26/12/2024

ประจวบคีรีขันธ์-เต่าทะเลวางไข่ลดน้อยลงหลังบริษัทฯนำแร่กองใกล้ริมหาดอุตสาหกรรมฯโยนศุลฯแจ้งนำเข้าเป็นแร่ไม่สะอาด

IMG_9547

ประจวบคีรีขันธ์-เต่าทะเลวางไข่ลดน้อยลงหลังบริษัทฯนำแร่กองใกล้ริมหาดอุตสาหกรรมฯโยนศุลฯแจ้งนำเข้าเป็นแร่ไม่สะอาด

25 พ.ค.67 จากกรณีชาวบ้านในพื้นที่ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ ร้องผ่านสื่อวอนบริษัทแร่ชี้แจงหลังนำแร่ไม่ทราบชนิดขนถ่ายจากเรือสินค้าขึ้นจากท่าเทียบเรือของบริษัทท่าเรือประจวบฯ อ.บางสะพาน นำมากองไว้บริเวณริมถนนสาธรณะประโยชน์เขตพื้นที่ อบต.แม่รำพึง ชาวบ้านกังวลผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลังประสานภาครัฐตรวจแต่ไร้คำชี้แจง ก่อนร้องผ่านสื่อจนกลายเป็นกระแสข่าวในโซเชี่ยลไปเมื่อวันที่ 7 พ.ค.67ที่ผ่านมานั้น

ล่าสุดนายอำพัน เรือนจันทร์ อายุ 68 ปี (หรือลุงติ๊ก) ตัวแทนชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งแม่รำพึง นำทีมงานลงดูพื้นที่ซึ่งเป็นจุดที่เต่าทะเลสัตว์คุ้มครองขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดบ้านอ่าวเทียน ห่างจากจุดกองแร่บริเวณท่าเทียบเรือประมาณ 100 กว่าเมตร โดยลุงติ๊กเล่าว่า ก่อนหน้าพื้นที่ริมชายหาดบริเวณนี้มักจะพบเห็นเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เป็นประจำหลายตัว เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังมีความสมบูรณ์ แต่ระยะหลังเต่าทะเลขึ้นวางไข่ลดน้อยลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังมีการนำแร่หลายชนิดขนถ่ายจากท่าเทียบเรือนำมากองไว้บริเวณริมถนนสาธารณะ ซึ่งห่างจากชายหาดที่พบการวางไข่ของเต่าทะเลไม่ไกลมากนัก โดยลุงติ๊กเล่าต่อไปว่า พื้นที่ริมชายหาดในบริเวณนี้ยังมีความสมบูรณ์และเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำนาๆชนิด โดยเฉพาะเป็นแหล่งวางไข่ของเตาทะเลซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองที่บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว ชาวบ้านเคยแจ้งให้หน่วยงานทราบ ก่อนจะมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯพื้นที่พร้อมชาวบ้านช่วยกันนำแผงเหล็กทำเป็นกรงกั้นบริเวณที่เตาทะเลกำลังวางไข่เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยทรายนำลูกเตาทะเลที่ฟักแล้วออกมากัดเล่น ขณะที่แม่เต่าทะเลบางตัววางไข่เสร็จแล้วชาวบ้านได้มีโอกาสถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกก่อนจะกลับลงทะเล และเมื่อครบรอบปีเต่าทะเลก็จะกลับขึ้นมาในพื้นที่บริเวณนี้ เพื่อวางไข่ชุดต่อไปหมุนเวียนตลอดหลายปีที่ผ่านมา ระยะหลังเตาทะเลขึ้นมาวางไข่ถอยห่างจากพื้นที่เดิมและเริ่มมีจำนวนลดน้อยลงโดยไม่ทราบสาเหตุ  หลังมีการนำแร่จำนวนมากมากองไว้ริมถนนใกล้ชายหาดเพื่อรอการขนย้าย และเมื่อมีฝนตกน้ำฝนก็จะชะล้างผงฝุ่นและเศษแร่ไหลลงทะเล บางส่วนก็ไหลลงร่องน้ำคูคลองธรรมชาติ เนื่องจากหลังการขนย้ายยังคงหลงเหลือคาบพื้นผิวและเศษแร่ทิ้งไว้ ชาวบ้านจึงเป็นกังวล หากแร่ที่นำมากองมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมลภาวะทางอากาศต่อการดำเนินชีวิตในสังคมโดยรวมจะทำอย่างไร และหลายครั้งชาวบ้านเคยสอบถามหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ชี้แจ้งเป็นเอกสารว่าแร่ที่นำเข้าจากต่างประเทศที่ประกาศติดไว้ข้างทางเป็นบางครั้งมีผลมลพิษหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด

ด้านนายสมบัติ หลิมสกุล ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่า มีชาวบ้านอีกหลายคนที่เป็นห่วงปัญหาผลกระทบชุมชนในเรื่องนี้มาก เนื่องจากเคยสอบถามไปยังหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ ถึงกระบวนการและขั้นตอนการให้อนุญาตนำเข้าแร่มีการตรวจสอบถูกต้องตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ เนื่องจากอุตสาหกรรมจังหวัดฯเป็นหน่วยงานตรงในการควบคุมกำหนดชนิดแร่ที่จะนำเข้าในราชอาณาจักร ทราบว่าแร่ชุดนี้นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นระยะ ร่วมทั้งการขนย้ายนั้นกำหนดขนาดและประเภทของน้ำหนักหรือไม่ หากบริษัทหรือหน่วยงานให้อนุญาตนำเข้าแร่จากต่างประเทศส่งโรงงานผลิตไม่ชี้แจงให้ชาวบ้านทราบว่าแร่ที่นำมากองไว้เพื่อรอการขนย้ายนั้นเป็นแร่ประเภทใด จะมีผลกระทบต่อชุมชนมากน้อยแค่ไหน และหากกระบวนการขนย้ายไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกติกาข้อตกลงระหว่างบริษัทแร่กับบริษัทผู้รับเหมา หรือหากเจ้าหน้าที่บางรายปล่อยปะละเลยการตรวจสอบการนำวัสดุคุมแร่บริเวณหลังรถบรรทุกก่อนปล่อยรถออกไป อาจส่งผลกระทบต่อการสัญจรบนท้องถนนหรือไม่ โดยนายสมบัติเล่าต่อไปว่า ขณะที่ชาวบ้านช่วยกันตรวจสอบขบวนรถบันทุกขนแร่ออกจากจุดพักแร่บริเวณท่าเทียบเรือประจวบฯ ไปตามเส้นทางถนนสาธารณะประโยชน์ทางหลวงชนบทเข้าเขตชุมชนนั้น ยังพบว่าบริษัทรับเหมายังไม่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด เนื่องจากยังมีรถบรรทุกแร่ที่ไม่นำผ้าใบปกคุมแร่หลังรถให้มิดชิดระหว่างวิ่งไปตามถนนในพื้นที่เขตชุมชน รวมทั้งข้อสงสัยถึงการแบกน้ำหนักของรถเกินกว่ากฎหมายกำหนดด้วยหรือไม่

นางสาว สุคนธ์ทิพย์  สินวิวัฒนากูล อุตสาหกรรมจังหวัดประจวบฯชี้แจงว่า หลังทราบเรื่องกรณีชาวบ้านร้องให้อุสาหกรรมจังหวัดฯตรวจสอบแร่นำเข้าดังกล่าวที่ขนถ่ายจากท่าเทียบเรือของบริษัทท่าเรือประจวบฯนำมากองไว้บริเวณริมถนนสาธารณะพื้นที่ อบต.แม่ระพึง ผ่านสื่อมวลชนนั้น ซึ่งเราเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หลังทราบข่าวจึงใด้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าเก็บตัวอย่างแร่ตามข้อกังวลของชาวบ้าน นำส่งอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีส่งวิเคราะห์ทางเคมี ตามหนังสือที่ ปข ๐๐๓๔(๔)/๔๗๘ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 โดยขอให้ดำเนินการตรวจสอบทางฟิสิกส์เพื่อหาชนิดของแร่ตามข้อกังวลของชาวบ้านในพื้นที่ถึงข้อสงสัยเป็นแร่ชนิดใดตรงตามใบสำแดงขอนำเข้าหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาทราบเพียงว่า ศุลกากรพื้นที่ตรวจสอบแจ้งการนำเข้าจากบริษัท สินแร่ฯตามเอกสารเป็นเพียงแร่คละ มีแร่เซอร์คอน แร่รูไทล์ แร่ลูโคซีน แร่อิลเมไนต์ แร่สตอโรไลต์ และทรายจากแร่ชายหาดประเทศออสเตรเลีย นำเข้ามาในราชอาณาจักร จากประเทศออสเตรเลีย  โดยบริษัท สินแร่สาคร จำกัด เป็นผู้นำเข้าแร่ดังกล่าวมานานหลายปีแล้วจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ หากการนำเข้าตามแจ้งนั้นไม่ได้มีการยื่นเอกสารขอให้ทางเราตรวจสอบชนิดของแร่ว่าตรงตามที่ บริษัท สินแร่สาคร แจ้งนำเข้าไว้หรือไม่นั้น ทางเราก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมจังหวัดฯมีขอจำกัดทางบุคลากรขาดผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบแร่นำเข้าโดยตรง หากไม่มีเอกสารแจ้งให้เรานำแร่ตรวจสอบก่อนทุกครั้งที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ และเนื่องจากอุตสาหกรรมจังหวัดฯมีหน้าที่กำกับดูแลเพียงแร่ที่อยู่ในความควบคุมตามพรบ.แร่ ปี 60 เท่านั้น ที่ผ่านมาเนื่องจากศุลกากรแจ้งเป็นเพียงแร่ไม่สะอาดที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียตามเอกสาร จึงไม่ได้อยู่ในความควบคุมตามประกาศ       ขณะที่ศุลกากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการตรวจสอบใบสำแดงเอกสารนำเข้าสินค้าโดยตรง แต่หากประชาชนร้องขอให้ทางอุสาหกรรมจังหวัดฯดำเนินการตรวจสอบตามข้อสงสัยหลังเป็นข่าว ทางเรายินดีประสานนำแร่จากบริเวณดังกล่าวส่งกรมทรัพยกรธรณีไปตรวจวิเคราะห์ทางเคมี เนื่องจากอุตสาหกรรมจังหวัดฯไม่มีเจ้าหน้าที่ตรวจวิเคราะห์แร่โดยตรง และเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ทราบผลว่าแร่ที่นำเขาโดยผ่านการตรวจใบสำแดงเป็นสินค้านำเข้าจากด่านศุลกากร จะมีผลกระทบตามที่ชาวบ้านเป็นกังวลหรือไม่ นางสาวสุคนธ์ทิพย์กล่าว
นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสยามโฟกัสไทม์/4เหล่าทัพ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์0909944781

 

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป