04/07/2024

  ชุมพร –  นายกอัศดากร ฉิมมณี แก้ไขด่วนพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ แหล่งเก็บกักน้ำ อย่างยั่งยืน ที่ ตำบลนาขา

ชุมพร –  นายกอัศดากร ฉิมมณี แก้ไขด่วนพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ แหล่งเก็บกักน้ำ อย่างยั่งยืน ที่ ตำบลนาขา

ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514

ชุมพร – นายอัศดากร ฉิมมณี นายก อบต.นาขา  พร้อมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับคณะทำงานแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ ตำบลนาขา อย่างยั่งยืน  ชลประทาน ชพ.เริ่มเข้าดำเนินการ    ซ่อมประตูน้ำ ขุดลอกใหม่ สร้างฝายดักตะกอนทราย ตามนโยบายท่านผู้ว่าราชการฯจังหวัดชุมพร

 

วันที่ 30 มิถุนายน  2567   นายอัศดากร ฉิมมณี นายก อบต.นาขา  พร้อมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับคณะทำงานแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ ตำบลนาขา อย่างยั่งยืน  ชลประทาน ชพ.เริ่มเข้าดำเนินการ    ซ่อมประตูน้ำ ขุดลอกใหม่ สร้างฝายดักตะกอนทราย

ตามนโยบายท่านผู้ว่าราชการฯจังหวัดชุมพร โดย เครื่องจักร ชลประธานเข้าดำเนินการ  ตามนโยบายของท่านผู้ว่าจากการ แก้ไขแล้ง น้ำท่วม เพื่อเก็บน้ำไว้ได้มากๆรอรับน้ำที่จะมา

นายอัศดากร ฉิมมณี  กล่าวว่า พื้นที่ อบต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพรเราเป็นจุดกึ่งกลางที่ประสบปัญหาและส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ประกอบกับปัจจุบันได้มีการลงทุนก่อสร้าง “ล้งทุเรียน” ของนักลงทุนทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาลงทุน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนนำไปสู่ปัญญาใน 3 เรื่อง คือ 1.ปัญหาจาดน้ำหลากท่วมพื้นที่ในฤดูฝน และได้สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่และข้างเคียง 2.ปัญหาภัยแล้ง ทั้งภาวะการขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และ 3. น้ำเสีย ที่เกิดจากผู้ประกอบการ ล้งทุเรียน ที่มีการใช้สารเคมีในการล้าง-แช่ผลทุเรียน และปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง ในพื้นที่ จนเกิดภาวะน้ำเสียในแม่น้ำลำคลองของชุมชนหลายสาย สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ที่มีการขยายตัวเป็นวงกว้าง  หน่วยงานที่เข้าประชุมร่วมหารือที่ผ่านมา  ต้องรีบลงพื้นที่ออกแบบให้แล้วเสร็จตามคำสั่งของท่านผู้ว่าฯ เพื่อของบประมาณที่รอรับโครงการต่อไป   เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่วันนี้  ได้ 3 โครงการจะลงมือสร้างก่อนเร็วๆนี้ก่อนประชุมครั้งต่อไป

นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผวจ.ชุมพร กล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่ อบต.นาขา และพื้นที่ข้างเคียงที่ล้อมรอบ เช่น ต.ตะโก ต.วังตะกอ ต.แหลมทราย และ ต.บางน้ำจืด มีปัญหาที่จะต้องร่วมกันแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยให้ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น ชลประทาน เจ้าท่า โยธาธิการและผังเมืองชุมพร อบจ.ชุมพร ป่าไม้ สปก. ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและอีกหลายหน่วยงานจะต้องมาระดมสมองช่วยกันวางแผนแก้ไขอย่างเป็นระบบ จะให้ อบต.พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งแก้ไขหาทางออกอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดที่มีหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่มาเกี่ยวข้อง ประกอบกับเมืองได้มีการขยายตัว ดังนั้นปัญหาหากปล่อยทิ้งไว้หรือให้แก้เฉพาะส่วนเฉพาะพื้นที่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นการที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันบูรนาการช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางออก อันจะช่วยทลายข้อจำกัด ก็จะช่วยทำให้การแก้ไขปัญหาสามารถได้รับการแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วขึ้น

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป