23/11/2024

แม่ฮ่องสอน-มูลนิธิแพทย์ พอ.สว. จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า ครั้งที่ 22 ในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ

แม่ฮ่องสอน-มูลนิธิแพทย์ พอ.สว. จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า ครั้งที่ 22 ในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ
ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายแพทย์ยุทธ โพธารามิก เลขามูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยมีนายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน คณะแพทย์พยาบาล มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ร่วมจัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
โดยร่วมปล่อยขบวนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) จะออกให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ทรุกันดารในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง สำหรับขบวนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว.ครั้งที่ 22 จะมีการจัดกิจกรรม พอ.สว.เคลื่อนที่ในระหว่างวันที่ 22-27 กรกฏาคม 2567 โดยคณะฯ จะเดินทางไปศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านกองสุม ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง โดยใช้ระยะเวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง ระยะทาง 74 กม. ทั้งนี้คณะแพทย์ พอ สว.จะพักและให้บริการ ที่ศูนย์การเรียนชมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง” บ้านกองสุม
สำหรับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 คณะฯ ให้บริการรักษา บ้านกองสุม ประชากร 253 ราย 48 หลังคาเรือน จนถึงเวลา12.00 น. จากนั้นเดินเท้าไปยังบ้านห้วยเฮียะ ใช้เวลาเดินทาง 2.30 น. ระยะทาง 11 กม ให้บริการและพักแรม ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”บ้านห้วยเฮียะ ประชากร 239 ราย 43 หลังคาเรือน วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 คณะฯ ออกเดินเท้า จากศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”บ้านห้วยเฮียะ ไปยังบ้านเสาหิน ใช้เวลาเดินทาง 4.30 น. ชั่วโมง ระยะทาง 16 กม. พักแรม ที่โรงเรียนบ้านเสาหิน ประชากรบ้านแม่ต๊อบ และ บ้านเสาหินมารับบริการ ประชากร 371 ราย 97 หลังคาเรือน วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 คณะฯ ออกเดินเท้า ไปยังบ้านสล่าเชียงตอง ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที ระยะทาง 3 กม. ให้บริการ และพักแรม ที่โรงเรียนบ้านสล่าเชียงตอง ประชากร 449 ราย 125 หลังคาเรือน และ วันที่ 26 กรกฎาคม 2567คณะ ออกเดินเท้าจากโรงเรียนบ้านบ้านสล่าเชียงตอง ไปปฏิบัติงานที่ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”บ้านแม่แพะ ระยะทาง 10 กม ใช้เวลา 2.30 น.ประชากร 409 ราย 116 หลังคาเรือน ก่อนที่คณะจะเดินทางกลับในวันที 27 กรกฏาคม 2567
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. หรือเพทย์เดินเท้าได้ปฏิบัติงานครั้งแรกที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วย อาสาสมัครที่เป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล อาสาสมัครสมทบ และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขของแต่ละท้องที่เป็นหลัก

ในพื้นที่มีขาวไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่ถึงแม้จะมีถนนเข้าไปถึงหลายพื้นที่แล้วแต่ยังเป็นดินโคลน และบางหมู่บ้านไม่มีถนนมีเฉพาะทางเดินเท้าของชาวบ้านทุกฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูฝนยานพาหนะจะเข้าไปไม่ถึงประชาชนจะขาดการติดต่อจากภายนอกประชาชนมีการ จึงเกิดหน่วยแพทย์เดินเท้าขึ้นโดยได้รับการสนับสนุน อาสาสมัครจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และอาสาสมัครในพื้นที่ร่วมกันปฏิบัติงาน รักษาผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะฤดูฝน
สุกัลยา บัวงาม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป