24/12/2024

ชุมพร – สาวชุมพรเปิดฮับ ยูนี้ เซ็นเตอร์ ชุมพร รับซื้อน้ำมันพืชเก่าราคาสูง 7เดือนซื้อแล้ว 2,520,000  บาท

IMG_9666

ชุมพร – สาวชุมพรเปิดฮับ ยูนี้ เซ็นเตอร์ ชุมพร รับซื้อน้ำมันพืชเก่าราคาสูง 7เดือนซื้อแล้ว 2,520,000  บาท

ชุมพร     สาวชุมพรรักบ้านเกิด รับซื้อ น้ำมันเก่าสร้างรายได้ ให้กับชุมชนได้และนำไปผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินอีกด้วย

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ได้พูดคุยกับ คุณจันทร์มณี เจียรวงศ์วาณิช(คุณเจิน) อายุ 44 ปี เจียฟาร์ม 100/48 ม.1 ต.ท่ายาง อ.เมือง จ.ชุมพร 86000 โทร.062-642-4291 รับซื้อน้ำมันพืชเก่า มีน้ำมันพืชเก่าอย่าทิ้ง  ไม่ทอดซ้ำไม่ทิ้งท่อ ขายต่อรีไซเคิล ทำน้ำมันเครื่องบิน มีแนวความคิดที่จะนำรายได้คืนสู่ชุมชน เพราะน้ำมันเก่าก็เป็นอีก 1 ปัญหาที่สามารถทำให้เกินน้ำท่วมในทุกปี จากการลอกท่อระบายน้ำก็พบว่ามีการอุดตันของน้ำมันพืชที่เททิ้งลงไปในท่อระบายน้ำเป็นน้ำมันเก่าที่ไม่ใช้แล้วเสียส่วนใหญ่ ได้มีโอกาสจากเพื่อนแนะนำ  ยูนี่ ออยล์ – รับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้ว ทั่วไทยจึงได้เปิดฮับรับซื้อน้ำมันเก่าเป็นแห่งแรกของจังหวัดชุมพร โดยดำเนินมาได้ 7 เดือนแล้วแต่ละเดือนสามารถรับซื้อน้ำมันเก่าได้เดือนละ 15 ตัน    เป็นเงินตันละ 360,000 บาท  7 เดือนที่ผ่านมาก็เป็นเงิน 2,520,000  บาท คิดดูแล้วนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนได้ทิ้งไป และยังมีอีกมากจึงอย่างให้ชุมชนได้เร่งเห็นถึงคุณค่าของน้ำมันเก่าเหล่านี้โดยที่สามารถเก็บมาขายที่เราได้รับซื้อนราคาสูง เริ่มซื้อตั้งแต่ 1 กิโลกรัมขึ้นไปเลย  การที่จะนำน้ำมันมาขายจะต้องกรองกากและไม่มีน้ำประสมมา จะมีสีดำก็สามารถนำมาได้   ขอให้นำบัตรประชาชนติดตัวมาด้วยเพื่อที่จะได้ทำธุระกรรการเงินกับบริษัทฯ

 

คุณ จันทร์มณี เจียรวงศ์วาณิช  กล่าว    รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 24 บาท (ราคาอาจมีการปรับขึ้นลงตามกลไกตลาดน้ำมันพืช) เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมีร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทิ้งน้ำมันที่ใช้แล้วสู่พื้นที่สาธารณะ นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว มาจำหน่าย ฮับ ยูนี้ เซ็นเตอร์ ชุมพร นำไปผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF  ชุมชนใดที่จัดตั้งกลุ่มรวบร่วมน้ำมันเก่าให้เป็นรายได้อีกทางสามารถติดต่อให้ทางเราเข้าไปรับซื้อได้ถึงที่โดยประสามมาทาง คุณเจินโทร.062-642-4291

 

 

จากข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) (oryor.com)

น้ำมันทอดซ้ำ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม  เชื่อว่าอาหารทอดเป็นเมนูโปรดของหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็น ไก่ทอด หมูทอด ลูกชิ้นทอด ทอดมัน กล้วยทอด และปาท่องโก๋ แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารที่ผ่านการทอดจากน้ำมันใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ส่งผลรุนแรงต่อร่างกายจากสารอันตรายที่เกิดขึ้น

น้ำมันทอดซ้ำ หรือน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพ จะมีลักษณะเหนียวข้น สีดำ มีกลิ่นเหม็นหืน มีฟอง และเกิดควันมากขณะทอด เกิดจากการทอดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อน้ำมันถูกทอดซ้ำมาก ๆ ที่ความร้อนสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้เร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมัน ซึ่งการเสื่อมคุณภาพของน้ำมันทอดอาหารทำให้เกิดสารประกอบโพลาร์ (Polar compounds) หรือสารโพลาร์ และสารประกอบโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon; PAHs) ซึ่งในการทอดอาหารซ้ำแต่ละครั้ง สารโพลาร์จะมีประมาณร้อยละ 25 หากมีการใช้น้ำมันนี้ทอดซ้ำอีกครั้งต่อไปสารโพลาร์ก็จะยิ่งมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เกินกว่าร้อยละ 25 หมายความว่าน้ำมันจะยิ่งเสื่อมสภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้น้ำมันที่ใช้ทอดอาหาร หรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย มีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก

อันตราย..จากน้ำมันทอดซ้ำ

– สารโพลาร์ เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

– สารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง

– ผู้ประกอบอาหารทอดที่สูดดมไอระเหยของน้ำมันทอดอาหารเป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด

ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันทอดอาหาร

– หลีกเลี่ยงการซื้อน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว ซึ่งมักนำมาบรรจุถุงพลาสติกวางจำหน่าย

– เลือกซื้อน้ำมันที่มีภาชนะบรรจุที่มีฉลากชัดเจน และมีเลขสารบบอาหาร ต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ผงสีดำ หรือตะกอนขุ่นขาว รวมทั้งภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพปิดผนึก ไม่มีรอยฉีกขาด

– ไม่ใช้น้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ มีฟองมาก เป็นควันง่าย และมีกลิ่นเหม็นไหม้

– ควรซับน้ำบริเวณผิวหน้าอาหารดิบก่อนทอด เพื่อชะลอการเสื่อมคุณภาพของน้ำมัน ควรทอด
อาหารครั้งละไม่มากเกินไป และหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนสูงในการทอด

– ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น หากทอดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมของเกลือหรือเครื่องปรุงรสผสมอยู่ น้ำมันที่ทอดไม่ควรใช้ทอดซ้ำเกิน 2 ครั้ง

– หมั่นกรองอาหารทิ้งระหว่างและหลังการทอดอาหาร

– การใช้น้ำมันเก่าซ้ำแล้วซ้ำอีก และเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไป เป็นการเร่งการเสื่อมสภาพของน้ำมันทำให้เกิดสารโพลาร์สูงขึ้น เป็นอันตราย

ธนากร โกศลเมธี รายงาน 0818923514

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป