เขียงใหม่-นายกฯ เศรษฐา เปิดโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่ลาหู่นานาชาติครั้งที่ 1 ที่จังหวัดเชียงใหม่
นายกรัฐมนตรี เปิดโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่ลาหู่นานาชาติครั้งที่ 1 ปี 2567 ชื่นชมเป็นประเพณีอันดีงาม ควรค่าแก่การรักษาและเผยแพร่ไปทั่วโลก เป็นเสน่ห์ของการกระตุ้นท่องเที่ยวภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพายัพ ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. อาจารย์อภิชา อินสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ร่วมต้อนรับ พร้อมด้วย นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ ประธานกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยพายัพ ร่วมต้อนรับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในโอกาสเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีลาหู่นานาชาติ ครั้งที่ 1” ปี 2567 ณ อาคารสายธารธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ (เขตแม่คาว) จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับในนามประชาชนชาวเชียงใหม่ นายปรีชา ดวงแสง ประธานจัดงาน สืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีลาหู่นานาชาติ ครั้งที่ 1 ปี 2567 กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายนักปราชญ์ ไชยานนท์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ สื่อมวลชน ผู้มีเกียรติ และพี่น้องลาหู่นานาชาติ กว่า 5,000 คน จากหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงาน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในพิธีเปิดงานว่า “ผมขอชื่นชมในความรัก ความสามัคคี ของพี่น้องชาติพันธ์ลาหู่ที่เล็งเห็นความสำคัญและใช้การสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี เชื่อมสัมพันธภาพอันดีงาม ของพี่น้องชาติพันธ์ลาหู่ที่ กระจายอยู่ทั่วโลก ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ศิลปวัฒนธรรมนั้น ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้ศึกษาสืบไป ครั้งนี้ผมได้รู้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการรวมตัวกันของชาติพันธุ์ลาหู่จากหลายประเทศ จัดงานสืบสานวัฒนธรรมลาหู่นานาชาติ ขึ้นมา ดังนั้น ผมจึงได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ สำหรับโครงการสืบสาน ด้านศิลปวัฒนธรรมในทุกชาติพันธุ์ของประเทศไทยเรา ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก หรือภาคใต้ โดยเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ โดยหวังว่าการสนับสนุนของผม จะสามารถทำให้ ชนเผ่า ทุก ๆ ชนเผ่า รักและหวงแหนศิลปวัฒนธรรม ของชนผ่าตนเอง มากขึ้นและมากขึ้นไปอีก”
.
นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ขอต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและผู้เข้าร่วมทุกท่าน สู่งานสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่ลาหู่นานาชาติครั้งที่ 1 ปี 2567 ในครั้งนี้ และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่จัดงานสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่ลาหู่นานาชาติ ครั้งที่ 1 ปี 1 ปี 2567 เชียงใหม่ เป็นจังหวัดสำคัญจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีความเจริญมากว่า 700 ปี เคยเป็นเมืองหลวงของราช อาณาจักรล้านนา ที่มีเขตการปกครองตนเอง อยู่ตอนเหนือของ ราชอาณาจักรสยาม ปัจจุบันยังปรากฏมีประตูเมืองและคูน้ำล้อม รอบตัวเมืองเก่า ชาวเชียงใหม่ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีของ ตนเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะภาษาพูดที่อ่อนหวานนุ่มนวลเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีผู้คนและชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ทั้ง ลาหู่ อาข่า ปะกากะญอ ลีซู ม้ง เมี่ยน ไทยใหญ่ เป็นต้น เป็นคนสุภาพเรียบร้อย มีความเป็นมิตร วัฒนธรรม ประเพณี มีเสน่ห์ จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เดินทางมาเยี่ยมเยือนเชียงใหม่ได้บ่อย ๆ โดยไม่เบื่อ
นาย ปรีชา ดวงแสง ประธานจัดงานสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีลาหู่นานาชาติครั้งที่ 1 ปี 2567 กล่าวว่าโครงการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีชาติพันธุ์ลาหู่ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีชาติพันธุ์ลาหู่ ในประเทศไทยดั้งเดิมไว้ ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติพันธุ์ลาหู่ในสังคมเชียงใหม่ สังคมไทย และสังคมโลก สนับสนุนชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่ให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง มีการสร้างเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณี ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ สนับสนุนให้เกิดพื้นที่และกิจกรรมเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติพันธุ์ลาหู่ ส่งเสริมให้ชาติพันธุ์ลาหู่รุ่นใหม่รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ มีความรู้สึกหวงแหนและช่วยกันรักษาสืบต่อไป
การจัด “โครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีลาหู่นานาชาติ ครั้งที่ 1” ปี 2567 เกิดจากความร่วมมือของชาติพันธุ์ลาหู่ จาก 7 ประเทศ ได้แก่ ชาติพันธุ์ลาหู่ประเทศไทย เมียนม่าร์ เวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 มกราคม 2567 ณ อาคารสายธารธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ภายในงาน มีการจัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรม บูธนิทรรศการ บูธจำหน่ายสินค้า – อาหาร การแสดงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเต้นรำแบบลาหู่ (ก่าเคะเว) การสาธิตกีฬาพื้นบ้าน การแข่งกีฬา และการแสดง Concert เป็นต้น
นภาพร/เชียงใหม่