21/09/2024

บึงกาฬ-ประชุมจัดสร้างพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี (Land Man) แห่งใหม่บริเวณฝั่งแม่น้ำโขง

บึงกาฬ-ประชุมจัดสร้างพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี (Land Man) แห่งใหม่บริเวณฝั่งแม่น้ำโขง

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมภูทอก ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ ประชุมคณะกรรมการอำนวยการดำเนินการจัดสร้างพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี โดยนายจุมพฎ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในการประชุม
.
จังหวัดบึงกาฬได้มีคำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษา และคณะกรรมการอำนวยการดำเนินการจัดสร้างพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี โครงการพัฒนาตามผังเมืองรวมเมืองบึงกาฬ โดยมีการออกแบบก่อสร้างจุดหมายตา (Land Man) บริเวณฝั่งแม่น้ำโขง ด้านหน้าเทศบาลเมืองบึงกาฬ ให้เป็นสวนสาธารณะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วยการก่อสร้างประติมากรรมองค์พญานาค ลานวัฒนธรรม อาคารอเนกประสงค์ จุดจำหน่ายสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ได้กำหนดให้มีการจัดสร้างพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี ประดิษฐาน ณ สถานที่ก่อสร้างจุดหมายตา (Land Mark) เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชา ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนชาวจังหวัดบึงกาฬ
.
สำหรับแลนด์มาร์ค(Land Mark) แห่งใหม่จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ 500 ไร่ ถนนข่าวเม่า บึงกาฬ ตามโครงการผังเมืองรวม พัฒนาเมืองให้เมืองน่าอยู่ -กระตุ้นท่องเที่ยว เชื่อมสัมพันธ์สองฝั่งโขงไทย-ลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาจังหวัดบึงกาฬให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ และเป็นแหล่งการค้าการลงทุนที่เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
โครงการดังกล่าว เป็นงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งชนิดเรียงหิน มีความยาว 3,055 เมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ปีงบประมาณ คือ ปีงบประมาณ 2563 ความยาว 1,235 เมตร และปีงบประมาณก่อสร้างต่อเนื่องปี 2564 ความยาว 1,820 เมตร โดยมีองค์ประกอบเป็นทางเท้า ราวกันตก และบ่อพักพร้อมท่อระบายน้ำ ความกว้าง 2.95 เมตร และถนน ค.ส.ล. ผิวจราจรกว้าง 6 เมตร ตลอดแนวสันเขื่อน หน้าเขื่อนเรียงหินใหญ่ตามแนวลาดตลิ่ง 1:2.5 จรดดินเดิม มีบันไดขึ้นลงหน้าเขื่อน จำนวน 4 แห่ง อัฒจันทร์ด้านหน้าเขื่อน ความกว้าง 60 เมตร จำนวน 3 แห่ง และสะพาน 1 แห่ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยป้องกันการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำโขง และรักษาดินแดนและแนวเขตชายแดนของประเทศไทย รวมถึงป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ตามแนวตลิ่งริมแม่น้ำโขง

นอกจากนี้ พื้นที่หลังเขื่อนจะถูกเนรมิตให้เป็น “แลนด์มาร์ค” เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง และเริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ปัจจุบันเริ่มดำเนินการแล้วในปีงบประมาณ 2566-2568 อยู่ขั้นตอนก่อสร้างเฟส2 ก่อสร้างอาคารแสดงสินค้าโอทอป สินค้าเกษตร อัตลักษณ์บึงกาฬ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570 จะมีนักท่องเที่ยวและเช็คอินเพิ่มมากขึ้นจุดพักผ่อนแห่งใหม่ เชื่อมเศรษฐิจในภูมิภาคอินโดจีน รวมถึงเป็นเมืองต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆในการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ต่อไป

ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ ทีมข่าว-รายงาน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป