15/11/2024

เพชรบูรณ์ ตามติดเชียร์สุด ยอดมะขามหวาน ชิงถ้วยพระราชทานกรม สมเด็จพระเทพฯ ในงานมะขามหวานนครบาล เพชรบูรณ์ ประจำปี 2567

เพชรบูรณ์ ตามติดเชียร์สุด ยอดมะขามหวาน ชิงถ้วยพระราชทานกรม สมเด็จพระเทพฯ ในงานมะขามหวานนครบาล เพชรบูรณ์ ประจำปี 2567

ตามที่จังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดจัดงาน มะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์
2567 โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ มากมายโดยหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์คือการประกวดสุดยอดมะขามหวานเพชรบูรณ์ ประจำปี 2567ซึ่ง
นางชญากุล ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่าจังหวัดเพชรบูรณ์
ขอเชิญเกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์ส่งมะขามหวานเข้าประกวดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวมมูลค่า 105,000 บาท โดยเกษตรกรที่จะส่งมะขามหวานเข้าประกวดต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) เป็นเกษตรกรที่ส่งผลผลิตมะขามหวานเข้าร่วมประกวดในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ ประจำปี 2567 และได้รับรางวัลชนะเลิศ ตรงตามสายพันธุ์ ทั้ง 5 สายพันธุ์
2) เป็นเกษตรกรที่ปลูกมะขามหวานในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
3) เป็นเกษตรกรที่ปลูกมะขามหวาน อย่างน้อย 5 ไร่ ขึ้นไป และต้องมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ส่วนเกณฑ์การตัดสิน เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่าพิจารณาจาก
1. แนวคิดความเป็นมาการทำสวนมะขามหวาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันรวมถึง แรงจูงใจในการทำสวนมะขามหวาน
2. เทคโนโลยีการผลิตมะขามหวานคุณภาพ ในเรื่องกระบวนการ ขั้นตอนในการจัดการสวนมะขามหวาน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการสวนให้ได้มะขามหวานคุณภาพการวางผังแปลง การดูแลรักษา การให้ปุ๋ย น้ำ การป้องกันกำจัด
วัชพืช การจัดการศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง ฯ ความสมบูรณ์ของต้น ฝัก ความสม่ำเสมอของฝัก
คุณภาพของผลผลิต ต้นทุนต่อไร่ และแนวทางการลดต้นทุนในการจัดการสวน ปัจจัยที่ใส่ในการดูแสรักษาแปลงเฉลี่ยต่อไร่ และ
วิธีการปรับใช้ปัจจัยการผลิตที่ช่วยลดต้นทุน แต่เพิ่มคุณภาพผลผลิต


นางชญากุลได้กล่าวต่อว่าอีกส่วนที่นำมาพิจารณาการคัดเลือกจะดูที่การจัดการผลผลิต การเก็บเกี่ยวและเก็บรักษาผลผลิต ที่เหมาะสม การลดความเสียหายของ
ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาผลผลิต วิธีการจำหน่ายพร้อมฝัก แกะฝักไร้เมล็ด แปรรูป การใช้ประโยชน์จากผลผลิตมะขามและวัสดุเหลือใช้ แหล่งรับซื้อ คู่ค้า ตลาดรองรับ ที่เกษตรกรพึงพอใจจำหน่ายผลผลิตให้ใน
ราคาที่เป็นธรรม. รวมถึงรายได้ และรายได้สุทธิต่อไร่ จากการจำหน่ายผลผลิต
4. องค์ความรู้/เทคนิค ใหม่ๆ ของการพัฒนาคุณภาพมะขาม วิธีการปฏิบัติของเจ้าของสวนที่ประสบ
ผลสำเร็จและเป็นองค์ความรู้เฉพาะของสวน ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ (ต้นน้ำคือ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
กลางน้ำคือ การดูแลรักษา ปลายน้ำคือ การเก็บเกี่ยว คัดเกรด บรรจุภัณฑ์ จนถึงมือผู้บริโภค) รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ /ศึกษาดูงาน เผยแพร่ต่อสาธารณะชน


5. แนวทางการทำสวนมะขามหวานสู่ความยั่งยืน
ทั้งการลดการใช้สารเคมีและแนวทางการใช้สารทดแทน การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง มีความปลอดภัย ใช้เมื่อ
จำเป็น และมีแนวทางวิธีการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมี การรับรองความปลอดภัยของผลผลิต เช่น GAP, อินทรีย์ ฯ, GIได้รับการรับรองจากบุคคล หน่วยงานที่น่าเชื่อถือ การบูรณาการประยุกต์ต่อยอดการทำสวนมะขามหวานสู่ความยั่งยืนในอาชีพ ครอบครัวและสังคม
การใส่ใจใฝ่รู้รักในอาชีพ เกิดรายได้ต่อเนื่องสามารถดูแลครอบครัว และช่วยเหลือสังคมได้และมีความยั่งยืนต่อสภาพแวดล้อม เกิดป่าไม้ผลเศรษฐกิจ ลดการชะล้างหน้าดิน ลดมลพิษ ลดโลกร้อน ฯ ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม ช่วยลดมลพิษในอากาศ ลดโลกร้อน ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ฯ โดยสามารถส่งมะขามหวานเข้าประกวด

สำหรับสายพันธุ์มะขามหวานที่จัดประกวดประกอบด้วย 5 สายพันธุ์คือมะขามหวานพันธุ์ศรีชมภู พันธุ์ขันตี พันธุ์สีทอง พันธุ์ประกายทองและมะขามหวานพันธุ์อื่นๆ

ผู้ที่ชนะในแต่ละสายพันธุ์จะได้เข้าประกวดสุดยอดมะขามหวานเพชรบูรณ์ตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ต่างๆข้างต้น. เกษตรกรสามารถส่งมะขามหวานเข้าประกวดได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 23-26 มกราคม 2567 เวลา 09.00 -16.30 น.
หรือส่งมะขามหวานด้วยตนเองได้ที่กองอำนวยการประกวด ในวันที่ 29 มกราคม 2567 เวลา 08.00-10.00
การตัดสินการประกวด คณะกรรมการประกวดสุดยอดมะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์ แห่งปีออกตรวจสวนมะขามหวานที่ชนะเลิศ ตรงตามสายพันธุ์ ทั้ง 5 สายพันธุ์ พร้อมทั้งสรุปผลการตัดสินการประกวดสุดยอดมะขามหวาน ในวันที่ 30 – 31 มกราคม 2567

เรื่องราวที่คุณอาจพลาดไป