23/01/2025

จัดการสัมมนาเรื่อง “ที่ดินของรัฐ : บริหารจัดการใหม่พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย”

IMG_3307

จัดการสัมมนาเรื่อง “ที่ดินของรัฐ : บริหารจัดการใหม่พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย

เมื่อเช้าวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2567ที่ผ่านมา ณ ห้องสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ  สมาคมสินแร่และวัสดุก่อสร้าง นำโดยดร.วิจักษ์ พงษ์เภตรา นายกสมาคม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “ที่ดินของรัฐ : บริหารจัดการใหม่พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย

นาสมคิด เชื้อคง  รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ที่ดินของรัฐ กับข้อจำกัดและโอกาสการพัฒนาในมุมของกฎหมาย โดยสรุปว่า  ประเทศไทยมีที่ดินรวม 320 ล้านไร่  แต่ถ้ารวมทุกโฉนดพบว่ามีที่ดินเกิน 320 ล้านไร่  เพราะมีปัญหาการทับซ้อน  ข้อมูลของแต่ละหน่วยงานไม่ตรงกันงานยากของรัฐบาลคือการลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ที่ดิน  เช่น เอาที่ดินจากกองทัพซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจโอนให้กรมธนารักษ์  แล้วกรมธนารักษ์ให้คนยากจนเช่าทำกินในราคาถูกิน  การพัฒนาที่ดินของรัฐต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์ต้องรักษา  ป่าไม้ต้องอนุรักษ์ต้องดูแลรักษาไว้  การพัฒนาไม่ใช่โค่นป่า  ต้องมีการจัดการที่ดี  การเพิ่มประสิทธิภาพของที่ดิน  เกษตรกรขาดทักษะ  ใช้ที่ดินไม่คุ้มค่า ชาวนาใช้ปุ๋ยหนัก แต่ผลผลิตไม่เพิ่ม

         ที่ดินของรัฐหลายเรื่องทำยาก  ช้าเกือบทุกเรื่อง  ต้องปรับปรุงกฎหมายที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน  ประเทศไทยเจ้าระเบียบ เขียนระเบียบเขียนกติกามากจนทำอะไรไม่ได้  เหมือนทำรั้วเพราะกลัวขโมยจนออกจากบ้านตัวเองไม่ได้  กลัวทุกเรื่องทุกอย่างจนกลายเป็นปัญหา  โลกเปลี่ยนไปเร็วแต่ประเทศไทยเปลี่ยนกฎหมายช้า

         รัฐบาลชุดก่อนต้องการทวงคืนผืนป่า  เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่ไม่ถูกทุกเรื่อง  ใช้กฎหมายคสช.ไปรื้อถอน  วันนี้คดีแห้ไปแล้วกว่า 3 หมื่นคดี  ได้ที่ดินคืนแล้วไม่รู้ว่าจะทำยังไงต่อ  กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินมีเยอะมาก  หากจะแก้ต้องไปในทิศทางเดียวกัน  

         ที่ดินส.ป.ก.ซึ่งกฎหมายให้ทำการเกษตรอย่างเดียวแต่โลกวันนี้เกษตรอย่างเดียวไม่เพียงพอ รัฐได้ผลตอบแทนเป็นภาษีก็น้อย  เราสามารถปรับโครงสร้างส.ป.ก.ได้  ไม่ได้แปลว่าจะยกที่ส.ป.ก.ให้เป็นของเอกชน  แต่แปลว่าถ้าไม่เหมาะกับการเกษตรก็อาจจะเป็นอุตสาหกรรมหรือเพื่อการท่องเที่ยวได้

         คนที่มาร้องทุกข์ที่ทำเนียบรัฐบาล  อันดับแรกคือเรื่อง “ที่ดินทำกิน” แปลว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้  ถ้าจะแก้ได้ต้องบูรณาการจริงๆทุกหน่วยงาน

         ในช่วงของการเสวนาซึ่งดำเนินรายการโดยนายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ บรรณาธิการ The Leader Asia  

ผศ.ดร.กิติชัย รัตนะ อาจารย์ประจำภาควิชาอนุรักษ์วิทยา  คณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า  ที่ดกินของรัฐมองใน3รูปแบบ  1.การคุ้มครองไว้เพื่อเป็นที่ดินของรัฐ  เช่น ที่ป่าไม้  ที่ราชพัสดุ  2.ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ เพื่อการเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม  3.พื้นที่ทับซ้อน  ชุมชนอยู่ในเขตพื้นที่รัฐ ใช้หลักรัฐศาสตร์คู่กับนิติศาสตร์  มีความยืดหยุ่นไม่เหมือนกัน หรือมีความคลุมเครือเรื่องแนวเขต  ต้องใช้One Map เพื่อทำรายละเอียดให้เด่นชัดซึ่งอาจจะมีข้อพิพาทตามมาอีกมาก

         ปัจจุบันมีความไม่ชัดเจนว่าที่ดินส.ป.ก. ทำประโยชน์เพื่อเกษตรได้ดีจริงหรือ  เพราะพบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินส่งผลต่อผลิตภาพต่ำมาก  เกษตรกรไทยติดกับเรื่องต้นทุนการผลิตและหนี้สิน  การเพิ่มมูลค่าใหม่ในที่ดินมีความจำเป็นรัฐบาลกลางต้องจัดสรรแบ่งปันบริหารการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแนวคิดแบบพลิกโฉมโดยอยู่บนความสมดุลและความเป็นธรรม  

         หากจะบริหารจัดการใหม่ ต้องออกกฎหมายใหม่ให้ทันสมัย  ยกเลิกกฎหมายเก่าที่ไม่จำเป็น  ปรับวกระบวนการการทำงาน  ค้นหาพื้นที่ปฏิบัติการที่เป็นเลิศเพื่อนำร่องการปฏิบัติการ  เสนอการนำหนึ่งพื้นที่หลายระบบเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่า  มีระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจและพัฒนาระบบธรรมาภิบาลที่ดิน  การจัดการที่ดินในรูปแบบใหม่ ไม่ทำไม่ได้แล้วเพราะมีเงื่อนไขที่มากระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินของไทยค่อนข้างมาก เช่นภัยพิบัติจากความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก  เรื่องเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมีผลต่อการวางรากฐานของประเทศ

นายชวลิต ชูขจร อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การจะใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องรู้ปัญหา  ที่ดินของรัฐนั้นมี 8 กระทรวง 19 กรม 3 รัฐวิสาหกิจ และกฎหมายอีก 16 ฉบับใช้บังคับอยู่  แต่ละฝ่ายต่างถือกฎหมายคนละฉบับในการทำหน้าที่ของตน  เมื่อมีนโยบาย กฎหมาย และภาษีเข้ามากำกับ  ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าหรือผลผลิต

         ที่ดินส.ป.ก.40ล้านไร่เคยมีนโยบายต้องรักษาไว้เพื่อความมั่นคงของประเทศ  ใช้กฎหมายส.ป.ก.ที่ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน  และเกษตรกรคือผู้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพเกษตร  เกษตรกรจึงไปทำอย่างอื่นไม่ได้และต้องจนอยู่ชั่วชีวิต  แต่ความจริงที่ดินรัฐมีการบุกรุกตลอดมา  รัฐจัดการแบบมีปัญหาดินพอกหางหม

         ต้องยอมรับว่าปัญหามีอยู่จริง  ปัญหาใหญ่คือความไม่เป็นเอกภาพของหน่วยงานราชการ มีการตั้งสคทช.เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียว  ต่สิ่งที่หน่วยงานต่างๆกำลังทำอยู่ไม่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาอะไรได้          

นายสุริยน พัชรครุกานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.)

สคทช.เพิ่งตั้งเมื่อปี 2564 ตอนนี้เพิ่ง3ขวบ  เป็นหน่วยงานเชิงนโยบายที่พยายามแก้ปัญหาที่ดินให้ทุกด้านแต่อาจจะช้าหน่อย  เพราะการมีส่วนร่วมในการทำงานของหน่วยงานต่างๆยังไม่เป็นเอกภาพ  หน้าที่ของสคทช.คือบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้เป็นเอกภาพ  เป็นไปในทิศทางเดียวกัน   ตอนนี้มีCEO One Map เร่งรัดดำเนินการให้จบเพราะมีปัญหาที่ดินทับซ้อนที่ต้องเร่งแก้ไข  One Map จะเสร็จในปี 2568 จะเปิดโอกาสให้ประชาชนโต้แย้งสิทธิ์หรือพิสูจน์สิทธิ์

         การลดลงของพื้นที่ป่าน่ากลัวมากการบุกรุกยังมีต่อเนื่อง  เพราะมาตรการของรัฐบางช่วงแข็งแรง  บางช่วงหย่อนยาน  ที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือคนส่วนน้อย  ที่ดินใช้ประโยชน์ไม่เต็มศักยภาพ  ที่ดินมีศักยภาพมากกว่าทำการเกษตร

ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ สุขสมาน รองคณบดีฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์และพัฒนากายภาพ  คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  การบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ผ่านมามุ่งเน้นไปที่กลุ่มเกษตรกรผู้ยากไร้  ไม่มีที่ทำกิน แต่ปัจจุบันหากมองในด้านผลตอบแทนจากที่ดินคงต้องกลับมาคิดกันใหม่  เช่น ความสมบูรณ์ของดิน  แหล่งน้ำในเขตชลประทาน  โครงสร้างพื้นฐาน  นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องแบกรับความเสี่ยงหลายด้าน  ทั้งผลผลิต โรค ตลาด ราคาผลผลิต  เกษตรกรเป็นกลุ่มที่มีหนี้สินมาก

         ข้อเท็จจริงคือเกษตรกรมีรายได้นอกภาคเกษตรสูงกว่ารายได้จากผลผลิตทางการเกษตรเช่นอาจมีอาชีพประกอบ  ลูกหลานส่งเงินให้ใช้   GDP ภาคเกษตรลดต่ำลง  เกษตรกรมีทุนน้อยลง ประสิทธิภาพภาคการเกษตรของไทยแทบไม่มีเลย  เกษตรกรยุคใหม่อาจใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลงแต่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น

         รัฐบาลต้องเปลี่ยนแนวคิด  ที่ดินที่จะอนุรักษ์ได้ดีที่สุดคือที่ดินของเอกชน  ทำไมไม่ให้TAX CREDIT หรือ CARBON CREDIT แก่เอกชน  ส่งเสริมให้เขาไม่นำที่ดินมาพัฒนาในด้านการเกษตร  แต่ใช้ในเชิงอนุรักษ์  ที่ดินใช้ประโยชน์อื่นๆได้ไหมหากมองประโยชน์สูงสุด  นอกจากการเกษตร เช่นท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม                    

นายพรสิทธิ์ ด่านวนิช  รองนายกสมาคมสินแร่และวัสดุก่อสร้าง  กล่าวว่าตนเองเป็นตัวแทนของภาคเอกชนที่ประสบปัญหาการใช้ที่ดินของรัฐโดยเฉพาะเรื่องที่ดินส.ป.ก.กับการทำเหมืองแร่  ที่ดินส.ป.ก. ทั้งหมด 40 ล้านไร่  สำรวจแล้วมีแร่อยู่ในบริเวณแค่ 4 ล้านไร่  และเอกชนยื่นขอใช้พื้นที่เพียง 3 แสนไร่  จะเกิดประโยชน์ในแง่ค่าภาคหลวง  ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับส.ป.ก. รายได้ส่วนใหญ่ 60% จะตกแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  

         เมื่อมีการทำเหมืองจะเกิดการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่  จะมีกองทุนให้กับชุมชนใกล้เคียง  หลังการทำเหมืองจะมีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับเกษตรกร  

         

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป