27/12/2024

บึงกาฬ-พุทธศาสนิกชน’ไทย-ลาว’ ร่วมทำบุญวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา 67

IMG_3845

บึงกาฬ-พุทธศาสนิกชน’ไทย-ลาว’ ร่วมทำบุญวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา 67

20 ก.ค.2567 – ที่ วัดป่าบ้านพันลำ ต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าทั้งชาวไทย และชาว สปป.ลาว ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ เข้าวัดทำบุญตักบาตรอาหาร ข้าวสารอาหารแห้ง ดอกไม้ธูปเทียน แด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร โดยมีพระอาจารย์สมบัติ สมฺปตฺติธารโก เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านพันลำ เป็นประธานสงฆ์ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาแก่ชาวโลก และเป็นวันที่พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก โดยพระโกณฑัญญะเป็นผู้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ก่อนจะพร้อมใจกันทำสมาธิถือศีล 5 ลดละอบายมุข วิสาขะ พุทธบูชา และฟังธรรมเทศนา เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ตลอดจนเพื่อจรรโลงสังคมไทยให้เป็นสังคมที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมอย่างยั่งยืน เกิดความสงบร่มเย็นทั้งต่อตนเองและต่อสังคม

“วันนี้เป็นวันพระใหญ่คือวันที่ 15 ค่ำ เดือน 8 และเป็นวันหยุด หลายครอบครัวพาลูกหลาน ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน คือการทำบุญตักบาตร ถือเป็นโอกาสที่พ่อแม่จะใช้วัฒนธรรม วันสำคัญทางพุทธศาสนา ชวนครอบครัวไปทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการสืบสานประเพณีอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี อันดีงาม ของชาวพุทธ รวมถึงส่งเสริมปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน ลูกหลานเยาวชน นักเรียน นักศึกษา อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม โดยตลอดทั้งวันตามวัดสำคัญต่างๆ ของ จ.บึงกาฬ จะได้ ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา และมีพิธีเวียนเทียนร่วมกันในช่วงค่ำ”

สำหรับวันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งหลักธรรมของพระพุทธศาสนาทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ ล้วนมีอยู่ในพระสูตรนี้วันอาสาฬหบูชา หลักธรรมสำคัญ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา
มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้
บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลง
เพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค
การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน
คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรง
สมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนิน
ชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัค
ค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคง ไม่ฟังซ่าม
ปฐมเทศนา ของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยเนื้อหา หลักธรรม 4 ประการ ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ 4 ประการ ได้แก่

1.ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่ไม่เป็นสุข
2.สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์
3.นิโรธ คือ การดับทุกข์
4.มรรค คือ ทางไปสู่การดับทุกข์
หลักธรรมของอริยสัจจ์ 4 ประการนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นถึงความจริงของชีวิตและหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งเป็นหลักธรรมแสดงถึง “ทางสายกลาง” ที่เป็นหนทางดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
ความหมายของ “วันอาสาฬหบูชา”
คำว่า “อาสาฬหบูชา” มาจากภาษาบาลี ประกอบด้วยคำว่า “อาสาฬห” แปลว่า เดือน 8 และคำว่า “บูชา” แปลว่า การบูชา ดังนั้น วันอาสาฬหบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 8
ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ 0961464326

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป