22/11/2024

กระบี่-จัดโครงการส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหาร กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปข้าวไร่หอมหัวบอนสู่เกษตรมูลค่าสูง 

กระบี่-จัดโครงการส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหาร กิจกรรม ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปข้าวไร่หอมหัวบอนสู่เกษตรมูลค่าสูง 
https://youtu.be/a1mAo2gU3C4
นายชัยยุทธ์ ทองชัย หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัดกระบี่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลและพืชผักจากข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดกระบี่จะเห็นได้ว่า จังหวัดกระบี่มีเนื้อที่เพื่อการเกษตรทั้งหมด 1,836,913 ไร่ ได้แก่ สวนไม้ผลไม้ยืนต้น 1,77๗,322 ไร่ นาข้าว 11,806 ไร่ สวนผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ๖,๓๑0 ไร่ และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ 41,475 ไร่ ซึ่งสัดส่วนพื้นที่การปลูกข้าวน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่การเกษตรทั้งหมด และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้พื้นที่การปลูกข้าวลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในจังหวัด
จึงต้องมีการนำเข้าข้าวจากต่างถิ่น การส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อรักษาพื้นที่การทำนา อนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะข้าวไร่หอมหัวบอน การอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการทำนาให้อยู่คู่กับชุมชน เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญของการทำนา สร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับชุมชน และพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถยกระดับการผลผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เพื่อให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น สร้างความมั่นคงในอาชีพและสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมให้กับจังหวัดกระบี่
ข้าวไร่หอมหัวบอนเป็นข้าวไร่พื้นเมืองที่ปลูกในจังหวัดกระบี่ และพื้นที่ใกล้เคียง มีลักษณะเด่นคือ รสชาติหอม นุ่ม และนิยมปลูกแซมยางพาราและปาล์มน้ำมันในช่วง 1-3 ปีแรก ในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวไร่หอมหัวบอนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ประมาณ 2,000 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกในอำเภอเขาพนม เกาะลันตา และลำทับข้าวไร่หอมหัวบอนเป็นข้าวไร่ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เฉลี่ยประมาณ 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ สาเหตุหลักมาจากสภาพดิน และขาดการจัดการที่ดี ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และเนื่องจากเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค แต่ผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ จึงมีการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินและช่วยลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมตลาดข้าวไร่หอมหัวบอนเกษตรกรเป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูงให้กับชุมชน แก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ การขาดองค์ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตข้าว การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคและแมลงเพื่อลดการใช้สารเคมี และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และเพื่อรักษาพื้นที่การทำนา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตการทำนา สร้างรายได้เสริมและเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับชุมชน…
กระบี่//ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง รายงาน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป