14/11/2024

นราธิวาส-Baju Melayu สืบทอดเอกลักษณ์การแต่งกายชาวมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้

นราธิวาส-Baju Melayu สืบทอดเอกลักษณ์การแต่งกายชาวมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้

ชุดมลายูถือว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของการแต่งกายประจำถิ่นของ 3 จังหวัดชายแดนใต้จากกระแสของชุดมลายูที่เป็นที่ต้องการของตลาด ณ ตอนนี้จนทำให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศในขณะเดียวกันการตัดเย็บชุดมลายูในพื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้จังหวัดนราธิวาสเรานี้ก็มีแหล่งผลิต ชุดมลายูโบราณที่บ้านจำปากอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
การสวมใส่เสื้อผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ดั่งเดิมที่สืบทอดกันมานับกว่า 400 ปี นานมาแล้ว ของชาวพี่น้องมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ยิ่งนับวันก็จะยิ่งเลือนหายไป ทั้งๆ ความโดดเด่น สวย สง่างาม ของการแต่งกายชุดมลายู มีอัตลักษณ์เฉพาะในพื้นที่ อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการสวมใส่ให้ได้มากขึ้น และทำให้เหมาะกับสภาพอากาศในบ้านเมืองเรา ปัจจุบัน ชุดมลายู ถือว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของการแต่งกายประจำถิ่นไปแล้ว จากกระแสที่เป็นความต้องการของตลาด ณ ตอนนี้ จนทำให้มีการนำเข้าชุดมลายูจากต่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน การตัดเย็บชุดมลายูในจังหวัดนราธิวาส เรามีที่ผลิตชุดมลายูที่สืบทอดกันมา กว่า 30 ปี ที่บ้านจำปากอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

คุณ อิลฮัม และลี เล่าว่า เริ่มต้นมาจากความชอบการแต่งกายของชุดมลายู และเริ่มศึกษา จนมีความรู้สึกว่า อยากทำแบรนด์เป็นของตัวเอง เลยเริ่มศึกษาการแต่งกายไปเรื่อยๆจากดูยูทูปบ้าง ตอนนั้นยังไม่มีการเปิดสอน จนเมื่อปีที่แล้ว มีการเปิดให้เรียนการทำหมวกเสอตันยัค ขึ้น เลยลงเรียน ปรากฏว่าได้ความรู้จากที่ได้เรียน จากครูชาวมาเลเซีย ที่มาเปิดคอร์สสอนให้ เริ่มจากการแต่งกายจนกลายเป็นสอนเสร็จทั้งชุดมลายู มันก็เลยตรงตามเป้าหมายที่ตนต้องการที่ทำเพื่อที่จะขาย แต่ตอนนี้เป้าหมายคือ อยากทำเพื่ออนุรักษ์ไปด้วย
เทศกาลวันฮารีรายอ อิดีลฟิตตรี ฮ.ศ 1445 ของปีนี้ Selamat Hari Raya (เซอลามัต ฮารี รายอ) ซึ่งทางสำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศ ดูดวงจันทร์ ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ 2567 ถ้าเห็นดวงจันทร์ วันที่ 10 เมษายน 2567 ก็จะเป็นวันฮารีรายออิดิลฟิตตรี หรือ รายอ บวชถือศีลอดของปีนี้ แต่ถ้ายังไม่เห็น ก็จะรายอวันที่11 เมษายน 2567
Baju Melayu (บาจูเมอลายู) หรือชุดแต่งกายมลายู เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ณ ปัจจุบัน การใส่ชุดมลายู เป็นการแต่งกายในวันเฉลิมฉลองวันฮารีรายอ หรืองานเทศกาลต่างๆของชาวมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น การแต่งกายในพิธีสมรสของคู่บ่าว-สาว อย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัจจุบันได้มีการสืบทอด การแต่งกายแบบสมัยดั่งเดิม มาตกแต่ง ประยุกต์กันให้มีสีสัน ซึ่งแต่ละการแต่งกายก็ล้วนแต่มีความเป็นมาจากอดีต เมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว แต่ยังคงอนุรักษ์ให้อยู่คู่ชาวมลายู เพื่อสืบทอดให้ชั่วลูกชั่วหลานได้เห็นกันต่อไป

การแต่งกายชุดมลายู ประกอบด้วย เสื้อบลางอ เสื้อฮียาส เสื้อฮียาสซีกัส เสื้อมัตคีเลา จะเป็นเสื้อแขนยาว ที่บอกถึงตำแหน่งหน้าที่ของผู้สวมใส่ อย่างเสื้อฮียาสสมัยก่อน ผู้ที่สวมใส่จะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ขุนนาง ใส่เพื่อเข้าประกอบพิธีงานในพระราชวัง แต่ปัจจุบัน จะสามารถใส่ในเทศกาลต่างๆ ได้
กางเกง จะเป็นกางเกงยาวขาบาน อาจจะเป็นสีผ้า หรือผ้าเดียวกันกับตัวเสื้อ เน้นใส่สบายๆ
ผ้าซอแก๊ะ ( Samping สำปิง) เป็นผ้าคล้ายผ้าถุงของผู้หญิง แต่จะสั้นกว่า ไว้ใส่ทับบนกางเกงอีกชั้น( การสวมใส่ผ้าซอแก๊ะจะมีความแตกต่างกันระหว่างวัยที่ยังไม่มีครอบครัว จะสวมระดับความยาวเลยเข่าขึ้นมา แต่ถ้ามีครอบครัวแล้ว จะสวมใส่ความยาวใต้เข่าลงมา )
ผ้าคาด ( Bengkung เบงกง) เป็นผ้าคาดทับผ้าซอแก๊ะ แทนเข็มขัด เพื่อความกระชับ แน่นไม่หลุด และไว้สำหรับแหนบ “ กริช ”
กริช เป็นอาวุธสั้นประจำชาติ มลายูและเป็นเครื่องหมายแสดงถึงตระกูลต่างๆของกษัตริย์มลายูในสมัยนั้นๆ
ตูกะ หรือไม้เท้า


หมวก( เซอตันจัค Setanjak ) เป็นหมวกคล้ายหมวกกะปิเยาะ ที่เย็บแบบสำเร็จ ซึ่งสมัยก่อนนั้น จะเอาแค่ผ้ามาพันที่ศีรษะเวลาออกรบ อาจจะปลุกเสกตามความเชื่อ เมื่อสวมใส่จะได้เป็นศิริมงคลกับตัวเอง แต่ หมวกเซอตันจัค ก็ได้ดัดแปลงมาเป็นสวมใส่ในพระราชพิธีต่างๆในพระราชวังและขาดไม่ได้เพราะเป็นอาภรณ์คู่ ชุดที่สวมใส่ ที่บ่งบอกถึงตำแหน่งหน้าที่ ตระกูล ชนชั้น ของคนยุคสมัยนั้นๆ (หมวกเสอตันยัค จะเน้นลวดลายการพันดอกให้ได้มากที่สุดโดยใช้ผ้าผืนเดียวมาประกอบ ยิ่งหมวกได้ดอกมากก็จะบ่งบอกถึงชนชั้นมากยิ่งขึ้น) แต่ปัจจุบันหมวกเสอตันยัค ยิ่งมีดอกมาก ราคาก็สูงขึ้น
ชุดมลายูแต่ละยุคแต่ละสมัย เปลี่ยนไปตามกาลเวลา จะแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบัน ยังคงอนุรักษ์สืบทอดกันมา เรื่อยๆ แต่มีการเปลี่ยน ปรับ ให้ทันยุคสมัยใหม่มาก และทำให้สวมใส่ สะดวก ต่อการใช้ชีวิตปัจจุบันให้ได้ง่ายขึ้น
คุณ อิลฮัม และลี เจ้าของร้าน แบรนด์อิลฮัม จำปากอ (บ้านจำปากอ) อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โทร.088-7555509 ร้านนี้ได้รับรางวัลการันตี เป็นเกรียติบัตรเป็นคณะกรรมการการตัดสินการประกวดการแต่งกายชุดมลายูด้วย

คุณ แวดาโอ๊ะ หะไร / อัสมา บินมะนุ รายงานข่าว /ภาพ นราธิวาส

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป