15/01/2025

สุโขทัย พิธีอัญเชิญต่อ “พระเศียร” พระพุทธสีติวัสสามหาบพิตร (สมเด็จพระร่วงเจ้า) ความสูง 35 เมตร ความกว้าง 9 เมตร

20250114_101747_0

สุโขทัย พิธีอัญเชิญต่อ “พระเศียร” พระพุทธสีติวัสสามหาบพิตร (สมเด็จพระร่วงเจ้า) ความสูง 35 เมตร ความกว้าง 9 เมตร

 

 
วัดสังฆาราม ได้จัดพิธีอัญเชิญต่อ “พระเศียร” พระพุทธสีติวัสสามหาบพิตร (สมเด็จพระร่วงเจ้า) ความสูง 35 เมตร ความกว้าง 9 เมตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรรัชกาลที่ 9 มีพระชนพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างมายาวนานกว่า 17 ปี และในโอกาส ดิถีมหาจักรพรรดิ วันที่ 14 มกราคม 2568 ถือเป็น ฤกษ์งามยามดี ขี่ม้าแก้วฟังธรรม เป็นสิริมงคลประกอบด้วยความอุดมสมบูรณ์ เป็นฤกษ์ยาม “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง”

 

 

จึงได้ได้จัดพิธีอัญเชิญต่อ “พระเศียร” พระพุทธสีติวัสสามหาบพิตร (สมเด็จพระร่วงเจ้า) ขึ้นประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติ มณฑลพิธีหน้าองค์สมเด็จพระร่วงเจ้า วัดสังฆาราม อ.บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
โดยมี พระเดชพระคุณพระสุขวโรทัย (หลวงพ่อจง) เจ้าอาวาลวัดสังฆาราม ประธานสงฆ์ พระโสภณธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง ประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธี ดร.สุชีราภรณ์ ธุวานนท์ , ดร. พอพันธุ์ สนเจริญ ประธานอุปถัมภ์ และพุทธศาสนิกชน ชาวอำเภอบ้านด่านลานหอย และจังหวัดสุโขทัย เข้าร่วมพิธี และปิดทองพระพักตร์พระร่วงเจ้า หลังจากเสร็จพิธีพราหมณ์ พระสงฆ์สวดเจริญชัยมงคลคาถา ประกอบพิธีอัญเชิญ ต่อพระเศียร สมเด็จพระร่วงเจ้า

 

พระพุทธสีติวัสสามหาบพิตร (สมเด็จพระร่วงเจ้า) เริ่มก่อสร้างในปี 2550 ในครั้งนั้น คณะสงฆ์ในจังหวัดสุโขทัย นำโดยพระเดชพระคุณพระสุขวโรทัย (หลวงพ่อจง)เจ้าอาวาลวัดสังฆาราม รองเจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้น เป็นประธานอำนวนการฝ่ายสงฆ์ มีพลเอก เรืองโรจน์ มหาสศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพระโสภณธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพฯ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน คณะศรัทธา ได้ร่วมกันสร้างพระถวายเจ้าพ่อหลวงของแผ่นดินมี ความสูง 35 เมตร ความกว้าง 9 เมตร ปางประทับยืนยกพระหัตถ์ขวา ทรงพระนามว่าพระพุทธสีติวัสสามหาบพิตร

   

มีพระนามย่อว่า สมเด็จพระร่วงเจ้า ประดิษฐานในชุมประภามณฑล ใช้งบประมาณในการก่อสร้างหนึ่งร้อยล้านบาท ณ พุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 อีกทั้งที่บริเวณ พุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ยังจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พันธ์ไม้ สัตว์พื้นบ้านต่างๆและสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ไว้ในสถานที่แห่งเดียวกัน เพื่อส่งเสริมให้เป็นพุทธอุทยานและแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ของไทยสืบต่อไป

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป