27/12/2024

ครั้งแรกในประเทศไทย !!! “อลงกรณ์-สภาอุตสาหกรรมฯ.”ตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) หวังสร้างฐานผลิตใหม่23จังหวัดชายทะเลทดแทนการนำเข้าลดคาร์บอนแก้โลกร้อน

1YTURHRRD

ครั้งแรกในประเทศไทย !!! “อลงกรณ์-สภาอุตสาหกรรมฯ.”ตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) หวังสร้างฐานผลิตใหม่23จังหวัดชายทะเลทดแทนการนำเข้าลดคาร์บอนแก้โลกร้อน

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท(WCF:Worldview Climate Foundation)เปิดเผยวันนี้(25 มี.ค)ว่า ประเทศไทยผลิตสาหร่ายน้อยมากต้องพึ่งพานำเข้าสาหร่ายจากต่างประเทศจนติดท็อปเทน ของโลก ในขณะที่มีชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยยาวกว่า3,000 กิโลเมตรใน23จังหวัดจึงมีศักยภาพในการผลิตทดแทนการนำเข้าและยังช่วยลดคาร์บอนด้วย ดังนั้นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท Worldview Climate Foundation จึงได้ทำเอ็มโอยู.ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาสาหร่ายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำถือเป็นความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(blue economy)ในการใช้ทรัพยากรในทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ซึ่งในการประชุมล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)ได้ข้อสรุปในการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตทั้งนี้มูลนิธิฯ.ได้เสนอรายชื่อกรรมการและหน่วยงานรัฐเช่นกรมประมง กรมทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯลฯเป็นกรรมการเรียบร้อยแล้วส่วนสอท.จะเสนอรายชื่อภายหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสอท.ชุดใหม่วันที่ 25 มีนาคมนี้เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ.ในการขับเคลื่อนความร่วมมือในครั้งนี้ให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็ว


“สาหร่ายถือเป็นพืชแห่งอนาคตตัวใหม่ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สามารถผลิตเป็น อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์พลาสติกชีวภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์ กระดาษ สิ่งทอ สารกระตุ้นทางชีวภาพ (bio stimulants) และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยตั้งเป้าหมายสร้างงานสร้างรายได้ให้กับ23จังหวัดชายทะเลซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการผลิตสาหร่าย ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมสาหร่ายยังมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 “นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด


สำหรับการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าประชุมตัวแทนมูลนิธิได้แก่นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานกรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว
ไคลเมท,รศ.ดร.สุชาติ นวกวงษ์ กรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท
,นางสาวสภาวรรณ พลบุตร
,นางสาวณัฐนิชา ผกาแก้ว ผู้ประสานงานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท
และนายชนะพล พอสม Advisor, Worldview International Foundation
ส่วนผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้แก่
นายเชิญพร เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
,นางสาวศุภกาญจน์ พรหมราช ,นางสาวจิราวรรณ เดียขุนทด และนางสาวนฤดี มาทองหลาง จากสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม.

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป