15/11/2024

พังงา-ยังไร้วี่แวว!!ครบ 1 เดือนเหตุการณ์เรือนักท่องเที่ยวล่ม 2 ชีวิตจมน้ำยังค้นหาร่างไม่เจอ ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญเมื่อไปท่องเที่ยวในทะเลลึก

พังงา-ยังไร้วี่แวว!!ครบ 1 เดือนเหตุการณ์เรือนักท่องเที่ยวล่ม 2 ชีวิตจมน้ำยังค้นหาร่างไม่เจอ ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญเมื่อไปท่องเที่ยวในทะเลลึก
เมื่อวันที่ 22 ม.ค.67 ผู้สื่อข่าวจังหวัดพังงา ได้รายงานถึงกรณีเหตุการณ์เรือสวรรค์ทัวร์บรรทุกนักท่องเที่ยวจำนวน 13 คน พร้อมลูกเรืออีก 5 คน รวม 18 คนเพื่อไปดำน้ำบริเวณใกล้ๆเกาะสุรินทร์ ประสบเหตุอับปางในทะเลบริเวณหมู่เกาะ Tornla ห่างจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา ประมาณ 4 ไมล์ทะเลเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ระหว่างเกิดเหตุมีเรือประมงพรสุปราณี 9 เข้าช่วยเหลือนักท่องเที่ยวพร้อมลูกเรือไว้ได้จำนวน 16 คนและนำได้นำส่งขึ้นฝั่งที่ท่าเรืออำเภอคุระบุรีอย่างปลอดภัยซึ่งต้องชมเชยการช่วยเหลือชีวิตนักท่องเที่ยวและลูกเรือทั้งหมดของเรือประมงพรสุปราณี 9 อย่างยิ่งเพราะหากไม่ได้รับการช่วยเหลือในวันนั้นทันทีที่เกิดเหตุการณ์อาจจะเป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ได้
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้เกิดความสูญเสียนักท่องเที่ยวเพศหญิงสัญชาติ BRITISH CITIZEN ชาวอังกฤษ และลูกเรือชาวไทยเพศหญิง ที่ได้จมน้ำไปพร้อมกับเรือที่บรรทุกนักท่องเที่ยวจนถึงวันนี้จังหวัดพังงารวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่สามารถค้นหาผู้สูญหายได้
นับตั้งแต่เริ่มการเกิดเหตุการเรือล่มขึ้นได้มีหน่วยงานตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถทั้งกำลังคนและอุปกรณ์โดยเฉพาะ พลเรือโท สุชาติ ธรรมพิทักษ์เวช ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารเรือพร้อมอุปกรณ์ ได้เร่งให้การช่วยเหลือบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เข้าทำการค้นหาและช่วยเหลือ พร้อมเครือข่ายเรือประมงชาวบ้าน ภาคเอกชนที่ออกหาปลาในบริเวณดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานอื่นๆคือกรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ เป็นต้น
ขณะเดียวกันนายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้สั่งการทุกหน่วยงานในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือค้นหาผู้สูญหายอีก 2 รายโดยไม่ละความพยายาม โดยได้ตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้า อ.คุระบุรีเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.66 ณ ท่าเทียบเรืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยตัว ผวจ.เองก็ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของทหารเรือออกค้นหาผู้สูญหายด้วยตัวเองด้วย
จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ม.ค.67 ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนการค้นหาเตรียมใช้เครื่องสแกนสำรวจใต้น้ำเครื่องซาวน์เดอร์(sounder)เพื่อหาจุดเรือล่มที่คาดว่าระดับน้ำเรือจมอยู่ที่ความลึกประมาณ 50 เมตร โดยจะมีทีมตอบโต้ภัยพิบัติเข้าช่วยมีการใช้โดรนค้นหาใต้น้ำด้วย
จนล่าสุดเหตุการณ์ดังกล่าวได้ผ่านมาครบ 30 วันซึ่งเนิ่นนานพอสมควรแต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะค้นหาผู้สูญหายทั้ง 2 คนได้ รวมทั้งการกู้เรือที่จมลงสู่ก้นทะลแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างความเสียใจต่อครอบครัวตลอดจนญาติพี่น้องทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและลูกเรือชาวไทยเป็นอย่างยิ่งที่เฝ้ารอทราบข่าวและหวังว่าจะค้นหาร่างผู้สูญหายจนสำเร็จในไม่ช้า แม้เจ้าหน้าที่ไม่ละความพยายามก็ตาม รวมทั้งหวังจะได้มีการร้องขอกำลังและอุปกรณ์พร้อมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำทะเลลึกมาช่วยเหลือ
และหวังว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะได้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันถอดบทเรียน หามาตรการแนวทางการป้องกัน ช่วยเหลือกรณีนักท่องเที่ยวหรือประชาชนเข้าไปประสบเหตุการณ์ในทะเลที่มีระดับน้ำมีความลึก และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความเสียงสูง ไม่ปลอดภัยแบบนี้ควรทำอย่างไรเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นบทเรียนครั้งสำคัญด้านการท่องเที่ยวทางทะเลของจังหวัดพังงาจริงๆ รวมทั้งร่วมให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย
…………………………..
ภาพ ขอบคุณภาพเครือข่าย
ข่าว โกอู๋@นักข่าวอาวุโสจังหวัดพังงา

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป