23/12/2024

ปปร.26 สถาบันพระปกเกล้า บินลัดฟ้าศึกษาเมืองเศรษฐกิจนครซัวเถา-ย้อนรอยต้นตระกูล “แซ่แต้” ของพระเจ้าตาก

IMG_2562

ปปร.26 สถาบันพระปกเกล้า บินลัดฟ้าศึกษาเมืองเศรษฐกิจนครซัวเถา-ย้อนรอยต้นตระกูล “แซ่แต้” ของพระเจ้าตาก

คณะหลักสูตร ประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้ บริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 26 นำโดย…ดร.วิกร ภูวพัชร์ ประธานรุ่น ปปร.26 พร้อมด้วย นายสมชาย ศุภสัญญา กรรมการรุ่น และรองปธ.สภา วัฒนธรรมไทยจีน นำคณะนักศึกษาหลักสูตร ปปร.26
ศึกษาดูงานที่นครซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายจีนและ สมาคมคนจีนโพ้นทะเลของนครซัวเถา

ทั้งนี้ได้มีผู้แทนจากนครซัวเถา ให้การต้อนรับ และอธิบายถึงประวัตินครซัวเถา หรือซานโถว (汕头) เป็นเมืองท่าชายฝั่งตะวันออกของจีน ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ในสมัยราชวงศ์ซ้อง นครซัวเถาเคยเป็นเมืองท่าของเมืองถัวเจียง ในปี พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) นครซัวเถาเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเฉิงไห่ หรือเถ่งไฮ่ (ภาษาแต้จิ๋ว) ในเมืองเฉาโจวหรือเมืองแต้จิ๋วในปัจจุบัน

ในอดีตนครซัวเถาเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ เมื่อเริ่มมีการขยายตัวของเมืองและเป็นท่าเรือในการคมนาคม เริ่มมีร้านค้ากิจการต่างๆ จนต่อมาถูกยกระดับฐานะขึ้นเป็นเมืองท่านานาชาติ ในศตวรรษที่ 18 ก่อนจะกลายมาเป็น 1 ใน 4 เมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนในปัจจุบัน

นอกจากศึกษาดูงานที่ทำการนครซัวเถาแล้ว ได้ดูงานที่เมืองแต้จิ๋ว และเยี่ยมชม สุสานพระเจ้าตากสินมหาราช

สำหรับที่เถ่งไฮ่ ซัวเถา เป็นบ้านเกิดบิดาของพระเจ้าตากสินมหาราช คนจีนแต้จิ๋วในยุคนั้น จึงภูมิใจและรักพระเจ้าตากสินดังเช่นคนไทย ชื่อจีนของพระเจ้าตากสินมีชื่อว่า แต่อ๊วง ตระกูลของพระเจ้าตากสินจึงมีแซ่ว่า ”แต้”

ที่เมืองนี้มีหลุมฝังศพของพระเจ้าตากสิน แม้ว่าจะเรียกว่าเป็นหลุมศพ แต่เป็นเพียงที่ฝังเสื้อผ้าของท่านเท่านั้น สุสานแห่งนี้จึงมีความหมายต่อใจของคน ในเถ่งไฮ่ เพราะอุตส่าห์ส่งเสื้อผ้าของท่านข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากไทย เพื่อมาสร้างหลุมศพที่นี่ ก็แสดงให้เห็นว่าคนจีนในไทยให้ความสำคัญกับพระเจ้าตากสินมาก

ดร.วิกร ภูวพัชร์ กล่าวถึงการศึกษาดูงานครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสที่คณะนักศึกษาหลักสูตร ปปร.26 ได้ศึกษาประวัติศาสตร์และการเจริญเติบโตวิวัฒนาการของ นครซัวเถา เมื่อครั้งในอดีตเคยเป็นพื้นที่ที่ยากจน อีกทั้งเป็นแหล่งกำเนิดคนไทยเชื้อสายจีน ที่อพยพไปอยู่ในประเทศไทยเมื่อราว 100 ปีก่อน พร้อมทั้งเยี่ยมชมโรงงานผลิตพลาสติกตัวต่อที่ทันสมัยควบคุมด้วยระบบโรบอตและเอไอ ที่ใหญ่ อันดับต้นๆของจีน
//

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป