25/12/2024

นราธิวาส-แม่ทัพภาค 4 ทุบโต๊ะเดินหน้าขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ หลังเกิดเหตุระเบิดอย่างต่อเนื่อง ที่ปัตตานี

IMG_2205_0

จากเหตุระเบิดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 เวลา 21.30 น.ที่บริเวณ หน้าเขื่อนท่าพระยาสาย ถนน ภูผาภักดี จังหวัดนราธิวาส โดยคนร้ายได้นำรถจักรยานยนต์ที่ขโมยมา ซ่อนวัตถุระเบิด แล้วนำมาจอดทิ้งไว้ จนเกิดระเบิด และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 10 คน และรถจักรยานยนต์เสียหายหลายคัน

 

เมื่อวันที่7 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.30 น.พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4 ลงพื้นที่ทันที ตรวจสอบเหตุคนร้ายรอบวางระเบิด พร้อมเน้นย้ำเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำซ้อนและติดตามคนร้ายมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็วไม่ให้เกิด

 


ล่าสุด วันที่8 พฤษภาคม2567 ณ.ห้องประชุมโรงแรมริเวอร์ โฮเทล จังหวัดปัตตานี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4 เปิดการประชุมคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดโดยสำนักงานขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า นับเป็นการประชุมและพบปะพูดคุย หารือรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอเเนะ ปัญหาข้อขัดข้องต่อการขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุขในระดับพื้นที่ ของคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (คพท.) ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดเวที ทำความเข้าใจ และรับฟังข้อเสนอแนะ รวมถึงปัญหาต่างๆ

จากประชาชนในหลายพื้นที่ จำนวน 80 กว่าเวที และจะยังคงเดินหน้าต่อเนื่องในการทำความเข้าใจเพื่อช่วยหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เอื้อต่อการพูดคุยและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมกันนี้การประชุมครั้งนี้จะได้มารับทราบถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ ในฐานะ หัวหน้าพูดคุยฝ่ายเทคนิค ในคณะพูดคุยสันติสุขสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ มากล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่ได้เดินทางไปประชุมฝ่ายเทคนิคในคณะพูดคุยฯ มาอัพเดต คณะ (คพท.) ได้รับทราบและนำไปชี้แจงทำความเข้าใจในเวทีระดับพื้นที่ต่อไป

 


พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ให้สัมภาษณ์ว่า นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้มาประชุมพบปะ คณะทำงานขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (คพท.) ซึ่งตลอดระยะเวลาในห้วงที่ผ่านมาคณะทำงานได้มีการขับเคลื่อนการพูดคุยในระดับพื้นที่ในพื้นที่ ผ่านการจัดเวที หนุนเสริมการพูดคุย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ ได้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ การทำงานของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขในทุกพื้นที่ ซึ่งมีจัดเวทีพูดคุยระดับพื้นที่ 80 กว่าเวทีในหลายพื้นที่ได้รับข้อมูลที่หลากหลาย

ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับฟังจากพี่น้องประชาชนในชุมชน ในพื้นที่จริง ๆ ข้อมูลที่ได้รับมานั้นสิ่งไหนที่สามารถปรับแก้ได้ก็จะรีบดำเนินการปรับแก้ จะนำไปเสนอผู้บังคับบัญชาให้ดำเนินการ ซึ่งทำให้ได้รับรู้หลาย ๆ เรื่องราวจากการพูดคุยครั้งนี้ และอยากให้กำลังใจคณะ(คพท.) ว่าการทำงานลงพื้นที่แต่ละครั้ง มีความยากลำบากซึ่งคณะทำงาน (คพท.)ได้ลงไปชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า (คพท.)ได้จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับพี่น้องประชาชนบ้าง ซึ่งพี่น้องประชาชนหลายกลุ่มเริ่มมีความเข้าใจ ทั้งนี้ส่งกำลังใจให้กับคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขระดับพื้นที่ (คพท. ) และข้อมูลที่ได้ในวันนี้ อยากให้สื่อมวลชนช่วยเป็นสื่อกลางให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และหลาย ๆ คนที่ยังไม่เข้าใจ ได้เข้าใจถึงประเด็นนี้ด้วย

ด้าน พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ ในฐานะ หัวหน้าพูดคุยฝ่ายเทคนิค ในคณะพูดคุยสันติสุขสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สัมภาษณ์ว่า ความคืบหน้าการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่ได้เดินทางไปประชุมฝ่ายเทคนิคในคณะพูดคุยฯ กับดร.นิมะ เจ๊ะแต หัวหน้าพูดคุยฯเทคนิคของ BRN เมื่อวันที่ 27-30 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ที่รัฐ Negri Sembilan ประเทศมาเลเซีย ได้ข้อสรุปว่า จะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2567 นี้ ที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อวางกรอบรายละเอียดในการทำงานร่วมกัน ลดสถานการณ์ความรุนแรง

และการปรึกษาหารือสาธารณะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินหน้าขับเคลื่อนการสร้างสันติสุขถาวรในพื้นที่ ทั้งนี้การประชุมเชิงปฏิบัติการกลางเดือน พฤษภาคม 67 ที่จะถึงนี้เป็นกิจกรรมที่จะดำเนินการของแต่ละฝ่ายหรือทำร่วมกัน ในช่วงของการลดสถานการณ์ความรุนแรงและช่วงของการปรึกษาหารือสาธารณะ หลังการลงนามร่วมกันในแผนความเข้าใจร่วมสู่สันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ JCPP (JOINT COMPREHENSIVE PLAN TOWARDS PEACE) ที่ทั้งสองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบในหลักการร่วมกันมาแล้วในช่วงก่อนหน้านี้แต่ยังไม่ได้มีการลงนามให้ความเห็นชอบ จากนั้นจะเป็นการหารือ TOR ของทั้งสองฝ่าย เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่กันต่อไป

สำหรับคณะขับเคลื่อนการพูดคุยระดับพื้นที่ หรือ(คพท.)เป็นคณะทำงานที่ได้รวบรวมผู้มีความรู้ความสามารถในทุกภาคส่วนมาเป็นคณะทำงาน ทั้ง 9 กลุ่มงานซึ่งในแต่ละกลุ่มงานก็มีบทบาทที่แตกต่างกันออกไป โดยกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขได้ถูกนำมาบรรจุในนโยบายระดับชาติ ทั้ง 3 ฉบับตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ,นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2562 – 2565,และนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะนโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2562 – 2565ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า “รัฐต้องยึดมั่นแนวทางสันติวิธีและส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้”

ซึ่งในส่วนของกองอำนวยการรักษาภายในภาค 4 ส่วนได้มีการเตรียมความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง โดยการส่งเสริมกระบวนการพูดคุยระหว่างกลุ่มคนที่มีส่วนได้เสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้,ส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจ และสร้างความพร้อมของทุกภาคส่วนในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขภายใต้ยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ (คพท.) เป็นโซ่ข้อกลางประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลและหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จในการพูดคุยสันติสุขฯ

ข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร / อัสมา บินมะนุ จ.นราธิวาส

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป