18/11/2024

หยิบขยะมาเป็นนวัตกรรมส่งต่อหนูน้อยปฐมวัย กับครูนางสาวพิณยุภา นัครี ครูโรงเรียนอนุบาลสตูล

หยิบขยะมาเป็นนวัตกรรมส่งต่อหนูน้อยปฐมวัย กับครูนางสาวพิณยุภา นัครี ครูโรงเรียนอนุบาลสตูล

มาที่ โรงเรียนอนุบาลสตูล ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เห็นน้องฟันน้ำนมพากันส่งเสียงหัวเราะจ้อแจ้อย่างสนุกสนานกันเลย
อยากรู้ว่าคนรุ่นพ่อ รุ่นลูก รุ่นหลานทำอะไหรกันเกี่ยวกับขยะ ที่ครูโรงเรียนแห่งนี้ที่เป็นบ้านเกิดของตนเองเป็นคนสตูล เป็นนางสาวพิณยุภา นัครีครูโรงเรียนอนุบาลสตูล
ที่ท่องคำขวัญประจำจังหวัดมาตลอด “สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติ บริสุทธิ์“
จริงหรือ ทำถังขยะวางเรียงรายริมถนน บ้านเรือน หรือที่ไหนๆๆ รอรับขยะ แต่กลับเหมือนถังขยะถูกลืม

จึงคิดค้นวิธีสอนแก่น้องนักเรียนจากความเป็นครูและกระหนักจะสร้างจากนักเรียนตัวน้อย ที่เหมือนเราถูกออกแบบมาให้เจอกันที่จะร่วมกันลดปัญหาขยะล้นโลก เราจึงมาคุยกัน ร่วมคิดกันกับเด็กน้อยฟันน้ำนม ผู้บริสุทธิ์ ที่เราจะช่วยกันยิบสีที่สวยงามใส่ให้ช่วยกันวาดให้สวยงาม
เกิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ
GPAS 5 STEPSที่สอดรับ
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด จินตนาการณ์และความคิดสร้างสรรค์
สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด
ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลงแปลกใหม่


วัตถุประสงค์
1. เด็กสามารถสืบค้นหาความรู้โดยมีครูและผู้ปกครอง
เป็นผู้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ

2. เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฎิบัติ โดยการพูดอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้
3. เด็กเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ มีความสุข สนุกสนานจากการลงมือทำกิจกรรม

สื่อ
•ถังขยะประเภทต่างๆ
•ชุดฮีโร่ขยะ
•อินเทอร์เน็ต
•อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
•สมุดวาดเขียน ดินสอสี ใบงาน
•กระดาษรู๊ฟ ปากกาเคมี ดินสอ ดินสอสี

ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (GATHERING)
ครูพาเด็กเดินออกธรรมชาติ Nature Walk เป็นประจำทุกวันตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน เด็กและครูช่วยกันเก็บขยะ ทำความสะอาดหมุนเวียนรอบบริเวณโรงเรียน

นักเรียนสงสัยขยะถุงรีไซเคิลได้
ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (PROCESSING)
ครูให้เด็กกลับไปขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
ให้ช่วยค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
“ขยะสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง รีไซเคิลได้หรือไม่
เพราะเหตุใด” พร้อมกับให้วาดภาพลงใบงานหรือ
ปริ้นข้อมูลตัดแปะลงใบงานพร้อมกับนำกลับมานำเสนอให้เพื่อนและครูฟัง

ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (APPLYING AND CONSTRUCTING THE KNOWLEDGE)
ครูนำคำถามที่เด็กอยากรู้เพิ่มเติมและบันทึกในกระดาษปรู๊ฟ มาหาคำตอบทีละประเด็นร่วมกับการลงมือปฏิบัติจริง และค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตร่วมกับผู้ปกครองเพื่อหาคำตอบ เช่น การลงมือปฏิบัติจริงโดยการนำขยะแต่ละชนิดมารีไซเคิลร่วมกัน

ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (APPLYING THE COMMUNICATION SKILL)
เด็กบอกเล่าเรื่องราวแต่ละขั้นตอน แต่ละกิจกรรมผ่านการเล่า ลงมือปฏิบัติจริง ชิ้นงาน และใบงาน (เก็บภาพและวิดีโอทุกกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ ผ่านไลน์ เพจ


•ครูให้เด็กดูคลิปวิดีโอนิทานเรื่อง “ขยะแปลงร่าง” หรือ ดูคลิปวิดีโอเพลง “ฮีโร่เก็บขยะ” ให้เด็กฟังจนสามารถร้องร่วมกันได้ หรือเด็กร้องให้ฟังได้ ตลอดการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ

ขั้นประเมินเพิ่มคุณค่าและบริการสังคมจิตสาธารณะ (SELF-REGULATING)
ครูเตรียมถังขยะแต่ละเภทไว้พานักเรียน
ทำความสะอาดรอบโรงเรียนปกติทุกวัน พร้อมช่วยกันเก็บขยะนำมาคัดแยกและทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ ใช้ใหม่
ประดิษฐ์เป็นของเล่น ของใช้ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียน นอกห้องโรงเรียน รวมถึงที่บ้านและชุมชน เป็นการลดปริมาณขยะในโรงเรียน บ้าน และชุมชน เพื่อตอบแทนสังคม และทำให้โลกของเราสวยงามน่าอยู่ขึ้น
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการจัดการเขียนการสอนดังกล่าวนี้คือ
1. เป็นของเล่น ของใช้ ที่ประหยัด สร้างมูลค่า สร้างรายได้
2. ปลูกจิตสำนึกที่ดีในการทิ้งขยะให้เป็นที่การคัดแยก และการนำกลับมาใช้ใหม่
3. ทำให้โรงเรียน บ้าน ชุมชนสะอาด ขยะลดน้อยลง และโลกของเราสวยงามขึ้น
4. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ความร่วมมือระหว่างบ้านโรงเรียน เด็ก ผู้ปกครอง ครูและชุมชนที่นักเรียนวัยนี้จะจดจำติดตัวตลอดการบริหารขยะต่อไป

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

 

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป