25/11/2024

ฉะเชิงเทรา-ผู้ว่าตราดพาคณะดูงานการจัดขยะมูลฝอยที่ฉะเชิงเทรา

ฉะเชิงเทรา-ผู้ว่าตราดพาคณะดูงานการจัดขยะมูลฝอยที่ฉะเชิงเทรา

 

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด พร้อมด้วย รองผู้ว่าฯ ท้องถิ่นจังหวัด นายอำเภอ และคณะผู้บริหารท้องถิ่น จ.ตราด นำคณะมาศึกษาดูงานในโครงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์บริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรของจังหวัดตราด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน 180 คน จัดโดย สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดตราด ณ บริษัท โสรัชชกิจ รีไซเคิล ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีนายสุกัณฑ์ โสรัจจกิจ (รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราด้านวิชาการและการศึกษา) ประธานบริษัท โสรัชชกิจ รีไซเคิลและนายกิตติพงษ์ สีเหลือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ อ.บางคล้า ร่วมให้การต้อนรับ


โดย ผญ.กฤษฎา มหาวิริโยทัย ประสานขอความอนุเคราะห์ ท่านเจ้าคุณพระประชาธรรมนาถ เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนารามฉะเชิงเทรา และเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ธรรมยุต สนับสนุนสถานที่ศาลาประชาคม เป็นสถานที่ประชุม ณ วัดสมานรัตนาราม
นายณรงค์พงศ์ พิศิลป์ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมบรรยายเรื่องการบริหารจัดการขยะในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา
ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นวาระสำคัญของประเทศที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
แต่ยังรวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของประชาชน จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะ
(Recyclable Waste Bank) เพื่อเป็นกลไกสำคัญที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ

โดยมีเป้าหมาย ลดการเกิดของเสียและการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกระบวนการส่งเสริม
การคัดแยกขยะที่ต้นทาง การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ซึ่งสอดรับกับนโยบายด้านการจัดการขยะของประเทศตามแผนปฏิบัติการ
ด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๗๐) ที่ได้กำหนดกรอบและทิศทางการแก้ไข
ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่จัดระบบคัดแยกขยะมูลฝอยชุมชน การขนส่งไปจนถึงการกำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการนำขยะมูลฝอยตกค้างไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุน


นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-
Green Economy : BCG Model) เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ
หมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่กับการสร้างเศรษฐกิจใหม่ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ในข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคม
คาร์บอนต่ำและการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs

เป้าหมายที่ ๑๒ เพื่อสร้างหลักประกันให้มี แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ ๑๓ เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ และสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาของจังหวัดตราด ประเด็นการพัฒนาที่ ๕ : ยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดตราด จึงได้จัดทำโครงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์บริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรของจังหวัดตราด ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อให้ในพื้นที่ของจังหวัดตราดมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป