13/11/2024

พิจิตรแม่น้ำยมได้ใช้ปตร.ท่าแหบริหารจัดการน้ำช่วยบรรเทาวิกฤตน้ำท่วมวางแผนกักเก็บน้ำใช้หน้าแล้ง

พิจิตรแม่น้ำยมได้ใช้ปตร.ท่าแหบริหารจัดการน้ำช่วยบรรเทาวิกฤตน้ำท่วมวางแผนกักเก็บน้ำใช้หน้าแล้ง
https://youtu.be/0bkpTrKPxPY
      วันที่ 3 กันยายน 2567 นายธนบดี รักสัตย์  ผอ.สนง.ก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 ได้มอบหมายให้ นายธนาธิป แก้วมณี  นายช่างชลประทานอาวุโส หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 พาผู้สื่อข่าวเยี่ยมชมความคืบหน้าของ สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดำเนินการโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าแห ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม จ.พิจิตร งบประมาณการก่อสร้าง 500 ล้านบาท วัตถุประสงค์ของ ปตร.ท่าแห ที่สร้างขึ้นนี้ก็เพื่อกักเก็บน้ำในแม่น้ำยมให้ชาวนาซึ่งมีพื้นที่รับประโยชน์ครอบคลุม 7 ตำบล 2 อำเภอ 2 จังหวัดได้แก่ ตำบลบางระกำ  ตำบลปลักแรด  ตำบลวังอีทก  ตำบลพันเสา  ตำบลบ่อทอง  ตำบลท่านางงาม  อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก , ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จ.พิจิตร ครอบคลุมพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร 81,111 ไร่

                  โดย ประตูระบายน้ำท่าแห จะสามารถกักเก็บน้ำในแม่น้ำยมได้ประมาณ 12.60 ล้านลูกบาศก์เมตร ระยะกักเก็บน้ำ 29.33 กิโลเมตร โดยโครงการดังกล่าวลงมือดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งขณะนี้ผลการดำเนินงานทั้งโครงการคืบหน้าไปแล้ว 92% ซึ่งมั่นใจว่าประตูระบายน้ำท่าแหจะสร้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2567 และจะทำให้พี่น้องเกษตรกรลุ่มน้ำยมมีน้ำทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง
     
                  นายธนาธิป แก้วมณี  นายช่างชลประทานอาวุโส หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 1 กล่าวว่า ในส่วนของช่วงสถานการณ์น้ำหลากเมื่อปลายเดือน ก.ค. – ต้นเดือน ส.ค.67  ได้เกิดน้ำหลากจาะเข้าท่วมทุ่งนาแถบตำบลวังจิก ซึ่งชาวนาจะต้องเร่งเก็บเกี่ยวข้าวให้ได้ก่อนวันแม่ 12 สิงหาคม ปตร.ท่าแหจึงได้ลดการระบายน้ำและผันน้ำจากแม่น้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน จึงทำให้ชาวนาฝั่งขวาของแม่น้ำยมอีกหลายหมู่บ้านได้เก็บเกี่ยวผลผลิตทันตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้ ในส่วนของช่วงฤดูน้ำหลากที่ตอนนี้มีน้ำจาก จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก ไหลบ่ามา ปตร.ท่าแห ก็ได้ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมถึงในอนาคตหลังจากเดือน พ.ย. 67 ถึง พ.ค. 68 ปตร.ท่าแห ก็จะได้กักเก็บน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมตามวัตถุประสงค์ของกรมชลประทานที่มีการสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกักเก็บน้ำแบบขั้นบันไดในแม่น้ำยม เพื่อพี่น้องเกษตรกรดังกล่าวนั่นเอง
สิทธิพจน์/พิจิตร/

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป