07/01/2025

“ เจริญชัย – ERDI-CMU ” เสริมแกร่งอนุรักษ์พลังงานสะอาด มอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ

IMG_6301

“ เจริญชัย – ERDI-CMU ” เสริมแกร่งอนุรักษ์พลังงานสะอาด มอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพพร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า (ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมนวัตกรรมแห่งชาติ NIA)

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ส่งมอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด จัดพิธีส่งมอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยคุณประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด คุณมนัสพงษ์ มั่งไคร้ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรมฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ ห้องประชุมประเสริฐฤกษ์เกรียงไกร ชั้น 4 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์
ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัย ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งผลที่ได้รับจากงานวิจัยในครั้งนี้ ในด้านการอนุรักษ์พลังงาน จากผลการทดสอบหม้อแปลง Low Carbon โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ จะเห็นได้ว่าสามารถลดค่ากำลังไฟฟ้าได้ประมาณ 5-15% ดังนั้นผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า จากการติดตั้งหม้อแปลง Low Carbon ขนาด 630 kVA มีผลการประหยัดเท่ากับ 9.01%

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าว ขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ที่ส่งเสริมการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบ Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ด้วยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) ประโยชน์สูงสุดและเสถียรภาพ พร้อมทำ Net Zero, Near Zero, Peak Demand, Demand Response และประหยัดค่าไฟฟ้า
พร้อมทั้งขอขอบคุณสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ โดยหม้อแปลง IoT (Low Carbon) Platform AI บริหารจัดการพลังงาน Solar กับ Energy Storage ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานในกลุ่มเป้าหมาย ภาคอุตสาหกรรม, โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย, ห้างสรรพสินค้า, โรงเรียน และบ้านเรือน เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคงและเสถียรภาพ อีกทั้งยังลดความสูญเสียพลังงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานและราคาพลังงานในตลาด

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป