อบรมเสริมสร้างศักยภาพศึกษานิเทศก์ เพื่อการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
อบรมเสริมสร้างศักยภาพศึกษานิเทศก์ เพื่อการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการป้องกันไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เด็กและเยาวชนได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม
ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานโครงการอบรมเสริมสร้างศักยภาพศึกษานิเทศก์ เพื่อการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการป้องกันไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เด็กและเยาวชนได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน ถือเป็นกลุ่มวัยเสี่ยงสูงที่มีโอกาสเข้าไป เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด เพราะเป็นวัยที่มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง รวมถึงการค้นหาความเป็นตัวเอง การคิดวิเคราะห์ การยับยั้งชั่งใจ การใช้ดุลยพินิจต่าง ๆ ยังไม่เหมาะสม ด้วยเหตุจากพัฒนาการของสมองด้านการบริหารจัดการยังไม่สมบูรณ์ตามวัยเหมือนผู้ใหญ่ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการนำไปสู่การใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในอนาคต
จึงได้จัดทำโครงการการอบรมเสริมสร้างศักยภาพศึกษานิเทศก์ การใช้สื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์สังกัด สพป. จำนวน 183 เขต รวม 183 คน เข้าร่วม ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การดำเนินงานตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม การคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน/กลุ่มเสพ/ติด การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด (เหล้า/บุหรี่) ให้สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งได้ดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการป้องกันไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เด็กและเยาวชนได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน ถือเป็นกลุ่มวัยเสี่ยงสูงที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด เพราะเป็นวัยที่มีความอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง รวมถึงการค้นหาความเป็นตัวเอง การคิดวิเคราะห์ การยับยั้งชั่งใจ การใช้ดุลยพินิจต่าง ๆ ยังไม่เหมาะสม ด้วยเหตุจากพัฒนาการของสมองด้านการบริหารจัดการยังไม่สมบูรณ์ตามวัยเหมือนผู้ใหญ่ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการนำไปสู่การใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในอนาคต สพฐ. โดยศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย (ศสป.สพฐ.) จึงได้จัดทำโครงการอบรมเสริมสร้างศักยภาพศึกษานิเทศก์ การใช้สื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ในครั้งนี้
โอกาสนี้ ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ ได้พบปะและมอบนโยบายแก่ผู้เข้าอบรม ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเกิดจากการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการค้ายาเสพติด โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดต่อ ซื้อขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดขยายวงกว้างไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน สพฐ. ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของโลก ในการส่งเสริมการเรียนรู้ จึงได้ดำเนินนโยบายการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยการนำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาทักษะสมอง (Executive Functions : EF) มาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัย เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นช่วงอายุที่มีพัฒนาการทางด้านสมองให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสมองเป็นส่วนสำคัญในการสั่งการให้ร่างกายตอบสนองต่อพัฒนาการทุกด้าน ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่าการทำงานของทักษะสมองมีความสัมพันธ์กับการติดยาเสพติด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้ดีตั้งแต่ปฐมวัย โอกาสในการติดยาเสพติดเมื่อโตขึ้นจะน้อยลง เนื่องด้วยช่วงอายุแรกเกิดถึง 6 ปี ถือเป็นช่วงวัยที่สำคัญในการพัฒนาทักษะสมอง EF ถือเป็นการวางรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม การจัดอบรมในครั้งนี้จึงถือว่าเป็นประโยชน์กับศึกษานิเทศก์และการพัฒนาการศึกษาในภาพรวมอย่างดียิ่ง ทั้งนี้ ภายในการอบรมมีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ การบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. บรรยายเรื่อง “นโยบายการขับเคลื่อน และแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามมติ ครม.” และนายพีระ รัตนวิจิตร อดีตรองเลขาธิการ กพฐ. บรรยายเรื่อง “ความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Functions : EF)” กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางสมอง การลงมือปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการลงมือปฏิบัติและการสาธิต กิจกรรมจัดประสบการณ์ 6 โอกาส กิจกรรมการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการวางแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้สู่การปฏิบัติในพื้นที่ เป็นต้น
สุกัลยา บัวงาม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน