26/12/2024

สวนสัตว์ขอนแก่น อวดความน่ารักของ “ลูกค่างห้าสี สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์” หลังประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ครั้งที่ 5

DSC_0523_0

สวนสัตว์ขอนแก่น อวดความน่ารักของ “ลูกค่างห้าสี สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์” หลังประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ครั้งที่ 5

 

 

นางทิพาวดี กิตติคุณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์ขอนแก่น รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสวนสัตว์ขอนแก่น ล่าวว่า นับว่าเป็นความสำเร็จที่สวนสัตว์ขอนแก่นสามารถเพาะขยายพันธุ์ลูกค่างห้าสีได้อีกครั้ง โดยเกิดจากแม่พันธุ์ชื่อ แม่อุ้ม พ่อพันธุ์ชื่อ พ่อเอ๋ ซึ่งย้ายมาจากสวนสัตว์ดุสิต เมื่อปี พ.ศ.2559 และได้ให้กำเนิดลูกค่างห้าสีตัวน้อย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 จำนวน 1 ตัว เป็นเพศผู้ และอยู่ในการดูและของสัตวแพทย์ประจำสวนสัตว์จนมีสุขภาพแข็งแรงจึงได้นำมาอวดโฉม ความสวยงาม ความน่ารักขอลูกค่างห้าสี ซึ่งถือว่า ค่างห้าสีเป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ และมีสีสันที่สวยงามที่สุดในโลกก็ว่าได้ สำหรับลูกค่างห้าสีตัวนี้ เป็นชุดที่ 5 ของสวนสัตว์ขอนแก่น ปัจจุบันมีค่างห้าสีทั้งหมด 7 ตัว เพศผู้ 3 ตัว และเพศเมีย 4 ตัว ช่วงเปิดเทอมนี้ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาชมความน่ารักของค่างห้าสี ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

ค่างห้าสีเป็นค่างที่มีสีสะดุดตามาก จัดเป็นค่างที่สวยงามที่สุดในโลก โดยมีสีขนตามร่างกายผสานกัน 5 สี คือ ดำ เทา ขาว น้ำตาลแดงและ ส้ม ส่วนหลัง กระหม่อม แขนบนด้านด้านนอกและหน้าท้องขนสีเทา หน้าอก แขนบนด้านใน ต้นขาด้านในและนอก รวมทั้งมือและเท้าขนสีดำ หน้าแข้งและน่องสีขนสีน้ำตาลแดง แขนท่อนล่างและหางสีขาว เพศผู้ความยาวหัวรวมลำตัว เฉลี่ย 61 เซนติเมตร เพศเมีย 54.5 เซนติเมตร น้ำหนักเพศผู้เฉลี่ย 11 กิโลกรัม ส่วนเพศเมีย 8.44 กิโลกรัม ส่วนความยาวหางอยู่ในช่วง 55.8 – 76.2 เซนติเมตร การผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ระยะตั้งท้องอยู่ในช่วง 165 – 190 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เพศเมียถึงช่วงวัยสมบูรณ์พันธุ์ที่อายุ 4 ปี ส่วนเพศผู้อยู่ในช่วง 4 – 5 ปี

   

โดยมีอายุขัยเฉลี่ย 25 ปี พบการกระจายพันธุ์ในพื้นที่ภาคกลางของเวียดนาม ตะวันออกของเฉียงเหนือของลาว ตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชา ซึ่งค่างห้าสีเป็นสัตว์สังคมที่อยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งสองเพศ จำนวนของเพศเมียมากกว่า โดยเพศผู้จะเป็นผู้นำฝูง ขนาดของกลุ่มขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารและการรบกวนจากมนุษย์ หากินในเวลากลางวัน ด้วยการเคลื่อนตัวในชั้นเรือนยอดของป่า การเคลื่อนที่ด้วยการโหนตัวตามกิ่งไม้ด้วยมือและแขน รวมทั้งการกระโดดโดยใช้ขาหลังผลักตัวให้เคลื่อนไปข้างหน้า และการเหยียดแขนขึ้นเหนือหัว หางจะเป็นตัวช่วยในการการสร้างความสมดุล ตอนกลางคืนนอนบนส่วนเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ที่มีใบไม้ปกคลุมหนาแน่น
สวนสัตว์ขอนแก่น เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึงเวลา 16.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป