15/11/2024

เปิดโลกทัศน์การบริหารจัดการครบวงจกำจัดกากอุตสาหกรรมนำไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์

เปิดโลกทัศน์การบริหารจัดการครบวงจกำจัดกากอุตสาหกรรมนำไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์

พรสิทธิ์ ด่านวนิชกรรมการสมาคมสินแร่และวัสดุก่อสร้างเนื่องด้วยที่ผ่านมาโลกได้ใช้ทรัพยากรไปอย่างสิ้นเปลือง ทำให้เกิดการเสียสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เศรษฐกิจและสังคมเกิดความเหลื่อมล้ำขยายกว้างมากขึ้น ภาครัฐจึงควรนำโมเดลธุรกิจใหม่แบบพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model (Bio Economy : เศรษฐกิจชีวภาพ, Circular Economy : เศรษฐกิจหมุนเวียน, Green Economy : เศรษฐ กิจสีเขียว) มาปรับใช้

         ปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย ยังเผชิญข้อเสียอุตสาหกรรมที่ยังต้องมีการบริหารจัดการอย่างเข้มงวด ถึงแม้ภาครัฐมีกฎหมายและมาตรการการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ในการกำกับดูแลอยูแล้     แต่ก็ยังไม่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างเป็นระบบด้วยเหตุปัจจัยหลายๆอย่าง

         นายพรสิทธิ์ ด่านวนิช กรรมการสมาคมสินแร่และวัสดุก่อสร้าง ได้ระดมแนวคิดนักวิชาการเพื่อการแก้ไขอุปสรรคกากอุตสาหกรรมที่โลกกำลังเผชิญในปัจจุบันให้นำไปสู่ตัวแบบบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมกับการนำไปใช้ประโยชน์ใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาอย่างยั่งยืน และขยายขอบแขตกิจกรรม โดยมีกรอบแนวคิดของนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้

         1.บูรณาการเทคโนโลยี  จัดตั้งระบบตัวแบบดิจิตัล ระบบ Cloud ติดตามกากอุตสาหกรรมและการผลิต

หมุนเวียนไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยใช้ระบบในมือถือส่วนบุคคลและWEB สามารถติดตามตรวจสอบได้ทันเวลา  

         2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริหารกากอุตสาหกรรมและผลิตหมุนเวียนนำไปใช้ใหมภาครัฐควรประสานงานผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ จัดตั้งโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมแลการผลิตหมุนเวียน นำไปใช้ใหม่

         3.การร่วมทุนภาครัฐและเอกชน เทคโนโลยีการผลิตกากอุตสาหกรรมนำไปใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมต่างๆ    แตกต่างกันแต่ละอุตสาหกรรม รัฐควรกระตุ้นความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐในการบูรณาการความรู้

         4.การมีส่วนร่วมของชุมชน ความสำเร็จยุทธศาสตร์ตัวแบบการกำจัดของเสียการผลิตของอุตสาหกรรม นำไปผลิตวัตถุดิบใช้ใหม่ในขนาดการผลิตระดับต่างๆ ส่วนใหญ่จะต้องร่วมมือกันอย่างดี ภาคเอกชนและภาครัฐ ภาครัฐควรให้ความรู้ประชาชนและผู้ประกอบการ

         5.จัดการของเสียอุตสาหกรรม แรงจูงใจในด้านเศรษฐกิจภาครัฐควรมีผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในด้านภาษีในการลงทุน และสร้างระบบการผลิหมุนเวียนจากของเสียอุตสาหกรรม สร้างระบบการตลาดในการซื้อวัตถุดิบจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม

         6.ระบบติดตามและประเมินผล ควรมีหน่วยงานอิสระของภาครัฐติดตามและประเมินผลระบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และระบบการผลิตหมุนเวียนของเสียอุตสาหกรรมมาเป็นวัตถุดิบใช้ใหม่

         7.ความร่วมมือในระดับนานาชาติ  ควรมีการร่วมมือในระดับภาคธุรกิจและภาครัฐในประเทศพัฒนาต่างๆ ในการนำเทคโนโลยีและกระเบียบสากลในระดับนานาชาติมาปรับใช้ในประเทศไทย

         8.หน่วยงานกลางอิสระในการวางแผนการนำไปปฏิบัติ ภาครัฐควรจัดตั้งองค์กรกลางระดับชาติเป็นศูนย์กลาง มีอำนาจการบริหารจัดการโดยกฏหมายรองรับ ประสานออกนโยบายต่างๆต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีการติดตามประเมินผล ติดตามแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และประสานกับหน่วยของภาครัฐของกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

         กล่าวโดยสรุป  การเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคม ศึกษาเรียนรู้ความสำเร็จจากต่างประเทศ โดยเฉพาะแนวคิดของนักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่นำเสนอเป็นวงจร9 ประการ นำมาพินิจพิเคราะห์ปรับใช้ในประเทศไทย  ย่อมเกิดประโยชน์อย่างแน่นอน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป