24/11/2024

ชลบุรี-เมืองพัทยา ผนึกกำลัง อำเภอบางละมุง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงปัญหาน้ำเสียลงทะเล

ชลบุรี-เมืองพัทยา ผนึกกำลัง อำเภอบางละมุง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงปัญหาน้ำเสียลงทะเล

 

นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา พร้อมด้วย นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ นายอำเภอบางละมุง นายบรรลือ กุลละวริชย์ ประธานสภาเมืองพัทยา นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา เจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวพัทยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองพัทยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง และเจ้าหน้าที่สำนักช่างสุขาเมืองพัทยา ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงสาเหตุน้ำเสียลงทะเล บริเวณชายหาดวงศ์อมาตย์ ซอยนาเกลือ 16 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว


นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการบูรณาร่วมกับ อำเภอบางละมุง เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงหลังมีการปรากฏภาพข่าวเกี่ยวกับมีการปล่อยน้ำเสียลงทะเล ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเกิดความกังวล ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของเมืองพัทยา ทั้งนี้จากเหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น เหตุการณืดังกล่าวเกิดขึ้น ในช่วงเวลาฝนตกเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 67 เกิดจากน้ำฝนได้ไหล เข้าสู่ระบบบ่อสูบซอยนาเกลือ 16 ทำให้มีน้ำเจือจางส่วนเกินล้นสันฝายไหลไปตามท่อระบายลงสู่ทะเลในจุด และอีกจุดในตำแหน่งใกล้กันที่แรงดันน้ำได้ดันฝาปิดบ่อพักให้เปิดออกมา ซึ่งในส่วนของลักษณะของน้ำที่ปรากฏไม่ใช่เป็นน้ำเสียสีดำเข้มข้น แต่เป็นเป็นสีครีมขาว อาจเกิดจาการสะสมของตะกอนตกค้าง ที่ไหลรวมกับน้ำฝน


อีกทั้งปัญหาที่ตรวจพบอีกอย่างหนึ่ง คือในฤดูหนาวจะพบทรายเต็มท่อรวบรวมน้ำเสีย ช่วงน้ำทะเลขึ้น ซัดทรายไหลลงท่อ ทำให้ท่ออุดตันน้ำไหลไม่สะดวก เมื่อมีฝนตกทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ไหลอยู่ในเส้น ระบายไม่ทัน ก็จะล้นออกจุดระบายน้ำฝน (บ่อ CSO) ที่ชายหาดท้ายซอยนาเกลือ 16 และท้ายขซอยนาเกลือ 18 บริเวณโขดหิน ซึ่งเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการลอกตะกอนทราย ให้น้ำไหลสะดวก พร้อม ล็อคฝาท่อระบายน้ำให้แน่น ไม่ให้ทรายทะเลไหลลงอุดตันท่อ และไม่ให้แรงดันน้ำตามแนวเส้นท่อดันออกได้ ทั้งนี้ในแนวทางแก้ไขแบบถาวรจะมีการศึกษาออกแบบเพิ่มเติมระบบสูบน้ำฝนออกจากพื้นที่ไปสู่ถนนพัทยานา และปรับปรุงระบบระบายน้ำเสียที่มีสภาพทรุดโทรม ทั้งแนวหาดวงศ์อมาตย์และหาดพิงผา เนื่องจากปัจจุบัน ในพื้นที่มีปริมาณน้ำเสียและน้ำฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระบบรวบรวมน้ำเสียบริเวณหาดวงศ์อมาตย์มีสภาพเก่า และมีศักยภาพไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ระบบระบายน้ำเสี น้ำฝนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รองรับการพัฒนาพื้นที่ต่อไป


นายปรเมศวร์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับระบบรวบรวมน้ำเสียหาดวงศ์อมาตย์ เป็นท่อระบายน้ำเสียไฟเบอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร วางตามแนวหาด โดยรวบรวมน้ำเสียจากบริเวณต้นหาดด้านทิศเหนือด้วยแรงโน้มถ่วงมาทางทิศใต้ลงสู่บ่อสูบ ส่ง น้ำเสียซอยนาเกลือ 18 เพื่อสูบส่งน้ำเสียสู่ถนนพัทยานาเกลือ ลงไปตามแนวชายหาดพัทยา สู่บ่อสูบ PS7 บริเวณปากซอย Walking Street ซึ่งระบบรวบรวมน้ำของเมืองพัทยาส่วนใหญ่มักเป็นระบบรวมน้ำเสียร่วมกับ น้ำฝน โดยเมื่อยามฝนตก น้ำฝนจะรวมกับน้ำเสียทำให้เจือจางเมื่อระดับพ้นสันฝายที่กำหนดก็จะปล่อยให้มีการระบายลงทะเล


ด้าน นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ นายอำเภอบางละมุง กล่าวว่า สำหรับการควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงทะเลของผู้ประกอบการนั้นได้มีการกฎหมายในการควบคุม ซึ่งสถานประกอบการต้องมีการบำบัดน้ำเสียก่อนส่งเข้าสู่ท่อรวม ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ร่วมกับเมืองพัทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ เพื่อมาสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ว่าน้ำทะเลของพัทยายังใสสะอาด สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนเล่นน้ำทะเลได้ทุกวัน ซึ่งจาการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีการลงในโซเซียลนั้นเกิดจากที่มีฝนตกหนักและมีน้ำทะลักลงสู่ทะเล โดยในเบื้องต้นได้ฝากนายกเมืองพัทยาและทีมเจ้าหน้าที่เมืองพัทยา หากมีฝนตกหนักลงมาอีกให้ลงพื้นที่ตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเหตุการณืที่เกิดขึ้นในวันนั้นคือน้ำที่ไหลมาจากน้ำฝนไม่ใช้มาจากการปล่อยน้ำเสียของสถานประกอบการต่างๆ แต่อย่างใด.


นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี ชลบุรี 0909535645

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป