ระยอง-อบจ.ระยอง ร่วมกับ ม.บูรพา จัดโครงการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หอคอย จังหวัดระยอง เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
ระยอง-อบจ.ระยอง ร่วมกับ ม.บูรพา จัดโครงการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หอคอย จังหวัดระยอง เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ที่ ศาลา 3 วัดปากน้ำระยอง ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง นายประสานต์ พฤกษาชาติ รอง นายก อบจ.ระยอง เป็นประธานเปิด โครงการการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน :โครงการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอย จังหวัดระยอง เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและรองรับการก่อสร้างถนนเฉลิมบูรพาชลทิต (ระยะที่ 2)
1. เหตุผลและความจำเป็น
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาโครงข่ายถนนเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดระยองโดยได้มีการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณการศึกษา
เพื่อจัดทำแผนแม่บท พร้อมทั้งสำรวจออกแบบรายละเอียดและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (EA) ถนนบูรพาชลหิต (ระยะที่ ๒) เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเล และเป็นหนึ่งแผนงานย่อยภายใต้แผนการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้ จากนโยบายและความต้องการของภาคส่วนต่างๆ จังหวัดระยองจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมในเรื่อง
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการก่อสร้างถนนบูรพาชลทิตและการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก่ (EEC) ให้สอดรับกับ การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 แผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เซตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
จากความจำเป็นดังกล่าว จังหวัดระยอง จึงได้จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนก่อสร้างสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอยจังหวัดระยอง เพื่อเป็นแนวทางในการก่อสร้างอาคารสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอยในจังหวัดระยอง ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกแบบก่อสร้างและเป็นแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานให้กับเขตโรงงานอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออก ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่ตั้งและพิจารณาคัดเลือกความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการก่อสร้างหอคอยจาก 6 ปัจจัยหลัก คือ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการท่องเที่ยว ด้านการจราจรขนส่งโลจิสติกส์ ด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม สรุปได้จำนวน 3 แห่ง คือ 1) พื้นที่บริเวณหาดแม่รำพึง ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง
2) พื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือเทศบาลตำบลบ้านเพ อำเกอเมืองระยอง 3) พื้นที่บริเวณแหลมเจริญ – หาดแสงจันทร์ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงแนวทางการก่อสร้างและการพัฒนาสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอย ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปแบบการก่อสร้างในบริเวณที่จะดำเนินการสร้างหอคอย เพื่อให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม สามารถดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ รวมทั้งมีความเหมาะสมและถูกต้องตามหลักทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงความเหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้งของสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอยจังหวัดระยอง ทั้งความคุ้ม เพื่อทราบถึงความเหมาะสมทางด้านการท่องเที่ยว การเดินทางของนักท่องเที่ยว รวมทั้ง
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และการลงทุน นอกจากนี้การกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยซน์ของพื้นที่ให้มีความสอดคล้องต่อเนื่องกันยังเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลให้หอคอยจังหวัดระยองสามารถรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ของประชาชนในพื้นที่ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของพื้นที่ในการรองรับการก่อสร้างสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอยจังหวัดระยอง ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของภาคอุตสาหกรรมภาคการบริการและภาคการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมและเกื้อกูลกัน สามารถสร้างการพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดระยองได้อย่างยั่งยืน องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จึงจำเป็นต้องดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้โครงการสถานแสดงนวัตกรรมและหอคอยจังหวัดระยองเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและรองรับการก่อสร้างถนนเฉลิมบูรพาชลทิต เพื่อจะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวไปใช้ในการกำหนดแนวทางและวางแผน ดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาและประเมินศักยภาพของการก่อสร้างและการพัฒนาสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอยจังหวัดระยอง เพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและการก่อสร้าง
ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต
2.2 เพื่อศึกษารูปแบบการจัดวางผังพื้นที่ภูมิทัศน์และการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งแนวคิดและกำหนดรูปแบบองค์ประกอบของการพัฒนาโครงการ ฯ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่
2.3 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในด้านการท่องเที่ยว ด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินและการลงทุน ด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม และด้านการจราจรและโลจิสติกส์ ในการก่อสร้างและการพัฒนาสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอย จังหวัดระยอง
2.4 เพื่อศึกษา สำรวจ และออกแบบเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานแสดงนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมและหอคอยจังหวัดระยอง เพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและการก่อสร้างถนนเฉลิมบูรพาชลทิต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบรายละเอียดและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวางแผนและกำหนดแนวทางในการพัฒนาที่ดินในเขตพื้นที่ศึกษาในอนาคต
3. สาระสำคัญของโครงการ
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจึงเห็นควรให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทในการรู้ข้อมูลการดำเนินโครงการ จึงจัดประชุมแนะนำโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดโครงการ ลักษณะโครงการ และแนวทางการดำเนินการศึกษาให้กับประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการนำข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะจากการรับฟังความคิดเห็นมาใช้ประกอบการศึกษา และการจัดทำรายงาน ฯ ให้ครบถ้วน
4. ผู้ดำเนินการ
1) เจ้าของโครงการ : องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
2) ผู้ศึกษาและจัดทำรายงาน ฯ : มหาวิทยาลัยบูรพา
5. สถานที่ดำเนินการ
พื้นในการศึกษาความเหมาะสมจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) พื้นที่บริเวณหาดแม่รำพึง ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง 2) พื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือเทศบาลตำบลบ้านเพ อำเภอเมืองระยอง และ 3) พื้นที่บริเวณแหลมเจริญ – หาดแสงจันทร์ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
6. ระยะเวลาดำเนินการ
ภายใน 240 วัน นับจากวันเริ่มปฏิบัติงานตามสัญญา