21/09/2024

จันทบุรี-ประธานองคมนตรี และประธานคณะกรรมการมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการพัชรคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นประธานมอบวุฒิบัตร ปิดอบรมโครงการเครือข่ายเยาวชนคชานุรักษ์จังหวัดจันทบุรี

จันทบุรี-ประธานองคมนตรี และประธานคณะกรรมการมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการพัชรคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นประธานมอบวุฒิบัตร ปิดอบรมโครงการเครือข่ายเยาวชนคชานุรักษ์จังหวัดจันทบุรี

วันนี้ ( 16 ก.พ.67 ) ที่ หอประชุม อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี พร้อมด้วย พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรีและประธานการบริหารมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำคณะลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการพัชรคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นประธานในโครงการอบรมเครือข่ายเยาวชนคชานุรักษ์จังหวัดจันทบุรีโดยนายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครผลักดันช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ทหาร ตำรวจ เครือข่ายเยาวชนคชานุรักษ์จังหวัดจันทบุรี ผู้แทนสมาคม องค์กรภาคเอกชน และผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ให้การต้อนรับ


ทั้งนี้จังหวัดจันทบุรีได้เข้าร่วมเป็นหมู่บ้านคชานุรักษ์และดำเนินงานโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2562 ปัจจุบันมีหมู่บ้านคชานุรักษ์และเครือข่ายรวมทั้งสิ้น 25 หมู่บ้าน ใน 5 ตำบล 3 อำเภอ ได้แก่ ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว ตำบลคลองพลูอำเภอเขาคิชฌกูฎ และตำบลทรายขาว ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ในอำเภอสอยดาวการดำเนินงานโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ได้ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นระหว่างคนกับช้างป่าช่วยสร้างอาชีพทางเลือกให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยจากช้างป่า และได้ขยายผลสู่เยาวชนผ่านโครงการอบรมเครือข่ายเยาวชนคชานุรักษ์ จังหวัดจันทบุรี โดยด็อกเตอร์รอยบุญ รัศมีเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการบริหารมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวรายงานว่า มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้ การให้สนับสนุนการ ทั้งการสื่อสารคู่มือแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนที่รวบรวมระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากช้างป่า การให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับประชาชนในเรื่องของการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งเรื่องของการจัดการน้ำ

โดยใช้สารสนเทศและแก้ปัญหาน้ำ ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชน รวมทั้งเกษตรกรรมทั้งหมด 29 แห่ง / ในส่วนของการขยายสัดส่วนด้านอาชีพ ตัวอย่างในพื้นที่บ้านหนองกระทิง จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ 27 ไร่ ที่ให้ประชาชนผู้ทีไม่มีที่ทำกิน ตอนนี้สามารถได้ช่วยได้แล้ว 35 รายและจะขยายผลไปถึง 46 ราย และมีกองทุนของตัวเอง ทางด้านวิจัย มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับสำนักงานวิจัยแห่งชาติ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดให้ได้มาตรฐาน / ด้านงานเยาวชนได้จัดกิจกรรมร่วมกันทั้งทางมูลนิธิฯ กรมอุทยาน, กรมป่าไม้ เพื่อขยายผลให้กับโรงเรียนในจังหวัดป่ารอยต่อทั้ง 5 จังหวัด ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานในปี 2567 จะเดินงานในเรื่องของการดูแลทั้งภาคประชาชนและรวมทั้งเรื่องของงานวิจัยต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนซึ่งจะร่วมกันกับทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก รวมทั้งมูลนิธิอุทกภัย พระราชูปถัมภ์ กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และภาคเอกชน ปัจจุบันร่วมกันแล้วประมาณ 10 แห่ง

 

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี 089-6767346
พสิษฐ์ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์รวมข่าวภาคตะวันออก 062-7584334

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป