24/11/2024

ถวายพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ต่อเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยพระครูถาวรวิสุทธิ์

ถวายพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ต่อเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยพระครูถาวรวิสุทธิ์

๑ สิงหาคม ๒๕๖๖

ณ วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เวลา11.30น.

นพ.สวรรค์  กาญจนะ ผู้อำนวยการ รพ.เบตง

พร้อมพุทธศากนิกชน ถวายรูปเหมือนพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์

ขนาด29นิ้วเนื้อทองเหลืองปิดทองคำแท้

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=zhvdqCzNA5E[/embedyt]

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ

วัดสวนขัน

ปัจจุบันสรีระท่านอยู่ที่วัดธาตุน้อยนครศรีธรรมราช

เป็นพระภิกษุที่ได้รับความนับถือศรัทธา

จากพุทธศากนิกชนทั่วประเทศ

การจัดสร้าง

 

เริ่มสร้าง มีนาคม  2566

 

ได้ทำพิธีเททอง 22 กรกฎาคม 2566

พิธีสงฆ์

พระครูสุจิณธรรมรส  เจ้าอาวาส วัดเขาบ่อ ชุมพร ประธาน

พิธีพราหมณ์

คุณ ศักดาเดช อนุมาศ

ประธานสงฆ์ที่ปรึกษา

พระครูสุจิณ ธรรมรส เจ้าอาวาสวัดเขาบ่อชุมพร

ประธานสงฆ์

เจ้าอาวาส วัดธาตุน้อย พระครูถาวรพิสุทธิ์

 

ประธานจัดสร้าง

นายแพทย์สวรรค์ กาญจนะ

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา

ร่วมกับพุทธศาสนิกชน ทั่วประเทศ

ปฏิมากร

ผศ .ดร.ฐิติพันธ์ จันทร์หอม

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ทั้งนี้

มวลสารที่ลงในพระพุทธรูปหล่อ

1.พระรูปหล่อ พระกริ่ง ปวเรศ

2.พระรูปหล่อโปราณพิมพ์หลังเตารีดใหญ่ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี พ.ศ. 2505

3.พระรูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

4.พระรูปหล่อโปราณ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ก้น อุ ปี พ.ศ. 2505

5.ผงเหล็กไหล ไพลดำ

6.เหล็กไหล เงินยวง

7.เหล็กไหล เขาอึมครึม กาญจนบุรี

8.เหล็กไหล เกาะล้าน ชลบุรี

9.ข้าวตอกพระร่วง

10.เหล็กน้ำพี้

11.ผงเพชรหน้าทั่ง

12.ผงแร่เศรษฐี

13.ประคำเหล็กไหล ไพลดำ

 

มวลสารที่รวบรวม

1.เหรียญเกจิอาจารย์

2.ทองเหลืองล้นเบ้า วัดธาตุน้อย มอบโดยเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย

3.เหล็กไหลไพลดำ หินสามสีโต นายบงกช คงยืน

เทวดาน้อย มอบให้

4.เหรียญจตุคามบารมีปกเกล้า

5.ทองเหลืองล้นเบ้า พ่อท่านคล้ายสุขาโต วัด กม 7

6 พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

7 พญาครุฑ

8 หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

9 ตาปะขาว วัดภูเขาทอง พัทลุง

10 ตาไข่

11 หินสามสี

12 หลวงพ่อเดิม นครสวรรค์

13 เหรียญ รศ ๑๒๗

14 หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

15 หลวงพ่อนวล วัดไสร้า

16 พระพุทธชินราช

17 กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

18 พระนาคปรก

19 หลวงปู่ทิม อิสริโก

20 หลวงปู่ทวด

21 หลวงปู่จง

22 หลวงพ่อพรหม

23หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง

24.หลวงปู่ไข่

25.หลวงพ่อแดง

26.หลวงปู่ทวดปลอดโรคปลอดภัย917

27.หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี

28.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

 

อธิษฐานจิต

 

นิมนต์ พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ

เทดเทวา หน่อเนื้อกษัตริย์ ทุกภพชาติร่วมสร้าง

 

อนุโมทนาบุญ ผู้ร่วมสร้างร่วมบุญ ร่วมกุศลจิตทุกท่าน

 

คาถาพ่อท่านคล้าย

พุทธัง อรหังพุทโธ

ธัมมัง อรหัง พุทโธ

สังฆัง อรหัง พุทโธ

 

ประวัติ

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) หรือเทวดาเมืองคอน อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช  เดิมชื่อคล้าย นามสกุลสีนิล เกิดวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๑๙ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ตรงกับ จ.ศ. ๑๒๓๘ ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล ท่านมีพี่สาว ๑ คน ชื่อนางเพ็ง พ่อท่านคล้ายมีนิสัยเป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก เมื่ออายุ ๑๕ ปี ขาของท่านเสียข้างหนึ่งคือขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป  ท่านประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียดรักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดปาดตาลมีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเองและใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

 

การศึกษา

 

พ่อท่านคล้ายได้รับการศึกษาในเบื้องต้นที่บ้านโดยมีบิดาเป็นผู้สอน ได้เรียนวิชาคำนวณตลอดถึงวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมาก

 

บรรพชาและอุปสมบท

 

เมื่ออายุ ๑๙ พ่อท่านคล้ายได้บรรพชาที่วัดจันดี ตำบลหลักช้าง เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๓๘ มีพระอุปัชฌาย์คือพระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) ท่านสามารถท่องพระปาฏิโมกข์จนได้อย่างแม่นยำ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูงเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอนหรือวัดจันดี การศึกษาสมัยอุปสมบทตามลำดับดังนี้

 

ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ พ่อท่านคล้าย ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) ณ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบหลักสูตรมูล พอแปลบาลีได้ศึกษาอยู่เป็นเวลา ๒ พรรษา

ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฏฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พ่อท่านคล้าย ได้กลับมาอยู่จำพรรษาวัดหาดสูง ใกล้ตลาดทานพอ ในสำนักพระครูกราย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อท่าน เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์ โดยเหตุที่พระครูกราย เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาและทรงวิชาคุณทางไสยศาสตร์ในสมัยนั้น

ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พ่อท่านคล้าย ได้ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาบาลีและพระอภิธรรมเพิ่มเติม

ปี พ.ศ. ๒๔๔๘  พ่อท่านคล้ายกลับจากวัดมะขามเฒ่า มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน (จันดี) ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษา ณ ที่ใดก็ตาม ท่านได้ศึกษาค้นคว้าภาษา บาลี วิชาโหราศาสตร์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ติดต่อกันมาโดยมิได้ประมาท ด้านการก่อสร้างก็ได้สร้างไว้วัดและปูชนียวัตถุตามวัดต่าง ๆ ไว้มากมาย

สมณศักดิ์

 

พ่อท่านคล้ายได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์)  ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และเป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ อันเนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไปเรียกว่าวัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ววัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

 

มรณภาพ

 

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ตรงกับแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีจอ พ่อท่านคล้ายจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานพุทธาภิเษกที่คณะพุทธบริษัท จังหวัดนั้นนิมนต์ใว้ ประมาณเวลา ๑๖.00 น. ของวันเดินทาง คณะศิษย์เห็นว่าท่านอาพาธด้วยโรคหืดอย่างกระทันหัน จึงนิมนต์พ่อท่านขึ้นรถด่วนเข้ากรุงเทพ ถึงวันรุ่งขึ้นได้นำท่านเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎในวันนั้น ทางคณะแพทย์ได้พยายามรักษาท่านจนเต็มความสามารถ ท่านได้รักษาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาถึง ๑๔ วัน อาการมีแต่ทรงกับทรุด ครั้นถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เวลา ๒๓.05 น. พ่อท่านคล้าย ได้มรณะภาพลงด้วยอาการสงบ รวมสิริอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลศพครบ ๑๐๐ วัน ทางคณะศิษยานุศิษย์จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว โดยประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบันนี้

 

ปัจจุบันสรีระพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ประดิษฐ์ฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ ณ สถานที่นี้ จึงเป็นเจดีย์อนุสรณ์สถานพ่อท่านคล้ายอีกด้วย สังขารพ่อท่านคล้ายซึ่งว่ากันว่าแข็งเป็นหิน ที่ชาวบ้านนับถือและศรัทธาด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาสักการบูชากันมากยิ่งขึ้น

 

ผลงานสำคัญ

 

ด้านศาสนา

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) เป็นผู้นำในการสร้างวัด สร้างพระ ตลอดถึงปูชนียวัตถุมากมาย เช่น สร้างวัดมะปรางงาม ตำบลละอาย สร้างวัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่าวัดพ่อท่านคล้าย ท่านได้สร้างขึ้นใหม่และสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุทั้งหมด การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างพระเจดีย์ พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แก่เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้นบนภูเขา อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฏร์ธานี

 

ด้านพัฒนาท้องถิ่น

 

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์) จัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่มาตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ท่านได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง  ๆ สร้างถนนสร้างสะพานไว้มากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน เช่น

 

สร้างถนนเข้าวัดจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน

ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี

ถนนจากตำบลละอายไปนาแว

ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย

สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน

สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว

สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม

สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น

ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

 

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจาพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน “ขอให้เป็นสุข เป็นสุข” ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นของที่มีค่ามาก

 

คุณลุงหยวน แซนิ้ว ชาวบ้านอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าว่าพ่อท่านคล้ายเป็นผู้มีอภินิหารมาก เมื่อครั้งที่มีการก่อสร้างวัดจันดีไม่มีทรายเลย ท่านสามารถทำให้น้ำพัดพาทรายมากองไว้ที่หน้าวัดได้ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก ลุงหยวนยังชี้ให้ดูต้นมะพร้าวคู่ภายในบริเวณวัดธาตุน้อยสถานที่ที่พ่อท่านคล้ายเคยพำนักอยู่ขณะที่ดูแลการก่อสร้างเจดีย์ (ใต้…หรอยมีลุย บอกเล่าเรื่องราว ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของภาคใต้ ; 2547, 110)

สำหรับสรีระสังขารของท่านที่บรรจุอยู่ในโลงแก้ว ก็เป็นสิ่งอัศจรรย์มากที่ไม่เสี่ยมสลายไปตามกาลเวลา จึงทำมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในตัวพ่อท่านคล้ายอยู่มิเสื่อมคลาย ปัจจุบันจะทีประเพณีสรงน้ำรูปหล่อหลวงพ่อคล้าย ซึ่งมีขึ้นในวันอังคารที่ ๒ เดือน ๔ เป็นประจำทุกปีที่วัดธาตุน้อย จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ทั้งนี้จะได้มีพิธี เบิกเนตร พุทธาภิเษก ต่อไป

พระครูถาวรพิสุทธิ์ เจ้าอาวาส ได้อนุโมทนาบุญ

พุทธศากนิกชน ทั่วประเทศ และจะนำพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธ์ประดิษฐ์ไว้ ณ อุโบสถกลาง เพื่อเป็นที่กราบสักการะบูชา ของพุทธศากนิกชน สืบไป

 

#สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงแล้วแต่ปรากฎให้ใครเห็น

#ตั้งจิตสืบทอดทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

 

๑ สิงหาคม ๒๕๖๖.

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป