ชุมพร – นายก อบต.นาขา เดินหน้าแก้ไขไขปัญหาแหล่งเก็บน้ำสำรองในพื้นที่สู้ภัยแล้งอย่างถาวร
ชุมพร – นายก อบต.นาขา เดินหน้าแก้ไขไขปัญหาแหล่งเก็บน้ำสำรองในพื้นที่สู้ภัยแล้งอย่างถาวร
อบต.นาขา เดินหน้าแก้ไขไขปัญหาแหล่งเก็บน้ำสำรองในพื้นที่สู้ภัยแล้งอย่างถาวร
วันที่ 27 มีนาคม 2567 เวลา 9.30 น. อ.หลังสวน จ.ชุมพร ณ ห้องประชุมสภา อบต.นาขา นายสมพร ปัจจฉิมเพชร ข้าราชการบำนาญ(อดีตรอง.ผวจ.ชุมพร) นายอัศดากร ฉิมมณี นายกฯ อบต.นาขา พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา(ผู้ รงคุณวุฒิ) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ อบต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพรเข้าร่วมประชุม ศึกษาปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย น้ำเสียและน้ำเค็มในพื้นที่ ต.นาขาอย่างยั่งยืน เปิดการประชุมในวันนี้ก็เพื่อรับฟังปัญหาของประชาชนเกษตรกรในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบเพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยมีหัวหน้าส่วนราชการเข้ามารับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ และนำไปศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้มีความยั่งยืนแก่ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่
ในอดีตที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลนาขามีปัญหาด้านทรัพยากรหลักคือ ทรัพยากรน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย น้ำเค็ม น้ำท่วมจากการที่ตำบลนาขามีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่ม รับน้ำจากตำบลใกล้เคียงก่อนลงสู่ทะเลอ่าวไทยหากฝนตกหนักติดต่อกันหลาย ปริมาณน้ำฝนและน้ำที่ไหลรวมขังแช่หลายวันสร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรสวน ทุเรียน บางพื้นที่ไม่สามารถเข้าออกได้โดยสิ้นเชิง การเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วทำให้ผู้คนเข้ามาจับจองพื้นที่ ที่ดิน ถูกเปลี่ยนมือให้กับธุรกิจ มีการถมดินสูงเพื่อการก่อสร้างและการทำธุรกิจ ทางน้ำถูกบังคับให้เปลี่ยนทิศทาง และ ส่งผลให้เกิดน้ำเค็มในช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนสูง น้ำแล้ง เนื่องจากไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำเพียงพอ มีสภาพตื้นเขิน ความต้องการใช้น้ำในภาคการเกษตรและธุรกิจสูง มีการแย่งชิงแหล่งน้ำ ในภาคครัวเรือน อบต.นาขาต้องแจกจ่ายน้ำวันละอย่างน้อย 3 เที่ยว ตลอดระเวลา 3-4เดือน ใน ปี พ.ศ. 2566 และส่งผลให้น้ำเสียปลาตาย เนื่องจากน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ถูกซ้ำเติมด้วยการปล่อยน้ำยาจากแผงทุเรียนและสารเคมีจากภาคเกษตร
นายอัศดากร ฉิมมณี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาขาได้แก้ไขปัญหามาโดยตลอด แต่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ให้พ้นช่วงเวลา วิกฤติ จึงมีแนวคิดว่าหากแก้ปัญหาเช่นนี้ต่อไปนอกจากเสียงบประมาณแล้วยังไม่ใช่เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถาวรเพราะตระหนักว่า น้ำคือชีวิต เพราะในพื้นที่ตำบลมีแหล่งน้ำเพียงพอ ทั้งแหล่งน้ำหลัก คือคลองมอง คลองน้ำขาว คลองบางแทงแม่ และแหล่งน้ำขนาดใหญ่อื่น เช่น ชุมเหมือง อ่างเก็บน้ำ จึงได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพรร่วมแก้ไขปัญหา ทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน ฯลฯ และหน่วยงานสนับสนุน เช่น กรมป่าไม้แขวงทางหลวง เป็นต้น เนื่องจากการแก้ไขปัญหาไม่สำเร็จได้หากไม่ได้รับความร่วมมือ ทั้งการแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหา การสนับสนุนงบประมาณ หรือการประสานงาน
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514