05/01/2025

อยุธยา – มช.ศึกษาฯ เปิดการประชุม “สพฐ. สัญจร ขอบคุณสหกรณ์ พร้อมให้กำลังใจสถานีแก้หนี้รวมพลังแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ” จุดภาคกลาง ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Snapshot_5_0_0

อยุธยา – มช.ศึกษาฯ เปิดการประชุม “สพฐ. สัญจร ขอบคุณสหกรณ์ พร้อมให้กำลังใจสถานีแก้หนี้รวมพลังแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ” จุดภาคกลาง ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

วันที่ 14 เดือน กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเปิดการประชุม “สพฐ. สัญจร ขอบคุณสหกรณ์ พร้อมให้กำลังใจสถานีแก้หนี้รวมพลังแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ” จุดภาคกลาง ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายประพันธ์ ตรีบุบผา กล่าวต้อนรับ มีนางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดการประชุม โดยมี ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมครั้งนี้

 

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า นโยบายของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ “เรียนดี มีความสุข” ที่เป็นเรื่องของการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และอีกเรื่องคือการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะหากครูมีความทุกข์กับเรื่องหนี้สินก็คงไม่มีความสุขที่จะมาทำงานในด้านการศึกษา ไม่มีกำลังใจในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนของเราเป็นคนดีคนเก่ง เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญ มีแนวคิดคล้ายกันคือต้องการคลายความทุกข์ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาโดย สพฐ.ขับเคลื่อนนโยบายการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษาในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูทั่วประเทศ

 

โดยได้นำนโยบายสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ เพื่อช่วยคลายทุกข์ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ให้ครูมีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ ผอ.สพท.ที่เป็นผู้มีบทบาทหลักทำให้ครูและบุคลากรทุกคนได้รับเงินเดือนเหลือมากกว่า 30% จริง เพื่อการครองชีพที่เหมาะสมและได้กระตุ้นและเน้นย้ำนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯที่ดำเนินการโดยสถานีแก้หนี้ สพฐ.ร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ เช่น ในส่วนการหักเงินเดือนครูฯที่ต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และกรณีครูฯที่เห็นว่าสหกรณ์ไม่ดูแลช่วยเหลือให้มีการหักเงินเดือนหรือเงินบำเหน็จบำนาญเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้ จะมีสถานีแก้หนี้สินครูทั้ง 245 เขตพื้นที่ เป็นตัวแทนเจรจาปรับลดดอกเบี้ย รวมหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งให้ความรู้ในการบริหารจัดการใช้เงินอย่างฉลาด

   

ทั้งนี้ ในส่วนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 มีสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญเหลือไม่เกินร้อยละ 4.75 จำนวน 11 แห่ง และยังมีส่วนที่ทยอยลดดอกเบี้ยต่ำลงอีก 42 แห่ง มีครูฯได้รับการช่วยเหลือ 619,125 คน สำหรับผู้ลงทะเบียนทางระบบแก้หนี้ออนไลน์ของ สพฐ.มียอดรวมสะสม 7,020 คน สามารถแก้ไขได้สำเร็จแล้ว 799 คน มีมูลค่าหนี้ที่แก้ไขได้กว่า 2,397 ล้านบาท

เดชา  อ่นขาว  รายงานจากอยุธยา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป