20/09/2024

สตม.ตามรวบบังหยันหัวโจกขนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองข้ามชาติ

สตม.ตามรวบบังหยันหัวโจกขนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองข้ามชาติ

ตม.จว.สงขลา ร่วมกับ ตม.จว.ปัตตานี จับกุมนายซัฟยัน หรือบังหยัน (สงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี สัญชาติไทย
ตามหมายจับศาลจังหวัดสงขลา ที่ จ.455/2567 ลงวันที่ 5 ก.ค.2567 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ พ้นจากการจับกุม” นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.รัตภูมิ จว.สงขลา ดำเนินคดีตามกฎหมาย สถานที่จับกุม บริเวณหมู่บ้านปาแดลางา ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จว.ปัตตานี


สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ตม.จว.สงขลา จับกุมแรงงานต่างด้าวสัญชาติบังกลาเทศหลบหนีเข้าเมือง 19 คน พร้อมผู้ให้การช่วยเหลือ 2 คน เหตุเกิดที่ถนนสายเอเชียหมายเลข 2 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จว.สงขลา หลังจากนั้นได้ขยายผลการจับกุมพบว่านายซัฟยันหรือบังหยันผู้อยู่เบื้องหลังในการกระทำความผิดครั้งนี้ จึงรวบรวมพยานหลักฐานจนกระทั่งศาลจังหวัดสงขลาออกหมายจับในความผิดฐาน ร่วมกันให้ที่พักพิง ให้การช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาผิดกฎหมายเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาสืบทราบว่านายซัฟยันฯ มาหลบอยู่ที่บ้านพักในเขต อ.หนองจิก จว.ปัตตานี จึงประสาน ตม.จว.ปัตตานี บูรณาการกำลังร่วมกับ ชุดสืบสวน บก.สส.จชต. และ สภ.หนองจิก ไปร่วมตรวจสอบและจับกุมได้ที่บ้านหลังดังกล่าว
สำหรับนายซัฟยันฯ หรือบังหยัน ถือเป็นกลไกสำคัญระดับสั่งการในการลำเลียงแรงงานต่างด้าวสัญชาติบังกลาเทศจากประเทศกัมพูชาผิดกฎหมายผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียทางช่องทางธรรมชาติ

มีหมายจับจากการกระทำความผิดข้างต้นติดตัวจำนวน 2 หมายจับ จะทำหน้าที่สั่งการประสานงานกับนายหน้าประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจัดหารถขนแรงงานต่างด้าวครั้งละ 15-20 คน จากพื้นที่ตอนบนมายังภาคใต้ตลอดเส้นทางจนถึงมือนายจ้างที่ต้องการใช้แรงงานผิดกฎหมายในประเทศมาเลเซีย เจ้าหน้าที่จึงใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานหลายเดือนถึงจะพิสูจน์ทราบตัวบุคคลได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเครือข่ายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนำพาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเคยจับกุมมาแล้ว 3 คดี ในการทลายเครือข่ายครั้งนี้ถือเป็นการตัดวงจรสำคัญในการขนแรงงานผ่านประเทศไทย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางได้ถึง 62 คน เป็นคนไทย 10 คน คนต่างด้าว 52 คน ตรวจยึดยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดได้ 8 คัน หลังจากนี้จะควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรรัตภูมิเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


2. สตม.ตามรวบบังหยันหัวโจกขนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองข้ามชาติ
ตม.จว.สงขลา ร่วมกับ ตม.จว.ปัตตานี จับกุมนายซัฟยัน หรือบังหยัน (สงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี สัญชาติไทย
ตามหมายจับศาลจังหวัดสงขลา ที่ จ.455/2567 ลงวันที่ 5 ก.ค.2567 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ พ้นจากการจับกุม” นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.รัตภูมิ จว.สงขลา ดำเนินคดีตามกฎหมาย สถานที่จับกุม บริเวณหมู่บ้านปาแดลางา ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จว.ปัตตานี


สืบเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน ตม.จว.สงขลา จับกุมแรงงานต่างด้าวสัญชาติบังกลาเทศหลบหนีเข้าเมือง 19 คน พร้อมผู้ให้การช่วยเหลือ 2 คน เหตุเกิดที่ถนนสายเอเชียหมายเลข 2 ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จว.สงขลา หลังจากนั้นได้ขยายผลการจับกุมพบว่านายซัฟยันหรือบังหยันผู้อยู่เบื้องหลังในการกระทำความผิดครั้งนี้ จึงรวบรวมพยานหลักฐานจนกระทั่งศาลจังหวัดสงขลาออกหมายจับในความผิดฐาน ร่วมกันให้ที่พักพิง ให้การช่วยเหลือคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาผิดกฎหมายเพื่อให้พ้นจากการจับกุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาสืบทราบว่า นายซัฟยันฯ มาหลบอยู่ที่บ้านพักในเขต อ.หนองจิก จว.ปัตตานี จึงประสาน ตม.จว.ปัตตานี บูรณาการกำลังร่วมกับ ชุดสืบสวน บก.สส.จชต. และ สภ.หนองจิก ไปร่วมตรวจสอบและจับกุมได้ที่บ้านหลังดังกล่าว
สำหรับนายซัฟยันฯ หรือบังหยัน ถือเป็นกลไกสำคัญระดับสั่งการในการลำเลียงแรงงานต่างด้าวสัญชาติบังกลาเทศจากประเทศกัมพูชาผิดกฎหมายผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียทางช่องทางธรรมชาติ

 

มีหมายจับจากการกระทำความผิดข้างต้นติดตัวจำนวน 2 หมายจับ จะทำหน้าที่สั่งการประสานงานกับนายหน้าประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจัดหารถขนแรงงานต่างด้าวครั้งละ 15-20 คน จากพื้นที่ตอนบนมายังภาคใต้ตลอดเส้นทางจนถึงมือนายจ้าง ที่ต้องการใช้แรงงานผิดกฎหมายในประเทศมาเลเซีย เจ้าหน้าที่จึงใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานหลายเดือนถึงจะพิสูจน์ทราบตัวบุคคลได้ นอกจากนี้ยังพบว่าเครือข่ายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนำพาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเคยจับกุมมาแล้ว 3 คดี ในการทลายเครือข่ายครั้งนี้ถือเป็นการตัดวงจรสำคัญในการขนแรงงานผ่านประเทศไทย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางได้ถึง 62 คน เป็นคนไทย 10 คน คนต่างด้าว 52 คน ตรวจยึดยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดได้ 8 คัน หลังจากนี้จะควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรรัตภูมิเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป