20/09/2024

เชียงใหม่-เปิดงานแสดงสินค้า”กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ภาคเหนือ 2566″

เชียงใหม่-เปิดงานแสดงสินค้า”กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ภาคเหนือ 2566″

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 17.00 น. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต จัด “งานแสดงสินค้าแม่บ้านเกษตรกรภาคเหนือ” โดยมีคุณพัชญ์ธน วิกัน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย คุณภัทรมน โอพสกุล กรรมการบริหารบริษัท มีโชคมาร์เก็ตติ้ง จำกัด
คุณภครัช ชัยชนะ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เขต 6 ภาคเหนือ และ ผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิดงาน ณ. ลานกิจกรรมมีโชคพลาซ่า เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผ่านการจำหน่ายสินค้า บริการ ผลผลิต

นางภครัช ชัยชนะ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เขต 6 ภาคเหนือ และคณะผู้จัดงาน แสดงสินค้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เขต 6 ภาคเหนือ กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะของผู้ดูแลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับเขต จัดทำโครงการ แสดงผลงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้ชื่อ “งานแสดงสินค้าแม่บ้านเกษตรกรภาคเหนือ” ในระหว่างวันที่ 27-29 ธันวาคม 2566 ณ ลานกิจกรรมมีโชคพลาซ่า ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่

โดยมีวัตถุประสงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ 2566 ของ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ด้านผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ และคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการตลาดโดยการแสดงและจำหน่ายสินค้า บริการ ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในพื้นที่ 17 จังหวัดเขตภาคเหนือ

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการจำหน่ายสินค้าของ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จาก 17 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน จำนวน 28 บูธ ประกอบไปด้วย สินค้าเกษตร สินค้าหมวดอาหารปรุงสุกและแปรรูป หมวดผ้าและเครื่องแต่งกาย หมวดหัตถกรรมและศิลปประดิษฐ์ และอื่น ๆ การนำเสนอและแนะนำสินค้าดี สินค้าเด่น ในแต่ละประเภท การจัดรายการสินค้า นาทีทอง การแสดงบนเวทีกลาง การจัดงานครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่ จากบริษัท มีโชคมาร์เก็ตติ้ง จำกัด สำนักงานเกษตรจังหวัด 17 จังหวัด ที่ให้ความร่วมมือในการร่วมจัดกิจกรรมตลอดงาน

คุณพัชญ์ธน วิกัน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีบทบาทในการขับเคลื่อน ด้วยการพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร และองค์กรเกษตรกรในระดับฐานราก โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรเกษตรกรขั้นพื้นฐาน 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่มยุวเกษตรกร โดยส่งเสริมและพัฒนาให้มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง เกิดความมั่นคงด้านอาหาร มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างความภาคภูมิใจในอาชีพด้านการเกษตร และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการ “เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ยกระดับความรู้ ความสามารถตามความต้องการของเกษตรกร

ส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งกลุ่ม มีการบริหารจัดการกลุ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปสู่การเป็น Smart Group กรมส่งเสริมการเกษตร มีองค์กรเกษตรกรในความรับผิดชอบ ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร จำนวน 6,369 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 10,142 กลุ่ม และ กลุ่มยุวเกษตรกร จำนวน 5,011 กลุ่ม ดังนั้นองค์กรเกษตรกรขั้นพื้นฐานจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ผ่านกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเพื่อนำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า

และผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้งในเชิงธุรกิจและสังคม พัฒนาช่องทางการตลาด รวมทั้งการบริหารจัดการกองทุน เกิดการกระจายรายได้ให้กับเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน ตลอดจนยกระดับกลุ่มที่มีศักยภาพสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และมีส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจมาก

การที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับเขตฯ จัดงานนี้ขึ้นนับเป็นโอกาสอันดี ที่จะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ของภาคเหนือ ให้สาธารณชนได้รับรู้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้เกษตร จนสามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืนภายใต้การดำเนินงานในรูปแบบของ Smart Officer Smart Group และ Smart Product ผ่านการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า บริการ ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรขององค์กรเกษตรกร เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF) กลุ่มตลาดเกษตรกร กลุ่ม GAP ในเขตภาคเหนือ

นภาพร/เชียงใหม่

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป