26/12/2024

เชียงใหม่-พิธีลงนามMOU เพื่อการพัฒนาแพลต ฟอร์มรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันในเมืองเชียงใหม่ 

S__87318611
เชียงใหม่-พิธีลงนามMOU เพื่อการพัฒนาแพลต ฟอร์มรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันในเมืองเชียงใหม่ 
https://youtu.be/DvYE1JwoWNo
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 14.00 น.พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อการพัฒนาแพลตฟอร์มรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันในเมืองเชียงใหม่ ระหว่างกลุ่มงานจราจรตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ สมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน)  และ บริษัท โทย่า ดิจิตอล (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของประเทศไทย โดยเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นการขนส่งดิจิทัล
โดยมี พันตำรวจเอกเจน โสภา  ผู้กำกับการกลุ่มงานจราจร ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ นายไพศาล สุขเจริญ นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ ( ตอนบน )  Mr Lei Bo CEO Toyar Digital Thailand Co;Ltd ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  พร้อมด้วย
พันตำรวจเอก ไพศาล นันตา รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ และคุณณัฏฐ์สิตา ศรีมนัส บริษัท โทย่า ดิจิตอล (ไทยแลนด์) จำกัด และผู้มีเกียรติ ที่โรงแรม สมายล์ ล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
นายไพศาล สุขเจริญ นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ(ตอนบน) กล่าวว่า สมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ(ตอนบน)ตระหนักถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมาโดยตลอด ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเศษอาหารที่เหลือจากโรงแรมในสมาชิกสมาคมฯ ส่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำไปผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร เพื่อนำไปใช้สำหรับรถยนต์ต่างๆที่อยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อีกทั้งเพื่อจัดการกับปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นและส่งเสริมการขนส่งสาธารณะในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับโซลูชั่นการขนส่งที่เป็นนวัตกรรมและยั่งยืน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงทางเลือกการขนส่งสาธารณะ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนเชียงใหม่ โดยร่วมมือกับบริษัท โทย่า ดิจิตอล (ไทยแลนด์) จำกัด
เพื่อพัฒนา ปรับใช้ ดำเนินการ และจัดการบริการแพลตฟอร์มรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นสาธารณะซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการขนส่งสาธารณะ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวกและรวดเร็ว ถูกต้องตามกฏหมายจราจรของจังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งบริษัท โทย่าฯ จะมีการนำร่องใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบ sharing
เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 2,000 คัน และใช้โดยรอบตัวเมืองเชียงใหม่ 3,000 คัน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวรู้จักทดลองใช้ก่อนคิดอัตราค่าเช่า คาดว่าจะทำการทดลองใช้ประมาณสองเดือนเป็นสิ่งที่ดีคิดว่าเป็นการตอบโจทย์คนเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวที่มาเชียงใหม่จะได้สะดวกในการเดินทางมากขึ้น
คุณณัฏฐ์สิตา ศรีมนัส  ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัทโทย่า ดิจิตอล(ไทยแลนด์)จำกัด  กล่าวว่า  ปัจจุบันเชียงใหม่เผชิญกับความท้าทายที่สำคัญทางด้านมลพิษทางอากาศ สาเหตุข้อหนึ่งมาจากการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง อันเป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นควันในอากาศ บริษัทโทย่า ดิจิตอล(ไทยแลนด์)จำกัด ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดโครงการนำร่องเกี่ยวกับแพลตฟอร์มรถจักรยานไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งมีส่วนแก้ไขปัญหานี้ได้โดยตรง โดยโครงการดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมและลดการพึ่งพาการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัวที่ขับเคลื่อนได้น้ำมันเชื้อเพลิง
เป้าหมายของบริษัทคือ การมอบทางเลือกของการขนส่งสาธารณะที่สะดวกสบายและราคายุติธรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางได้ดีเป็นอย่างมาก และนอกเหนือจากความสะดวกสบายแล้วนั้นยังเป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมที่ทำให้เมืองเชียงใหม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แพลตฟอร์มของทางบริษัทมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐโดยการลดมลพิษทางอากาศ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและเป็นมิตรต่อโลก
โดยโครงการของบริษัทจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลที่ล้ำสมัย อย่างแพลตฟอร์มดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรม ด้วยการบูรณาการระบบบริหารจัดการการขนส่งขั้นสูง บริษัทมุ่งหวังที่จะลดความแออัดยานพาหนะบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการด้วยระบบมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าสาธารณะ บนข้อมูลแบบเรียวไทม์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวกและมีความสนุกสนานยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ(ตอนบน)จะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลการบริการที่สะดวก รวดเร็วและให้การเข้าพักในจังหวัดเชียงใหม่เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำและน่าพึงพอใจ
นายเจตนิพัทธ์ อรรถปรียางกูร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริษัทโทย่าดิจิตอลไทยแลนด์ ในนามของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Welo กล่าวว่า บริษัท โทย่าดิจิตอล ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท Toyar Digital PTE Singapore จุดประสงค์หลักของบริษัท คือแผนการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและตัวเลือกการขนส่งสาธารณะรายบุคคล สิ่งที่เรานำเสนอให้กับจังหวัดเชียงใหม่แพลตฟอร์มจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Sharing ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data
สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศไทยประชากรรวมในเขตเมือง 1.5 ล้านคน นักท่องเที่ยวเฉลี่ยในปี 2023 มากกว่า 9 ล้านคนและการขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ปัจจุบันประกอบด้วย รถบัส, สองแถว, ตุ๊กตุ๊ก, และมอเตอร์ไซต์รับจ้างรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล ซึ่งมีบทบาทหลักในการเดินทางประจำวัน โดยมีอัตราการใช้ระบบขนส่งสาธารณะต่ำกว่า3.67% เท่านั้น
การแนะนำแพลตฟอร์ม มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบ Sharing ตัวเลือกการขนส่งที่ยั่งยืนด้วยการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ การขนส่งที่ยืดหยุ่นและ เชื่อมโยงช่องว่างในการเดินทางในเมืองเชียงใหม่ วิธีที่สะดวกและสนุกสนานสำหรับนักท่องเที่ยวในการสำรวจเมือง การผสานแพลตฟอร์มมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ใช้แอปเข้าสู่ระบบขนส่งของเชียงใหม่ สนับสนุนเป้าหมายของเมืองในการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ เติมเต็มช่องว่างในระบบขนส่งปัจจุบัน ส่งเสริมความยั่งยืน เพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาเมือง ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ สามารถลดมลพิษทางเสียงและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ
การบริหารจัดการการจราจร การจัดการที่จอดที่ได้รับการกำหนดะ รถจะต้องทำการจอดไว้ในจุดจอดรถที่วางแผนไว้เท่านั้น โดยรถที่จอดนอกจุดจอดจะทำการส่งเสียงเตือนผู้ใช้งานให้นำไปจอดในจุดจอดของบริษัทฯ การกำหนดพื้นที่ห้ามเข้า: รถจะส่งเสียงเตือนและลดความเร็วโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าสู่พื้นที่ที่ถูกจำกัดความเร็วอาทิเช่น โรงเรียน ศูนย์ราชการ
Smart Helmet หมวกกันน็อคอัจฉริยะ ยานพาหนะจะมีหมวกกันน้อคพ่วงเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้สวมเพื่อ ป้องกันอุบัติเหตุ
Analysis and Statistics of Driving Behavior การวิเคราะห์และเก็บสถิติพฤติกรรมการขับขี่เพื่อเสริมสร้างการปรับปรุงความปลอดภัยในการจราจร Overload Alert การแจ้งเตือนหากรถบรรทุกน้ำหนักเกินเพื่อการบริหารจัดการในการดำเนินงาน Data Security การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ในประเทศไทย เพื่ออำนวยต่อระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยของข้อมูลในประเทศไทย
ศูนย์กลางการชาร์จแบตเตอรี่และซ่อมบำรุง (Centralized battery charging & repairing Center) ตั้งอยู่บนถนน มหิดล ขาเข้า แยกเซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต ทางบริษัทโทย่า ดิจิตอล ไทยแลนด์ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน เพื่อที่จะพัฒนาระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งาน
นภาพร/เชียงใหม่

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป