22/01/2025

รายแรกของประเทศไทย CFP “หม้อแปลงเจริญชัย” ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO

IMG_1975

รายแรกของประเทศไทย CFP “หม้อแปลงเจริญชัย”
ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าว “ เจริญชัย ” ขอขอบคุณองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ที่ได้มอบประกาศนียบัตร การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) ของ Oil-type transformer 1000 KVA. “ เจริญชัย ” พร้อมให้ความสำคัญต่อกระบวนการผลิตและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน ผ่านกระบวนการทำงานที่พัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานที่ได้มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์หรือองค์กร เพื่อนำไปสู่การจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมคาร์บอนต่ำถือเป็นการตอบโจทย์ภาครัฐด้านการอนุรักษ์พลังงาน และทั้งทิศทางความต้องการของกระแสโลกที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs) ในการยกระดับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน มุ่งสู่การอนุรักษ์พลังงาน
บริษัทฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิตที่จะเติบโตมากขึ้นในอนาคต คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ทั้งยังช่วยให้องค์กรเห็นภาพรวมของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนในด้านพลังงาน ทรัพยากร และวัสดุอีกด้วย
“เจริญชัย” ได้ร่วมคิดค้นนวัตกรรม หม้อแปลงรางวัลนวัตกรรม พิสูจน์จริงลดค่าไฟฟ้า 8-11% ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ที่กล่าวในข้างต้นตอบโจทย์ภาครัฐ, ภาคเอกชนและ โรงงานอุตสาหกรรมด้านการประหยัดพลังงาน Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response และการประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา ๒ – ๕ ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงด้านพลังงาน

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป