25/11/2024

เชียงใหม่-กิจกรรมวิพากษ์สินค้าผ่านกระบวนการ Focus Group ด้วยกลุ่มนักวิจัยจีน “ศูนย์บ่มเพาะการค้า โลจิสติกส์ และอีคอมเมิร์ซไทย-จีน “

เชียงใหม่-กิจกรรมวิพากษ์สินค้าผ่านกระบวนการ Focus Group ด้วยกลุ่มนักวิจัยจีน “ศูนย์บ่มเพาะการค้า โลจิสติกส์ และอีคอมเมิร์ซไทย-จีน “

 

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2567 ศูนย์ CIC วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ดำเนินโครงการ “การสร้างกลไกสนับสนุนการพัฒนา SMEs ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจระดับภูมิภาคผ่าน “ศูนย์บ่มเพาะการค้า โลจิสติกส์ และอีคอมเมิร์ซไทย-จีน” ได้จัดกิจกรรมนำนักวิจัยชาวจีนจำนวน 45 คน ที่เรียนในหลักสูตร DTM CBEC และ KIM ของวิทยาลัยฯ มาวิพากษ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 4 กลุ่มประกอบด้วย

1) สินค้าจาก Inno Store ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ 2) สินค้างานฝีมือหัตถกรรมของกลุ่ม NOHMEX 3) สินค้าจากกลุ่มบิสคลับ จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือ และ 4) โรงแรมเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม ที่ โรงแรมเชียงใหม่ ออคิด จังหวัดเชียงใหม่

อ.ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่าปัจจุบันประเทศจีนคือคู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทยที่มีการเติบโตทั้งมูลค่าการค้า การลงทุนระหว่างกัน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้กลไกการสร้างความร่วมมือทางการค้า และการลงทุนที่นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมระหว่างกันถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้สินค้าที่มีศักยภาพในตลาดและต้องการเข้าสู่ตลาดจีนได้มีโอกาสนำเสนอข้อมูลให้กับกลุ่มนักวิจัยชาวจีน เพื่อวิเคราะห์ถึงจุดเด่นและแนวทางในการพัฒนาสินค้า ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายชาวจีน รวมถึงแนะนำแผนการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายสู่ตลาดประเทศจีน ภายใต้แนวทางของศูนย์คือ “วิจัยจีน ด้วยคนจีน เพื่อธุรกิจไทย”

 

รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า ปัจจุบันจีนเปิดกว้างให้สินค้าจากต่างประเทศเข้าสู่ตลาดจีนผ่านช่องทาง CBEC ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นกว่าช่องทางการค้าแบบทั่วไป ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรศึกษา ทำความเข้าใจในวิธีการดังกล่าวเพื่อใช้เป็นช่องทางทั้ง เพื่อการทดลองตลาด และการจัดจำหน่ายจริงต่อไป

 

ดังนั้น กิจกรรมในวันนี้ที่จัดขึ้นถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญก่อนการเข้าสู่ตลาดจีน และถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของ “ศูนย์บ่มเพาะการค้า โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ชไทย-จีน”ที่ บพท. มอบหมายให้ศูนย์ CIC ดำเนินการจัดตั้ง เพื่อเป้าหมายการนำพา SMEs ไทยจากทุกภูมิภาคเข้าสู่ตลาดจีนผ่านระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป

นภาพร/เชียงใหม่

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป