09/01/2025

‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ นำคณะ ‘คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ’ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี) ลดผลกระทบประชาชน-สิ่งแวดล้อม

S__2433162_0

‘รองนายกฯ ประเสริฐ’ นำคณะ ‘คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ’ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี) ลดผลกระทบประชาชน-สิ่งแวดล้อม

 

 

วันที่ 7 มกราคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล. ) พร้อมด้วย ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นายสิทธิชัย เสรีสงแสง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม , ดร.ชญานันท์ ภักดีจิตต์ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นำคณะลงพื้นที่ติดตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ) และสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี) บริเวณสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรการปองกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดลอม ซึ่ง กก.วล. เห็นชอบเมื่อเดือนเมษายน 2562 และเดือนธันวาคม 2564 รวมทั้งให้ความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีนายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ

 
.
นอกจากจะเป็นการติดตรวจเพื่อรับทราบข้อมูลผลกระทบที่มีต่อประชาชน ผลกระทบต่อการจราจร การท่องเที่ยวและความห่วงใยที่มีต่อพี่น้องประชาชนจากการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแล้ว ประธาน กก.วล. ยังได้เน้นย้ำถึง ความสำคัญและความจำเป็นที่ผู ้รับเหมาโครงการต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการป้องกันผลกระทบในระยะการก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้าทั้งสองโครงการอย่างเคร่งครัด เช่น การป้องกันปัญหาการฟุ้งกระจายของฝุ่น เสียง การสั่นสะเทือน การคมนาคมขนส่ง การโยกย้าย การเวนคืนและชดเชยที่ดิน ทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้าง ให้ดำเนินการแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ อย่างครบถ้วน

 
.
รวมถึงขอความร่วมมือในการบริหารจัดการพื้นที่ก่อสร้างให้มีความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกต่อการสัญจรของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับแหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์และศาสนสถานในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ต้องมีการดำเนินการก่อสร้างด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามมติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าในเรื่องรูปแบบและตำแหน่งสถานีให้สอดคล้องกลมกลืนกับอารยสถาปัตย์ของพื้นที่โดยรอบการก่อสร้างโครงการ

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป