สระบุรี/อบต.บ้านกลับ จัดงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรม “กำฟ้า 2567 ” กลุ่มชาติพันธ์ไทยพวน
สระบุรี/อบต.บ้านกลับ จัดงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรม “กำฟ้า 2567 ” กลุ่มชาติพันธ์ไทยพวน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 นายวิชัย บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นประธานเปิดงานประเพณีสืบสานวัฒนธรรม “กำฟ้า 2567 ” กลุ่มชาติพันธ์ไทยพวนมีนายณเดชน์ จินดาพรหม นายอำเภอหนองโดน พร้อมนางวชิราภรณ์ มาแสวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลับ ให้การต้อนรับ
ประวัติ ชาวไทยพวนพอสังเขป เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงรับสั่งให้อพยพ ครอบครัวชาวเมืองพวน ออกจากเมืองสุย และเมืองเชียงขวาง มาตั้งถิ่นฐานในไทย จึงเป็นชุมชนชาวไทยพวน
เกิดขึ้น ต่อมาได้แยกย้ายออกไปทำมาหากิน ตั้งถิ่นฐานแต่ละจังหวัด
ซึ่งจังหวัดสระบุรีที่อำเภอดอนหนองโดนมีประชาชนเป็นชาวไทยพวนจำนวนมากมาตั้ง
ถิ่นฐานสร้างครอบครัว และมีประเพณีที่ชาวไทยพวนสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ที่เรียกว่า “ประเพณีกำฟ้า” ซึ่งคำว่า “กำ” ในภาษา
พวน แปลว่า การนับถือสักการะ และคำว่า “ฟ้า”แปลว่า เจ้าฟ้าเจ้า
แผ่นดิน หรือ เทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
“กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือสักการบูชาฟ้า ในประเพณีนี้มีความเชื่อ ต่อกันมาเป็นเวลานาน ต้องมีการทำบุญชาฟ้า และขอพร
เทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดลบันดาลฝนตกต้องตามฤดูกาล
เพื่อพืชผลทาง
การเกษตรงอกงามอุดมสมบูรณ์ วันกำฟ้าแต่ก่อนถือกำหนดกันว่า เอา
วันที่มีเสียงฟ้าร้องครั้งแรก ในเดือน ๓ เป็นวันเริ่มต้นประเพณีกำฟ้า
แต่การยึดถือในวันดังกล่าว มักมีข้อผิดพลาดเกิดการโต้แย้งกัน ซึ่งต่อมา
ได้กำหนด วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันเตรียมงาน และวันขึ้น 3 ค่ำเดือน3 เป็นวันกำฟ้า จึงใช้วันนี้กำหนดสืบทอดต่อวันมาจนถึงปีในวันกำฟ้านี้ ชาวไทยพวนจะหยุดการทำงาน ถ้าใครทำงานเชื่อกันว่าจะเกิดเภทภัยต่างๆ จึงอยากสืบทอดสู่ลูกหลานต่อไป.
/ดำรงค์ ชื่นจินดา รายงาน