27/01/2025

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย

IMG_9664

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย

ในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน”
ณ พลับพลาพิธี หน้าหอประชุม มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์
วันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 09.16 น.

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทรงเปิด “โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน” โดย นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย กล่าวรายงาน
โครงการดังกล่าวมีการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง นายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทยและผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย กับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ที่มีอาการผิดปกติในหลายระบบในร่างกาย ไม่เฉพาะแต่การเคลื่อนไหวผิดปกติ ยังรวมไปถึงกลุ่มอาการในระบบอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการดำเนินของโรคเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง และรุนแรงมากขึ้น การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันในปัจจุบันอาศัยการซักประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันด้วยแพทย์ทั่วไป อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 และมีการตรวจติดตามวินิจฉัยหลายครั้ง แต่หากเป็นโรคพาร์กินสันในระยะแรกที่อาการแสดงยังไม่มาก ความแม่นยำในการวินิจฉัยจะลดลงมากยิ่งขึ้น ทำให้การวินิจฉัยผู้ป่วยพาร์กินสันตั้งแต่ระยะเริ่มต้นทำได้ยาก และนอกจากนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงประสาทแพทย์ที่มีจำนวนจำกัดและไม่กระจายตัวทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ทำให้มีผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นจำนวนมาก หรือได้รับการวินิจฉัยได้ช้า
​ในปี พ.ศ. 2563 สภากาชาดไทย โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทัพอากาศ และโรงพยาบาลเครือข่าย ทำการสำรวจประชาชนที่มีปัญหาการเดินติดขัดจากโรคพาร์กินสัน ได้ส่งมอบไม้เท้าเลเซอร์พระราชทาน ให้แก่ผู้ป่วยไปแล้ว จำนวน 76 จังหวัดทั่วประเทศ มากกว่า 11,000 ชิ้น

จากปี พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน ได้ทำการคัดกรองผู้ป่วยพาร์กินสันและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์กินสันในอนาคต โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ช่วยในการวินิจฉัยกลุ่มอาการโรคพาร์กินสันได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และเข้าถึงได้ ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ โดยใช้โรคพาร์กินสันเป็นต้นแบบในรูปแบบเชิงรุกผ่านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการค้นหาผู้ป่วยพาร์กินสันในระยะแรก กลุ่มที่มีความเสี่ยง พร้อมให้แนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสม ตามระยะการวินิจฉัยโรค พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน และครอบครัวที่เข้าร่วมการคัดกรองโรคพาร์กินสัน ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อลดระยะการดำเนินโรคและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น เริ่มดำเนินการเป็นแห่งแรกที่จังหวัดนครสวรรค์ ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (เขาเขียว) ระหว่างวันที่ 15-19 มกราคม 2567 เบื้องต้นมีประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมคัดกรอง กว่า 521 คน และจะใช้จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้นแบบในการดำเนินการ ช่องทางติดตามข่าวสาร www.thaipd.org

ในวโรกาสนี้ ขอพระราชทานพระราชานุญาต เบิกผู้มีจิตศรัทธาเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบโครงการเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน ดังนี้
​​1. นางศรินทร์นภา จิระเดชะ
​​2. นางนวลศรี อุทกธรรม
​​3. นางชมพูนุท ลี้อิสสระนุกูล
​​4. นายประกรณ์ พรรธนะแพทย์ ​​​
​​5. บริษัท บีแอนด์จี คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด
​​6. บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฮลที พลัส โกลบอล ลาบอราทอรี่ จำกัด
​​​​​​
​และขอกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนิน ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน” และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรวิดีทัศน์ และนิทรรศการเกี่ยวกับการคัดกรองและรักษาประชาชน และทรงเยี่ยมหน่วยเคลื่อนที่คัดกรองประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน

การเปิดโครงการได้รับความร่วมมือในหลายภาคส่วน ดังนี้
1. ท่านเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย
2. ท่านกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย
3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
4. คุณทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ และคุณวราภรณ์ เสริมภักดีกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครสวรรค์
5. แพทย์หญิงรจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
6. ดร.ดารัตน์ ศิริวิริยะกุล วิภาตะกลัศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป