25/12/2024

เหยื่ออาคารชุด “แดนลิฟวิ่ง” เฮ!!! กมธ.ปปง. ไกล่เกลี่ยสำเร็จ หลัง “ปปง.” ตกลงเปิดโอกาสผู้เสียหายแจ้งสิทธิ์ใหม่ 30 วัน

IMG_9696

เหยื่ออาคารชุด “แดนลิฟวิ่ง” เฮ!!! กมธ.ปปง. ไกล่เกลี่ยสำเร็จ หลัง “ปปง.” ตกลงเปิดโอกาสผู้เสียหายแจ้งสิทธิ์ใหม่ 30 วัน ก่อนเสนอศาลผ่านอัยการขอใช้เงินที่ถูกยึด-อายัดกว่า 600 ล้านบาทเยี่ยวยา

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ห้องประชุมกรรมาธิการ N 407 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา(เกียกกาย) นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.ป.ป.ง.) พร้อม กมธ. ที่ปรึกษา เลขานุการ ได้ประชุมพิจารณาปัญหาร้องเรียนจากผู้ได้รับความเดือดร้อนกรณีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินอาคารชุด Than Living ถนนประชาอุทิศ กรุงเทพมหานคร ของบริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มีผู้ได้รับความเดือร้อนประกอบด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด และบุคคลผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ โดยมีผู้แทนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมธนารักษ์ กรมที่ดิน ผู้จัดการ และกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด รวมไปถึงผู้เสียหาย เข้าเจรจาเพื่อหาทางช่วยเหลือ

การพิจารณาเพื่อหาช่องทางในการช่วยเหลือผู้เสียหายที่มีอยู่กว่า 900 ราย ที่ตกเป็นเหยื่อในคดี ซึ่ง กมธ.ปปง.ยังคงพิจารณา เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับความเป็นธรรม ต่อการเข้ายึดและอายัดทรัพย์ของ “ปปง.” เพราะผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีของบริษัทกีธา พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด ที่ถูกยึดและอายัดทรัพย์สินในเหตุผลทางคดีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งผู้เสียหายได้พยามต่อสู้มากว่า 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2557)และมีความเสียหายเบื้องต้นกว่า 400 ล้านบาท ที่ต้องการเรียกเงินดาวน์คืนจากโครงการนี้ จนมาถึงมือ กมธ.ปปง. ที่ยังคงทำการพิจารณาต่อเนื่อง

นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ประธาน กมธ.ปปง. กล่าวว่า เป็นการประชุม ครั้งที่ 13 ปัญหาร้องเรียนจากผู้ได้รับความเดือดร้อนกรณีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินอาคารชุดโครงการ Than Living ถนนประชาอุทิศ กรุงเทพมหานคร ของ บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากเจ้าของโครงการอาคารชุดถูกยึดและอายัดทรัพย์สินในคดีโครงการรับจำนำข้าว จึงได้นำมาพิจารณาต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว ผลการพิจารณาร่วมกันเพื่อหาทางช่วยเหลือให้กับผู้ร้องเป็นขั้นตอนในการช่วยเหลือตามกฏหมายให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อได้รับการช่วยเหลือ

“กมธ.ปปง. จึงมีมติร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเปิดโอกาสให้ ผู้เสียหายที่เป็นผู้รับเหมารวมถึงผู้เสียหายจากเงินดาวน์อาคารชุดหรือที่ยังโอนไม่ได้ให้ไปยื่นแจ้งสิทธิ์ว่าเป็นผู้เสียหายยัง สำนักงาน ปปง. เพื่อให้มีรายชื่อในการช่วยเหลือ ซึ่ง สำนักงาน ปปง. จะเปิดให้ยื่นยันสิทธิ์ใหม่อีกครั้ง และจะมีการออกประกาศให้แจ้งสิทธิ์ภายใน 1 เดือน หลังจากนั้น สำนักงาน ปปง. จะรวบรวมรายชื่อผู้เสียหายทั้งหมดยื่นต่อศาลผ่านอัยการ เพื่อขอให้มีการเยี่ยวยาผู้เสียหาย เพื่อขอใช้เงินจำนวน กว่า 600 ล้านบาท ที่ สำนักงานปปง. ยึดและอายัด เอาไว้นำมาช่วยเหลือ ดังนั้นจึงขอให้ผู้เสียหายติดตามข่าวจากสำนักงาน ปปง. เพื่อแสดงตัวตามสิทธิ์ที่มี ส่วน กรณีการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดต่อกระทรวงการคลังโดยธนารักษ์ ก่อนจะไปทำการขายทอดตลาด จะทำกันภายหลังจากที่มีการเยี่ยวยาผู้เสียหายตามระยะเวลาที่ได้มีมติในที่ประชุมต่อไป“ นายเลิศศักดิ์ กล่าวในที่สุด

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป