กาฬสินธุ์-ชาวตำบลหลุบ-เชียงเครือจัดขบวนแห่บุญบั้งไฟสืบสานประเพณีอีสาน
ประชาชนชาวตำบลหลุบและตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ด้าน “ส.ส.วิรัช พิมพะนิตย์” กาฬสินธุ์เขต 1 ชื่นชมและขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่สืบไป
ที่วัดวัดโพธิ์ชัยหลุบใน ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาพสินธุ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 เป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2567 ของชาวตำบลหลุบ ซึ่งสภาวัฒนธรรมตำบลหลุบร่วมกับเทศบาลตำบลหลุบ และคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนทั้ง 16 หมู่บ้าน และประชาชนร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่ ให้ลูกหลานได้รู้จักและสืบทอดกันตลอดไป นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมความสามัคคีให้กับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ศิลปะ ประเพณีของชาวอีสานให้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ส่งเสริมและสนับสนุนให้อนุชนคนรุ่นหลังเข้าใจในบุญประเพณีบั้งไฟของชาวอีสาน
ทั้งนี้กิจกรรมมีขบวนแห่มบั้งไฟสวยงาม โดยมีนายณัฐวัชต์ พิมพะนิตย์ หรือ สจ.เบ๊นซ์ รองประธานสภา อบจ.กาฬสินธุ์ และส.จ.เขต อ.เมืองกาฬสินธุ์ นายไก่ทอง ไกรมงคล นายกเทศมนตรีตำบลหลุบ นายภักดี ภูมีแหลม ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลหลุบ นายสงวน ดอนสินพูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโนนสว่าง พร้อมด้วยส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ตัวแทนนายกอบจ.กาฬสินธุ์ และประชาชนร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
นอกจากนี้นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 ยังได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดงานประเพณีบุญบั้งไฟตำบลเชียงเครือ ประจำปี 2567 ซึ่งเทศบาลตำบลเชียงเครือนร่วมกับทุกภาคส่วน และประชาชนจัดขึ้น เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน โดยมีนายชิต เฉิดเจือ นายกเทศมนตรีตำบลเชียงเครือ ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมกันกิจกรรมกันจำนวนมาก
นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 กล่าวว่า ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณี โบราณของชาวไทยในภาคอีสาน ที่มีการสืบทอดกันมา และยึดมั่นอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีกันมาตั้งแต่อดีตกาล โดยจะเน้นการสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวอีสาน และเป็นงานบุญประเพณีที่มีการละเล่นแสดงออกถึงความสนุกสนาน ซึ่งการจัดงานทั้งสองงานทั้งตำบลหลุบ และตำบลเชียงเครือนอกจาก จะเป็นการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่ ให้ลูกหลานได้รู้จักและสืบทอดกันตลอดไปแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงด้วย ซึ่งต้องขอชื่นชมและขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันสืบสานประเพณีนี้อันดีงามนี้ไว้