22/10/2024

ลำพูน – รองผู้ว่าฯลำพูน ร่วมประชุม กรอ. กลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 ผ่านระบบประชุมออนไลน์

ประชุม กรอ. กลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 ผ่านระบบประชุมออนไลน์ เพื่อรายงานข้อมูลผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย(น้ำท่วม) ในพื้นที่แต่ละจังหวัด พิจารณาข้อเสนอ ขอรับการสนับสนุนในการฟื้นฟูกิจการ ของผู้ประกอบการ

 

เมื่อวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 10:00 นาฬิกา นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ นายโยธิน ประสงค์ความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ(กรอ.) กลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 ครั้งที่ 1/2568 ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ZOOM Meeting เพื่อรายงานข้อมูลผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย(น้ำท่วม) ในพื้นที่แต่ละจังหวัด และพิจารณาข้อเสนอ เพื่อขอรับการสนับสนุนในการฟื้นฟูกิจการ ของผู้ประกอบการ รวมทั้งแนวทางการขอรับความช่วยเหลือเยียวยาในการดำรงชีวิต โดยมีคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดลำพูน ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

สืบเนื่องจากอิทธิพลของ “พายุซูลิก” และหย่อมความกดอากาศต่ำส่งผลให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2567 เป็นต้นมา จังหวัดลำพูนมีผู้ได้รับผลกระทบ 8 อำเภอ(เมืองลำพูน, แม่ทา, บ้านธิ, ป่าซาง, บ้านโฮ่ง, ทุ่งหัวช้าง, ลี้, เวียงหนองล่อง) 40 ตำบล 269 หมู่บ้าน 8 ชุมชน จำนวน 2,749 ครัวเรือน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนบ้านเรือน อาคารร้านค้า สิ่งสาธารณประโยชน์ ตลอดจนพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ประชาชนขาดแคลนสิ่งของอุปโภคบริโภค ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทางจังหวัดลำพูนได้บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นแล้ว

 

สำหรับการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบ จังหวัดลำพูนได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในพื้นที่ โดยได้นำเครื่องสูบน้ำ จำนวน 75 เครื่องเรือผลักดันน้ำ จำนวน 20 ลำ เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 6 เครื่อง เข้าไปสูบน้ำและผลักดันน้ำในพื้นที่ ในลำดับต่อไปหลังสถานการณ์อุทกภัยยุติ จะได้ดำเนินการทำความสะอาดบ้านเรือนประชาชนต่อไป

ในส่วนของสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหาย จะได้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแชมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพให้สามารถคืนสู่สภาพเดิมได้ก็จะดำเนินการสำรวจประเมินออกแบบเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

 

ในการดำเนินการของจังหวัดลำพูน ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ได้มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แต่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง/แจ้งทุกอำเภอ/อปท.เตรียมพร้อมรับสถานการณ์/ติดตามการพยากรณ์อากาศ วิเคราะห์สถานการณ์/แจ้งเตือนภัยประชาชน/เตรียมการรับสถานการณ์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การพร่องน้ำ เปิดประตูระบายน้ำ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ/เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำในระหว่างเกิดภัย ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือ แจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม เครื่องอุปโภคบริโภค โดยทางราชการ อปท., องค์กรภาคเอกชน, ทีมกู้ภัยจากทั่วประเทศ, วัดมหาวัน, เหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน/เหล่ากาชาดกิ่งอำเภอ 8 อำเภอ โดยมีการจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน การจัดตั้งศูนย์พักพิง เพื่อรองรับการอพยพได้ในทุกอำเภอตำบล/หมู่บ้าน

 

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสิ่งของพระราชทาน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์เสด็จเชิญถุงยังชีพพระราชทานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยมอบให้ผู้ประสบภัย จำนวน 500 ชุด ณ ศาลาเอนกประสงค์หน้าวัดอุโมงค์ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี/นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานสำหรับเด็ก จำนวน 100 ถุง..

กรรณิการ์ วิจิตรสกลการ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน