15/11/2024

(รายงานพิเศษ ) ชลประทานจังหวัดชัยภูมิ นำมาตรการ 10 ข้อรับมือน้ำหลากหน้าฝน ปี 67

(รายงานพิเศษ ) ชลประทานจังหวัดชัยภูมิ นำมาตรการ 10 ข้อรับมือน้ำหลากหน้าฝน ปี 67

นายนัทธี นุ่มมาก ผู้อำนวยการโครงการชลประทานชัยภูมิ สำนักงานชลประทานที่ 6 เผยว่า จากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ช่วงเดือนกันยายน จะมีอิทธิพลร่องมรสุมพัดผ่านที่จังหวัดชัยภูมิ จะมีปริมาณน้ำฝรเพิ่มขึ้น เบื้องต้นทางจังหวัดชัยภูมิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการรับมือหากมีพายุฝนเข้ามา จะมีการเร่งระบายน้ำที่มีอยู่เดิมเพื่อรองรับปริมาณน้ำใหม่ พร้อมกันนั้นได้มีแนวทางในการเก็บกักน้ำที่มีการพร่องน้ำไป เก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงเดือนกันยายน ใ้หพอใช้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในการใช้น้ำหน้าแล้ง ต่อการอุปโภค บริโภค การผลิตน้ำประปา และน้ำเพื่อการเกษตร

สำหรับ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ทางชฃประทานจังหวัดชัยภูมิได้ดำเนินการดังนี้ คือ

1.คาดการณ์ชี้เป้า และแจ้งเตือน พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงฝนทิ้งช่วง วิเคราะห์ถอดบทเรียนพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและติดตั้งธงสัญลักษณ์เตือนภัยน้ำท่วม
6 จุดใน 3 ลุ่มน้ำสาขาชี-ลำคันฉู-ลำน้ำพรมและลำน้ำเชิญ และ 1 เขตเศรษฐกิจเมืองชัยภูมิ จัดทำแผนที่ One Map และแผนเผชิญเหตุ เพื่อวางแนวทางแก้ไขและป้องกันอุทกภัย แบ่งเป็น 3 พื้นที่ลุ่มน้ำสาขา

2. ทบทวน ปรับปรุง เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำอาคารควบคุมบังคับน้ำ อย่างบูรณาการ ในระบบลุ่มน้ำและกลุ่มลุ่มน้ำ ปรับปรุง Dynamic Operation Rule Curve คาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดย Dynamic Operating Rule 4 อ่างเก็บน้ำ 4 กรณี ได้แก่ 1. เขื่อนจุฬาภรณ์ 2.อ่างเก็บน้ำลำคันฉู 3.อ่างเก็บน้ำบ้านเพชร 4.อ่างเก็บน้ำลำช่อระกา 5. อ่างเก็บน้ำห้วยทราย 6. อ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์บริหารจัดการแบบพลวัต Dynamic Rule Curve อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 5 แห่ง


3. เตรียมความพร้อม ช่วงเครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำโทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยงและศูนย์อพยพให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง เครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 20 เครื่อง, รถบรรทุก 6 ตัน 1 คัน, รถบรรทุก 2 ตัน 1 คัน, รถน้ำ 1 คัน, รถตักหน้าขุดหลัง 1 คัน อาคารชลประทาน 31 แห่ง สถานีสูบน้ำ 4 แห่ง สถานีโทรมาตร จำนวน 5 แห่ง จัดสรรน้ำตามความต้องการใช้น้ำทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม

4. ตรวจสอบพร้อมติดตาม ความมั่นคงปลอดภัยคันกั้นน้ำ ผนังกั้นน้ำ ตรวจสอบสภาพความมั่นคงเขื่อนและอาคารประกอบโดยวิธีตรวจสอบด้วยสายตา เขื่อนขนาดใหญ่ 1 แห่ง เขื่อนขนาดกลาง 10 แห่ง คันคลอง คันกั้นน้ำ 13 แห่ง ความยาว 33.30 กิโลเมตร

5. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของช่องทางน้ำอย่างเป็นระบบ-ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนในชุมชน ช่วยรักษา คลองส่งน้ำ และอาคารบังคับน้ำต่างๆ ขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช และขยะในคูคลอง

6. ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ ตั้งศูนย์เฉพาะกิจประจำ 1 โครงการชลประทาน ซ่อมแซมอาคารชลประทานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยปี 66 ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนปี 67 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ร่วมกับ ปภ. จังหวัด

7. เร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในเหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน ขนาดกลาง 8 แห่ง 131.07 ล้านลูกบาศก์เมตร แก้มลิง 2 แห่ง 28.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
ปตร. 5 แห่ง ฝายยาง 3 แห่ง 9.20 ล้านลูกบาศก์เมตร รวม 168.77 ล้านลูกบาศก์เมตร

8.สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ เสริมส้างความเข้มแข็ง ด้านการบริหารจัดการน้ำของภาคประชาชน, สร้างความรู้ความเข้าใจในการวางแผน การใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่, พัฒนาการมรส่วนร่วมด้านชลประทาน ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน, พัฒนาประสิทธิภาพแหล่งน้ำประชาชน, ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำลงสื่อทุกช่องทางอย่างสม่ำเสมอ

9. การสร้างการรับรู้ ศูนย์บริการข้อมูลสถานการณ์และประชาสัมพันธ์ ติดตั้งธงเตือนภัยน้ำท่วม ในจุดเสี่ยง 22 จุด โดยเปลี่ยนสีธงตามสถานการณ์น้ำปัจจุบัน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์, ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทราบรายวันช่องทาง Line และ Facebook

10. ติดตามประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์และสั่งการ โดยศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC6), ประชุมเพื่อบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ติดตามแผนผลจัดสรรน้ำรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และประเมินผลหลังสิ้นสุดแผนฤดูฝน ปี 67

จึงขอฝากถึงพี่น้องประชาชนที่อยู่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำชี ให้ติดตามข่าวสารทุดช่องทาง พร้อมกับการแจ้งเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวันต่อวัน ซึ่งถ้าหากว่ามีปริมาณน้ำที่มากกว่าปกติทางหน่วยงานชลประทาน และป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จะทำการแจ้งเตือนทุกช่องทางอีกด้วย ผอ.ชลประทานจังหวัดชัยภูมิกล่าวในที่สุด

การเตรียมความพร้อม ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นภัยที่มาจากทางใดก็ตาม แผนรับสถาณการณ์น้ำก็เช่นกัน หากมีการวางผปนที่ดี รับทราบข้อมูล รับทราบปัญหาความเดือดร้อนในห้วงที่ผ่านมา ก็จะทำให้การแก้ปัญหาที่เคยเกิดลุล่วงไปด้วยได้ดี

ทีมข่าวเฉพาะกิจ รายงาน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป