26/12/2024

เอกชน ผู้ร่วมโครงการ”โคบาลชายแดนใต้” เผยข้อเท็จจริง”วัวไม่ตรงปก” ที่ จ.สตูล” ขาดทุนกับการ”นำร่อง” กว่า 20 ล้าน

4_0

เอกชน ผู้ร่วมโครงการ”โคบาลชายแดนใต้” เผยข้อเท็จจริง”วัวไม่ตรงปก” ที่ จ.สตูล” ขาดทุนกับการ”นำร่อง” กว่า 20 ล้าน

 

นายวิชัย ปาทาน ผู้บริหาร”วิชัยฟาร์ม” ซึ่งเป็น บริษัทเอกชน ที่เข้าร่วมโครงการ โคบาลชายแดนใต้ ซึ่งเป็นโครงการของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต. ) ในการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรด้วยการ ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชมชน เพื่อการการเลี้ยงโค โดย วิชัยฟาร์ม ได่เลือกเอา จ.สตูล เป็นโครงการนำร่อง ตามคำแนะนำของ ศอ.บต. ว่า จ.สตูล เป็นจังหวัดที่เกษตรกรมีความพร้อมที่สุดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ ศอ.บต.ได้จัดตั้ง กลุ่มวิสาหกิจเพื่อเข้าร่วมโครงการ โคบาลแดนใต้ 18 กลุ่ม และ วิชัยฟาร์ม ได้ มอบโค ให้เกษตรทั้ง 18 กลุ่มๆละ 50 ตัว ตามข้อตกลง เพื่อเป็นการ นำร่อง โดยยังไม่ได้เข้าโครงการ วิชัยฟาร์ม เป็นผู้ลงทุนในการทำแปลงหญ้าๆละ 100,000 บาท และ สร้างคอกรวม คอกละ 350,000 บาท พร้อมทั้งส่งมอบโคตัวละ 17,000 บาท พร้อมทั้งการดูแลในเรื่องการ ผสมเทียม การฉีดวัคซีน โดยที่ เกษตรกร ทั้ง 18 กลุ่ม ยังไม่ได้จ่ายเงินให้กับ วิชัยฟาร์ม เพราะเป็นการ นำร่อง โดยยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการ


ต่อมาปรากฏว่า กลุ่มวิสาหกิจทั้ง 18 กลุ่ม เข้าเงื่อนไขของโครงการโคบาลแดนใต้เพียง 8 กลุ่มอีก 10 กลุ่มไม่อยู่ในเงื่อนไข เพราะที่ทำกินของเกษตรกร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน และที่สาธารณประโยชน์ ทำให้เข้าร่วมโครงการไม่ได้ รวทั้งแปลงหญ้า และคอกรวม ที่เกษตรกำหนดพื้นที่ให้ วิชัยฟาร์ม สร้าง ก็อยู่ในพื้นที่สงวน และ สาธารณประโยชน์ กลายเป็นปัญหาทั้งของ เกษตรกร และ วิชัยฟาร์ม
เพราะเมื่อไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เกษตรกรก็ไม่ได้รับเงินจากโครงการ แต่มีภาระที่ต้องเลี้ยงวัวกลุ่มละ 50 ตัว ซึ่งขาดทั้งเงินทุนในการเลี้ยงโค และผู้ที่เลี้ยงโคก็ไม่ได้รับค่าแรงวันละ 900 บาท นี่ก็เป็นสาเหตุที่โคที่เลี้ยงมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ตามข่าว ที่สื่อนำเสนอ ในส่วนของ วิชัยฟาร์ม เมื่อ เกษตรกร ผู้เลี้ยงไม่เข้าเงื่อนไขของโครงการ ก็เบิกเงินที่ลงทุนไปแล้วไม่ได้กว่า 20 ล้านบาท วันนี้จึงไม่ใช่ เกษตรกรเดือดร้อน แต่ วิชัยฟาร์ม ก็ได้รับความเสียหายด้วย
นี่เป็น ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นกับ เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการโคบาลชายแดนใต้ ที่ จ.สตูล และในส่วนของ คอกรวม บางคอก ที่มีการบอกว่าสร้างผิดแบบ เป็นการสร้างของ เกษตรกร ที่ของความช่วยเหลือจาก วิชัยฟาร์ม ว่าขอที่จะสร้างกันเอง เพราะต้องการมีงานทำ และต้องการค้าจ้าง โดย วิชัยฟาร์ม เป็นผู้ส่ง วัสดุ ไปให้ แต่มีการสร้างที่ ผิดแบบ ซึ่งเรื่องนี้แก้ไขได้ ถ้า เกษตรกร ทั้ง 10 กลุ่ม สามารถเข้าร่วมโครงการได้


หลังมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น วิชัยฟาร์ม ก็ได้มีการ หารือกับ ศอ.บต. เพื่อให้เข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องการใช้ที่ดิน ในป่าสงวน และในที่สาธารณประโยชน์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งล่าสุด ศอ.บต. ได้หาทางออก โดยขอให้ วิชัยฟาร์ม รับวัวทั้งหมดจาก เกษตรกร 10 กลุ่ม นำกลับไปเลี้ยงดูก่อน แต่ วิชัยฟาร์ม เห็นว่าไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง วิธีการที่ถูกต้องคือ ศอ.บต. ต้อง เร่งพูดคุยกับส่วนราชการ เพื่อขอใช้พื้นที่ ซึ่งมีการทำแปลงหญ้า และคอกรวม ไว้แล้ว เพื่อให้เป็นการใช้อย่างถูกต้อง เพราะเกษตรกรที่มีปัญหา ทำกินในพื้นที่ดังกล่าวมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกินเท่านั้น
ผู้บริหาร วิชัยฟาร์ม กล่าวว่า บริษัทเรา ได้รับความเสียหาย และเข้าใจผิด ในหลายเรื่อง ทั้งเรื่องโคไม่ตรงปก ทั้งที่ในการ รับมอบ มีตัวแทนของทุกฝ่ายร่วมด้วย และเรื่อง โคผอม ที่เกิดจากการเลี้ยง ส่วนโคที่มีปัญหาซึ่งเป็นส่วนน้อย บริษัทก็ได้เปลี่ยนให้ ตามที่เกษตรกรต้องการ แต่วันนี้ปัญหาที่แย่ที่สุดคือโครงการ”นำร่อง” ที่ จ.สตูล จำนวน 10 กลุ่ม วันนี้ วิชัยฟาร์ม ต้องการให้ สื่อ ไปดูกลุ่มที่ไม่มีปัญหาซึ่งมีอยู่มากกว่ากลุ่มที่มีปัญหา ที่เขาประสพความสำเร็จ ส่วนกลุ่มที่มีปัญหา อยากให้ดูทุกมิติว่า ปัญหานั้นเกิดจาก ปัจจัย อะไรบ้าง

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป