บึงกาฬ- ปปช.ชี้มูลความผิด ม157 นายกทต.วิศิษฐ์ และผอ.กองคลังอบต.หนองหัวช้าง
บึงกาฬ- ปปช.ชี้มูลความผิด ม157 นายกทต.วิศิษฐ์ และผอ.กองคลังอบต.หนองหัวช้าง
ที่สำนักงาน ป.ป.ช.จังหวัดบึงกาฬ ถนนประกอบบูรณะ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ นางสาวนันท์นภัส สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดบึงกาฬ นายมาโนช ด้วงทองกุล หัวหน้ากลุ่มงานไต่สวนการทุจริต นายนราวิชญ์ มาตราช หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต และนางสาวอริศรา พยอม เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สินปฎิบัติการ ร่วมนำเสนอผลงานผลงานในรอบปี2567 มุ่งเน้นไปที่ 3 ภารกิจหลัก ซึ่งประกอบด้วยด้านปราบปรามทุจริต การตรวจสอบทรัพย์สินและป้องกันทุจริต เรื่องแรกจะเป็นเรื่องกล่าวหา นายเสร็จ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ พร้อมกับพวกรวม 2 รายโดยกล่าวหาว่าใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบโดยกล่าวหาว่าที่ดินของผู้มีสิทธิ์ครอบครองเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ เพื่อข่มขืนใจหรือจูงใจให้ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมอบให้หรือหามาให้เป็นเงินจำนวนร้อยละ 40 ของเงินที่ผู้มีสิทธิ์ครอบครองที่ดินจะได้รับจากการเวนคืนที่ดิน
โดยคณะกรรมการป.ป.ช.ในการประชุมครั้งที่ 44 /2567 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 โดยมีมติว่านายเผด็จ เมื่อครั้งลงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ ผู้ถูกกล่าวหาคนที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 มาตรา 83 และมาตรา 157 จนถึงดำเนินการในความผิดตามประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ 2561รวมถึงความผิดตามมาตรา 172 ของพระราชบัญญัติมาตรา73 ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 สำหรับความผิด นายณัฐพล คำมี ผู้กล่าวหาคนที่ 2 มีความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานป้องกันใช้หน้าในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจหรือจูงใจผู้ให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นฐานเป็นเจ้าพนักงานหรือปฏิบัติหน้าที่ละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
สำหรับนายณัฐพล คำมี ผู้กล่าวหาที่ 2 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านนาสุขสันต์หมู่ที่ 12 ตำบลวิศิษฐ์มีมูลความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 148 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 172 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพระราชบัญญัติระเบียบว่าด้วยข้าราชการพลเรือนพ.ศ 2551มาตรา 85 อนุมาตรา 1 และ 4 มีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
เรื่องที่ 2 กรณีนางสาวปุญญิสา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวช้าง อำเภอพรเจริญจั งหวัดบึงกาฬ ข้อกล่าวหากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกรณีรับเงินรายได้ค่าสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ค่าน้ำประปาประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวนเงิน 81,335 บาทแล้วเอาไปเป็นของตนโดยทุจริต
ด้านนายมาโนช ด้วงทองกุล หัวหน้ากลุ่มงานไต่สวนการทุจริตการชี้มูลความผิดนายเผด็จ ครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลวิศิษฐ์ มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ 2457 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยปี 2535โดยเรื่องนี้เริ่มจากอำเภอเมืองบึงกาฬมีหนังสือขอให้เทศบาลตำบลวิศิษฐ์ดำเนินการตรวจสอบรายชื่อของราษฎรจำนวน 25 รายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินสาธารณะหรือไม่อย่างไร อยู่ในหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 12 โดยที่ดินทั้ง 25 แปลงนี้อยู่ในพื้นที่โครงการจะได้รับเงินเวนคืนที่ดินใช้ก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 244 ซึ่งเป็นทางที่จะเชื่อมต่อขึ้นสะพานไทยลาวแห่งที่ 5 ในเรื่องนี้ นายกฯสั่งการให้กองช่าง และนิติกรดำเนินการลงตรวจสอบพื้นที่ดินสิทธิการครอบครองที่ดินในพื้นที่ทั้ง 25 แปลงเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วกองช่างเทศบาลได้นำเสนอรายชื่อเพื่อส่งรายงานให้อำเภอเมืองบึงกาฬได้รับทราบว่ารายชื่อทั้ง 25 รายดังกล่าวมีการครอบครองที่ดินหรือไม่อย่างไร เพื่อที่ว่าจะได้รายชื่อดังกล่าวไปพิจารณาว่ามีสิทธิ์ได้รับค่าเวนคืนที่ดินหรือไม่อย่างไร แต่นายเผด็จไม่ดำเนินการลงนามในเอกสารที่นำเสนอมาแล้ว โดยอ้างว่าให้ตรวจสอบดูให้ดีก่อน แต่หลังจากนั้นในเมื่อ นายกเผด็จไม่ดำเนินการลงนามรายชื่อในเอกสาร ทำให้ราษฎรทั้ง 25 คนในพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 12 ไม่มีรายชื่อจะได้รับเพื่อการพิสูจน์ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนหรือไม่อย่างไร ต่อมาหลังจากนั้นนายกได้เรียกผู้เสียหายบางรายซึ่งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ได้เข้าไปพบในห้องทำงานและก็แจ้งเขาว่าผู้เสียหายในหมู่ที่ 3 จะมีทั้งหมด 6 ราย โดยจะแจ้งว่าทั้ง 6 รายมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าเวนคืนเหมือนกันทั้งหมด เนื่องจากที่ดินดังกล่าว มีการครอบครองที่ดินไม่ใช่เป็นที่สาธารณะตามที่สำรวจแต่เนื่องจากนายเผด็จยังไม่ได้นำเสนอรายชื่อให้กับอำเภอเมืองได้รับทราบ และได้ติดต่อผู้เสียหายคนดังกล่าวให้ไปแจ้งกับผู้เสียหายอีก 5 คน ว่าถ้าอยากให้นายกฯ ลงนามในหนังสือเสนอรายชื่อให้เป็นผู้มีสิทธิ์รับค่าเวนคืนที่ดินดังกล่าว นายเผด็จจะขอค่าอำนวยความสะดวกหรือค่าใช้จ่ายคนละ 40% หรือร้อยละ 40 ต่อคนของจำนวนเงินที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่นายเผด็จได้ติดต่อแล้วผู้เสียหายคนที่ได้รับการติดต่อครั้งแรกจึงได้เข้าไปแจ้งกับผู้เสียหายอีก 5 คนว่านายกเผด็จได้ยื่นข้อเสนอมาว่าถ้าอยากได้ค่าเวนคืนที่ดินต้องจ่ายเงินให้นายเผด็จ 40% ของค่าเวนคืน โดยต่อมานายเผด็จได้มีการติดต่อกับผู้เสียหายเองอีก 5 คนโดยตรง ซึ่งในการติดต่อพูดคุยในแต่ละครั้งผู้เสียหายทุกคนได้มีการอัดเทปบันทึกเสียงการพูดคุยในโทรศัพท์มือถือไว้ด้วย ส่วนนายณัฐพล คำมี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 12 บ้านนาสุขสันต์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เนื่องจากได้เข้าไปแจ้งกับผู้เสียหายอีกรายหนึ่งว่าจริงๆแล้วผู้เสียหายทั้ง 6 คนที่ดินไม่มีสิทธิ์ได้ค่าเวนคืน เนื่องจากเป็นที่ดินสาธารณะ แต่นายณัฐพลและนายกเผด็จ จะเป็นผู้เซ็นรับรองให้เป็นที่ดินที่มีการครอบครอง จึงจะได้ค่าเวนคืนดังกล่าว
สำหรับรายที่ 2 กล่าวหา นางสาวปุญญิสา เ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองคลัง อบต.หนองหัวช้าง ในประเด็นนี้ ผอ.กองคลังมีหน้าที่ในการรับเงินนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อเก็บเข้าเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหลักการไต่สวนในกรณีนี้ผอ.กองคลังได้มีคำสั่งให้พนักงานจัดเก็บรายได้ดำเนินการจัดเก็บรายได้ค่าน้ำ โดยแบ่งหน้าที่ให้ผู้จดเลขมิเตอร์และมีเจ้าหน้าที่จดลงในใบเสร็จค่าน้ำมีเจ้าหน้าที่ไปจัดเก็บค่าน้ำในหมู่บ้านในท้องที่ตำบลหนองหัวช้างเพราะเจ้าหน้าที่จัดเก็บค่าน้ำทั้งหมดมารวบรวมแล้วก็ส่งให้กับ.นางสาวปุญญิสา เชษฐา ในการส่งมอบมีการลงนามหนังสือรับเงินและใบนำส่งเงินทั้งหมด เมื่อมีการส่งมอบแล้วไม่ได้ดำเนินการนำเงินเข้าฝากธนาคาร เรื่องเกิดขึ้นมาปรากฏในเดือนกรกฎาคม 2562 ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่นายกตำบลหนองหัวช้าง จึงได้ตรวจสอบเงินในรายการค่าน้ำประปา ปรากฏว่าในบัญชีค่าน้ำประปาระบุว่าจำนวนเงินมีเพียง 0 บาท ต่อมาจะได้เรียกผอ.กองคลังมาตรวจสอบ ผู้ถูกกล่าวหาก็รับว่าได้รับเงินจำนวนกล่าวแล้ว แต่ไม่ได้นำเงินเข้าไปในรายได้ของ อบต.และรับว่าได้นำไปใช้เป็นการส่วนตัว จึงได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ผอ.มีความผิดฐานยักยอกเงินและความผิดในระเบียบเก็บรักษาเงินกระทรวงมหาดไทย ผอ.ยอมรับยอมชดใช้เงินที่เอาไปจริง ป.ป.ช.บึงกาฬ จึงชี้มูลความผิด
ด้านนายนราวิชญ์ มาตราช หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต ชี้แจงประเด็นข้อมูลศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ ของสำนักงาน ป.ป.ช.ที่ได้แจ้งมายัง สำนักงาน ป.ป.ช.จังหวัดบึงกาฬ เกี่ยวกับประเด็นการลักลอบดูดทรายในพื้นที่ตำบลหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในเรื่องนี้ก็คือ ได้มีท่าทรายหนึ่งที่พยายามดูดทรายซึ่งอยู่ในขบวนการการขอใบอนุญาตตามมาตรา 9 ของประมวลกฎหมายที่ดินเสียก่อน จึงจะสามารถดูดทรายได้ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าถ้าทรายนี้ดำเนินการก่อนที่จะได้รับใบอนุญาต ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช.ได้รับข้อมูลมาจึงพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่และอำนาจโดยตรง เช่น อุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กรมเจ้าท่า และตำรวจ ลงพื้นที่ตรวจสอบ ก็ปรากฏว่าดำเนินการก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตจริง ปปช.จังหวัดบึงกาฬ ก็เลยได้แจ้งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่กล่าวหาร้องเรียนมายัง ป.ป.ช.แต่สำนักปปช.ได้ดำเนินการเฝ้าระวังตามมาตรา 35 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งเทศบาลตำบลหอคำที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลในพื้นที่จึงเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับทางผู้ประกอบการรายดังกล่าวแล้วและทางอนุฯ พิจารณาในการดูดทรายดำเนินการไม่อนุญาตเพราะทำผิดเงื่อนไขและไม่สามารถดำเนินการดูดทรายได้ต่อ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของพนักงานสอบสวนของ สภ.หอคำ ในการดำเนินคดีอาญาต่อไป และเรื่องนี้ก็นำไปสู่การขยายผลทางสำนักงานป.ป.ช.ภาค 4 โดยนายประทีป จูฑะศร รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 4 ได้มีข้อสั่งการให้ดำเนินการดำเนินนโยบายตรวจตราท่าทรายในเขต ภาค 4 คือจังหวัดเลยหนองคายบึงกาฬนครพนมและมุกดาหารซึ่งผลปรากฏเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้สื่อมวลชนและทราบว่าในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬของเรามีการอนุญาตท่าทรายมากที่สุดจำนวน 26 รายและทำประโยชน์ในพื้นที่ของสถานะประโยชน์ประมาณ 84 ไร่ซึ่งในส่วนนี้สร้างป.ป.ช.จังหวัดบึงกาฬจะร่วมกันติดตามและสำนักงาน ป.ป.ช.จังหวัดบึงกาฬได้รับข้อร้องเรียนมากที่สุดในเขตภาค 4
ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ รายงาน