ชุมพร – ระดมสำรวจขึ้นทะเบียนโค-กระบือในพื้นที่
ชุมพร – ระดมสำรวจขึ้นทะเบียนโค-กระบือในพื้นที่อำเภอชายแดนสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ อำเภอท่าแซะจังหวัดชุมพร
ชุมพร -“สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรเร่งดำเนินงานโครงการระดมสำรวจขึ้นทะเบียนโค-กระบือในพื้นที่อำเภอชายแดนสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ณ อำเภอท่าแซะจังหวัดชุมพร”
วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. ถึง 18.30 น20:50 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร โดย นายเดชา จิตรภิรมย์ ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ นายสัตวแพทย์อิสมาแอล ยุมาดีน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ นางสาวโสมรภัส โปกุล นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร นางภัคธนัช พรมบุญแก้ว นายสัตวแพทย์ชำนาญการ รักษาราชการแทนปศุสัตว์อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรได้บูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ (นางสาวสุภาพิชญ์ คันธาวัฒน์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ นางสาวกาญจนาพวงเสียง เจ้าพนักงาสัตวบาล),ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสุราษฎร์ธานี (นายภูวนาท จำปาทองเจ้าพนักงานสัตวบาลชำนาญงาน นายกิตติชัยทิพเทพ เจ้าพนักงานสัตวบาล) ,กลองสารวัตรและประกันกรมปศุสัตว์(นายสมนึก วัฒน์ปฐมทรัพย์ นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ),ด่านกักกันสัตว์ชุมพร(นายอัษฎาภรณ์ทองโชติ นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ),สำนักงานควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์ กรมปศุสัตว์(นายสัตวแพทย์ธนวิทย์ สีหอำไพ นางสาวธมลวรรณ หลวงตระกูล นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ,หัวหน้าหน่วยเฝ้าระวังจุดตรวจจุดสกัดชายแดนไทย-เมียนมาร์ชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ 4102 กองร้อยตระตระเวนชายแดนที่ 414 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 414 และนายอำนวยชัย ดิพิมาย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในการดำเนินงานตามโครงการระดมสำรวจขึ้นทะเบียนโค-กระบือในพื้นที่อำเภอชายแดนสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ อำเภอท่าแซะจังหวัดชุมพร
ดำเนินการในวันนี้ได้แก่ การติดเบอร์หูพร้อมกับการทำวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคลัมปี สกินในโค-กระบือ ,การลงทะเบียนโคในระบบ AIDM จำนวน 10 ฟาร์ม/ราย จำนวนโคทั้งสิ้นจำนวน 60 ตัว หมู่ที่ 10 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ระบบ AIDM ยังไม่สามารถลงรูปโคในระบบได้ระบบ AIDM ไม่ค่อยเสถียรอาจทำให้เกิดความล่าช้าและในพื้นที่ติดชายแดนไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตจึงต้องนำข้อมูลมาลงระบบในภายหลัง ในช่วงเดือน มิถุนายน-กรกฎาคมเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอาจจะทำให้การติดเบอร์หูไม่เป็นไปตามแผน ในการดำเนินการขณะทำงานจะต้องทำการบันทึกข้อมูล การติดเบอร์หูพร้อมกับการฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันได้แก่วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยและวัคซีนโรคลัมปีสกิน เบอร์หูตัวผู้หักติดกับแผ่นเบอร์ตัวเมียทำให้เสียเวลาในการเอาออก
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514