจรในพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัยได้อย่างเป็นระบบ
4. การดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ลำพูน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเตรียมเวชภัณฑ์ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพของผู้ประสบภัย ให้บริการปฐมพยาบาล ให้คำแนะนำและการป้องกันควบคุมโรคจากสถานการณ์อุทกภัย รวมถึงการดูแลผู้ประสบภัย โดยมอบหมายให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

5 . การรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย
1. ให้ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในช่วงที่เกิดภัย เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในพื้นที่ประสบภัย
2. ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)จังหวัดลำพูน เร่งตรวจสอบจุดเสี่ยงอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว รวมทั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เสาไฟฟ้า หากประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตราย ให้ทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันที โดยในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ร่วมตรวจตรา เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะในเขตชุมชน และสถานศึกษาที่มีน้ำท่วมขังบริเวณเสาไฟฟ้า

6. การให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วย
1. ให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งสำรวจพื้นที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นทุก ๆ ด้าน พร้อมพิจารณาให้ การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ/จังหวัด เป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2. ให้การประปาส่วนภูมิภาค สาขาลำพูน พิจารณาจัดเตรียมน้ำดื่มสำหรับแจกจ่ายผู้ประสบภัย..

กรรณิการ์ วิจิตรสกลการ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป